จัดทำโดย 1. นางสาวนันทิกานต์ อินตามัน ประธาน 2. นางสาวรุ่งทิวา ปัญญาอุด รองประธาน 3. นางสาววิริยาพร ทาสุข กรรมการ 4. นางสาวชนกพร สุยะลังกา กรรมการ 5. นางสาววาสนา สิทธิกัน กรรมการ 6.นางสาวธนพร ฟองคำ กรรมการ 7.นางสาวปรียานุช ตงฉิน กรรมการ |
โครงการ สานใยรักจากพี่สู่น้อง
หลักการเหตุผล
การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จริงจากสังคมภายนอก เพื่อเป็นการสร้างเสริมทักษะกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน การสร้างเสริมนิสัยให้รู้จักการเสียสละประโยชน์ส่วนตน ใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงมุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการศึกษาตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานโครงการนี้เป็นการกระตุ้นจิตสำนึกที่ดีให้กับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาออกไปจะเป็นผู้มีความพร้อมในการทำงานรับใช้สังคมและประเทศชาติในอนาคต โครงการนี้ได้สอดแทรก ในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยผู้เรียนในหมู่บ้านเสนอโครงการในลักษณะของจิตอาสา การเข้าร่วมโครงการ “คุณธรรมจิตอาสาเพื่อพ่อหลวง” นี้ถือเป็นหนึ่งกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และเป็นการช่วยปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้ผู้เรียน รู้จักการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และยังเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ เป็นการดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และเป็นการช่วยปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้รู้จักการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม นำเยาวชนในท้องถิ่นใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2. สร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม ผู้เรียนได้เรียนรู้กับการทำงานร่วมกับผู้อื่นและฝึกความอดทนเรียนรู้ถึงการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี ได้รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เมื่อเกิดอุปสรรค ได้อย่างมีเหตุผล
3. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักนำหลักวิชาการที่ได้ศึกษามา ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชนและสังคม
เป้าหมาย
- เชิงปริมาณ คือ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ในชุมชนห้วยขี้นก จำนวน 4 คน
- เชิงคุณภาพ คือ ผู้เรียนและชุมชน เห็นคุณค่าและมีส่วนร่วมในการมีจิตสาธารณะ การดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
สถานที่
1. ชุมชนบ้านห้วยขี้นก อ.แม่พริก จ.ลำปาง
2. ชุมชนบ้านแม่ตั๋ง ต.พระบาทวังตวง อ.แม่พริก จ.ลำปาง
หลักธรรม ที่นำมาใช้ในโครงการนี้ได้แก่ สังคหวัตถุ 4 (ทาน, ปิยวาจา, อัตถจริยา, สมานัตตตา )และพรหมวิหาร4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และเป็นการช่วยปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้รู้จักการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม นำเยาวชนในท้องถิ่นใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2. สร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม ผู้เรียนได้เรียนรู้กับการทำงานร่วมกับผู้อื่นและฝึกความอดทนเรียนรู้ถึงการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี ได้รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เมื่อเกิดอุปสรรคได้อย่างมีเหตุผล
3.ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของตน
กิจกรรมขยายผล
นำความรู้ที่ได้รับสานต่อในชั้นต่อไปและเผยแพร่แก่รุ่นน้องและชุมชน