กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีพัฒนาโครงการพื้นที่่ประสบพิบัติภัยสึนามิ บ้านเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ครั้งที่ 5
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

สำหรับชาวประมง ทะเล..คือชีวิต การรักษาทะเลก็คือรักษาชีวิต ทรัพยากรในทะเลก็เช่นเดียวกัน เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันดูแลรักษา เมื่อได้มาก็ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่ามากที่สุด แต่ทะเลก็มีความเสี่ยง ดังนั้นจึงเกิดภูมิปัญญามากมายที่เกิดจากการใข้ชีวิต


เวทีพัฒนาโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งพื้นที่พิบัติภัยสึนามิ บ้านเจ้าไหม  อ.กันตัง จ.ตรัง

ณ บ้านริมเล  วันพฤหัสที่ 12 ตุลาคม 2525

จุดประสงค์

  -เพื่อพิจารณาข้อมูล

  -เพื่อปรับแผนการทำงาน

  -เพื่อได้ทิศทาง ความชัดเจนในการเขียนแผน

สรุปเวที

  หลังจากเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ทีมได้ประชุมเพื่อรับข้อมูล ปัญหา อุปสรรค จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนบ้านหาดยาว เพิ่มเติม วันนี้นัดกันอีกครั้งเพื่อลองดูข้อมูล แต่บังเอิญวันนี้อบต.เรียกประชุมด้วย ทีมสาวๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอสม. ต้องไปประชุมที่อบต. ทำให้เหลือแค่ 7 คน ได้นำเสนอข้อมูลบางอย่างเพิ่มเติม  โดยเฉพาะเรื่องของอาชีพประมง ซึ่งประเด็นหลักในการทำงานครั้งนี้ 

  สำหรับอาชีพประมงที่สำรวจได้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือประมงขนาดกลาง  และประมงขนาดเล็ก

ประมงขนาดกลางมี  2 ชนิดคือ  อวนปลาทู  กับอวนปลาหลังเขียว  เรือที่ออกทะเลเป็นเรือประมาณ 23 ตัวกง  ใช้อวนขนาดใหญ่ ใช้ลูกเรือประมาณ 7-8 คน คนสำคัญคือคนที่เป็นไต๋ ต้องมองให้ออกว่าตรงไหนปลาเยอะ จะวางพิกัดอวนตรงไหน  เคยมีไต๋ที่สั่งวางอวนแล้วไม่ได้ปลา โดนปลดก็มี  ได้ปลาทีละหลายๆ ตัน  5-7 ตัน  จึงไม่สามารถขายในบ้านหรือขายส่งในตลาดทั่วไปได้  เพราะปลาพวกนี้ถ้าเวลานานจะพอง ลูกค้าไม่ซื้อ จึงต้องขายโรงงานเป็นหลัก  แต่ก็มีบ้างที่มาตัดทีละ 50 ก.ก. เอาไปขายตลาดในชุมชน  ส่วนชาวบ้านไปหยิบใส่ถุงได้เลยไม่ต้องซื้อ  ปลาทูในตลาดปัจจุบันกิโลละประมาณ 50 บาท แต่เอาไปขายโรงงานได้แค่ประมาณ 10 บาทเท่านั้น แต่จำเป็นต้องส่ง เพราะในชุมชนไม่มีแหล่งแปรรูปอย่างอื่น 

  ส่วนประมงขนาดเล็ก มีหลายคนที่ประกอบอาชีพประมงขนาดเล็ก  มี 4 ชนิดคือ 

  • อวนปลาทราย/ตกปลาทราย  ใช้เบ็ด 2-3 ตา  อันนี้ถ้าปลาทรายเยอะตกสนุก  เพลิน  ส่วนอวนปลาทราย ได้เท่าไหร่ก็ขายหมด  แต่มักจะได้ปลาหนวดมาได้  ปลาหนวดไม่ได้ใช้ประโยชน์ได้มาก็ทิ้ง ทั้งๆ ที่เป็นปลาที่เนื้อเยอะ  (ทั้งๆ ที่ทำปลาเค็ม ทำปลาหวานได้)
  • อวนกุ้ง  ได้เท่าไหร่ขายหมด  จะเยอะช่วงหน้ามรสุม  ชาวบ้านบอกว่า เย็นวันไหนฟ้าทิศตะวันตกมีสีแดง แสดงว่ากุ้งขึ้นเยอะ  ได้ตังค์แน่นอน  แต่ว่าอวนกุ้งมักได้ปลาชนิดอื่นมาด้วย  เช่น ลูกปลาจวด  ปลาเขียว 
  • อวนหมึก  ใช้วิธีตก ดักลอบ ดักไซไม้ไผ่ 
  • ปู  จับโดยดักไซปู  อวนปู 
  • กุ้งเคย มักเยอะเป็นช่วงๆ  มีคนทำไม่กี่ราย  เช่น หวาหนอน โต๊ะมีนา  โต๊ติก บังเหตุ

การดักอวนทุกชนิด มักได้สิ่งที่ไม่ต้องการมาด้วย  เช่น ปลาที่กินไม่ได้ อย่างปลาดาว ปักเป้า กระเบนไฟฟ้า  (เบนช๊อต ใครไปถูกตัวมันจะรู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าช๊อต) หอยเม่น   และโดย

นิสัยคนที่นี่ ทำอะไรก็มุ่งไปที่สิ่งนั้น เช่น ทำอวนกุ้ง ก็เลือกเอาเฉพาะกุ้ง  ไม่สนใจสิ่งอื่นที่ติดมากับอวน  ส่วนใหญ่มักอาศัยฤดูกาล  คนก็ทำอาชีพตามฤดูกาล

ข้อสังเกต

  • บางครั้งมีพายุ ไม่ได้ออกไปเอาปลาที่ติดอวน ติดไซ  ทำให้ปลาเน่า ขายไม่ได้  ส่วนนี้เอามาทำปลาพองหรือแปรรูปได้ แต่
  • มีคนเห็นประโยชน์ส่วนนี้น้อย
  • ให้สำรวจข้อมูลนักท่องเที่ยวปีนี้เพื่อเป็นฐานสำหรับวางแผนงานช่วงต่อไป
  • ปรับวิธีการเก็บข้อมูลใหม่  ให้คนที่เขียนคล่องไปด้วยกัน ทำงานเป็นทีม
  • ปรับประเด็นในการเจาะข้อมูล ให้ลึกและชัดในประเด็นที่ต้องการ
  • ข้อมูลคนผ่านท่าเรือหาดยาว  ซึ่งเท่าที่ทราบ เฉพาะคนที่เข้า-ออก ไปเกาะลิบง นับ2-3 หมื่นคน ต่อปี  ซึ่งเป็นตัวเลขมหาศาล  แต่พื้นที่หาดยาวเป็นเพียงทางผ่าน เป็นแค่ท่าเรือรับ-ส่ง ไม่ได้ประโยชน์อะไร
  • ช่วงหน้าท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง น่าจะมีแบบสำรวจข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์สำหรับการทำงาน หรืออาชีพคนในชุมชน
  • ช่วงหน้าท่องเที่ยวน่าจะมีการนำปลามาทดลองแปรรูป เพื่อทดลองตลาด เช่น อาจเป็นแปรรูปที่เก็บได้นาน เป็นของฝาก ของกิน  หรือแปรรูปสดๆ เช่น ก้างปลาทอด  เหงือกปลาทูทอด บริการนักท่องเที่ยว


กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ