กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีพัฒนาโครงการพื้นที่่ประสบพิบัติภัยสึนามิ บ้านเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ครั้งที่ 4
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ไม่มีหลักการใดที่ใช้ได้กับทุกรณี ความเหมาะสมอยู่ที่เหตุผลของแต่ละคน เพราะทุกอย่างย่อมมีข้อยกเว้น เมื่อรู้ว่าตึงเกินไปก็ต้องผ่อนลงบ้าง เมื่อไหร่ที่หย่อนเกินไปก็ต้องสาวกลับบมา

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

เวทีพัฒนาโครงการสร้างความเข้มแข็งพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ หาดเจ้าไหม อ.กันตัง จ.ตรัง ครั้งที่ 4

ณ บ้านริมเล  วันพฤหัสที่ 6 ตุลาคม 2525

ผู้ร่วมเวที

  ทีมชาวหาดยาว  แกนนำ  กลุ่มสตรี  และพี่เลี้ยง

จุดประสงค์

  -เพื่อติดตามการเก็บข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์

  -เพื่อวางแผนการทำงาน

  -เพื่อนำไปสู่การเขียนแผน

สรุปเวที

  หลังจากเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทีมผู้หญิงได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ครั้งนี้จึงด้ประชุมเพื่อรับข้อมูล ปัญหา อุปสรรค จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนบ้านหาดยาว  ซึ่งในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครั้งนี้ บังซันเป็นคนออกแบบสอบถาม แล้วให้ทีมผู้หญิงลงพื้นที่สำรวจข้อมูลตามแบบสอบถาม โดยแบ่งเป็น 4 โซน รับผิดชอบโซนละ 3-4 คน  ตามข้อมูลของอบต.มีทั้งหมด 191 ครัวเรือน แต่ที่บังซันสำรวจเพื่อแจกข้าวสารรอบที่ผ่านมานับได้ 153 ครัว  จำนวนประมาณ 500 คน

  บังซันให้แต่ละทีมได้รายงานข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ซึ่งได้ข้อมูลหลายประเด็น เช่น เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม กลุ่มต่างๆ ในชุมชน อาชีพ ประเพณีวัฒนธรรม  สถานที่สำคัญของชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว  ซึ่งหลายๆ ข้อมูลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต แต่ทีมผู้หญิงสะท้อนว่า การเก็บข้อมูลยังไม่ได้สมบูรณ์เต็มที่ เพราะบางทีไปคนเดียวรู้สึกไม่ค่อยมันส์เท่าไหร่ อยากทำงานเป็นทีมมากกว่า และบางทีการรู้สึกคุ้นเคยกันก็มีส่วนทำให้ถามไม่ออก  อีกปัญหาที่พบหลายคนก็คือ เขียนไม่ได้ เขียนไม่ถูก บางที่ต้องให้เขาเขียนให้ หรือเด็กๆ เขียนให้ 

  สถานที่ที่น่าสนใจที่ทราบตอนเก็บข้อมูลคือ  อ่าวที่แหวนของสมเด็จย่า ตกทะเล  มีการปิดอ่าวค้าหากันเป็นการใหญ่ ชาวบ้านชาวเรือจอดหลายลำเพื่อช่วยกันค้นหา แต่ก็ไม่พบ  ส่วนภูมิปัญญาเรื่องการทำขนมก็น่าสนใจ มีหลายขนมที่ชาวบ้านทำเป็น แต่ปัจจุบันไม่ค่อยทำ มีปราชญ์บางคนที่ยังถักอวนเป็น อวนที่ใช้ดักปลาในปัจจุบันส่วนใหญ่ร้านซื้อมาจากทางอุดร อุบล ชาวบ้านไม่ได้ทำเอง  เป็นแค่การซ่อมแซมเมื่อเสียหายเท่านั้น  จะมีบ้างก็คนที่ต้องออกเรือใหญ่ต้องทำอวนเป็น  นอกจากนี้ยังมีไซยักษ์  ลงทุนลูกละประมาณ 4,000 บาท ดักปลาบางทีได้เป็นหมื่น  มีบางคนเล่าว่า เมื่อยกไซดูถ้าเห็นประมาณ 20 ก.ก.ก็จะปล่อยลงทะเลไปใหม่เพราะน้อยเกินไป ต้องได้เยอะกว่านี้จึงจะคุ้ม  แต่ก็ได้รับคำยืนยันว่าปลาก็มีภูมิปัญญาเหมือนกัน คือถ้ายกจนปลาพ้นน้ำหรือเห็นแสง ปลาที่ติดอยู่ในไซก็จะหนีออกหมด ทั้งที่ปกติอยู่ในทะเล ปลาไม่มีทางออกจากไซได้เด็ดขาด บังวิทย์ก็เสริมว่าเรื่องนี้จริง เพราะแม้ปลาที่ตกได้แล้วขังไว้  ถ้ายกพ้นน้ำเมื่อไหร่  ปล่อยลงไปปลาเป็นต้องหนีออกไปจนหมด  แต่ถ้าไม่พ้นน้ำไม่เห็นแสงไม่เป็นไร แสดงว่าปลาก็มีภูมิปัญญาเช่นกัน

  ฝั่งตรงข้ามบ้านหาดยาวเป็นบ้านมดตะนอย หมู่ 3 ต.เกาะลิบงเช่นกัน วันนี้น้ำลงเยอะ ชาวบ้านออกมาหาหอยริมหาดกันมาก   และเป็นบริเวณที่มีหญ้าทะเล ปลาพะยูนเคยมาอยู่ที่นี่ ตอนนี้ไม่มีแล้ว  ส่วนเรื่องหญ้าทะเล ไม่มีใครรู้เกินบังเหตุ ไทยมีหญ้าทะเล 12 สายพันธ์ อยู่ที่ต.เกาะลิบง ประมาณ 9 สายพันธ์ สัตว์น้ำลดลงกว่าเมื่อก่อนมาก  

สำหรับประเพณีที่น่าสนใจเช่น พิธีสุนัตถ์ ซึ่งมักจัดหน้าแล้งช่วงเดือนเมษา  โรงเรียนปิดเทอม เด็กผู้ชายอายุตั้งแต่ 5-8 ขวบ จะเข้าสุนัตถ์  เป็นงานใหญ่ มีการแห่เหมือนแห่นาค มีคนรำรองเง็งแบบโบราณเป็นอีกหลายคน เช่น หวาตวน หวาเต  อีกงานก็คืองานวันเด็กรวมจัดทั้งหมดประมาณ 20 วัน จัดที่โรงเรียนหาดยาว มีการแข่งกีฬา แต่วันสุดท้าย คืนสุดท้ายจะเป็นงานใหญ่ สนุกสนานมากชาวบ้านหิ้วข้าว หิ้วอาหารมากินด้วยกัน

ชายแนะนำว่า น่าจะเอาเรื่องศาสนามาแหลงกันบ้าง ทำอย่างไรให้เด็กบ้านเรารู้ศาสนามากกว่าเดิม “คนเราเมื่อตายต้องไปหาอัลเลาะห์ทั้งหมด เราต้องพยายามฟูเรื่องศาสนา ชี้แจงเรื่องการดำเนินชีวิต ภายใต้ศาสนาดีที่สุด ดีกว่าอะไรทั้งหมด ต่อไปหาดเจ้าไหมจะเป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง”  สอนผู้หญิงวันละ 2 ชั่วโมงก็ยังดี

มีอีกหลายข้อมูลที่ได้รับรู้รับทราบ  แต่ยังเก็บข้อมูลไม่หมด  เพราะฉะนั้นหลังจากนี้ ให้ไปช่วยกันแก้ปัญหา เช่น ถ้าโซนไหนกลุ่มไหนเขียนหนังสือไม่คล่องอาจจะชวนเด็กๆ ลูกหลานไปช่วย หรือให้เจ้าบ้านช่วยเขียนให้ก็ได้  ส่วนเรื่องการประมง อาชีพประมงมีรายละเอียดอีกมากที่จะต้องมาหารือกัน และข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยวก็น่าสนใจมาก  ต้องเริ่มเก็บข้อมูลเพื่อเอามาวางแผนทำงาน  สำหรับครั้งนี้ ยิ่งทราบว่าผู้หญิงหาดยาวไม่ค่อยได้ทำงาน ในขณะที่ผู้ชายออกไปทำงาน ผู้หญิงส่วนใหญ่อยู่กับบ้าน เฝ้าหวยหุ้น ยิ่งทำให้รู้สึกว่าการหาอาชีพให้กลุ่มแม่บ้านน่าสนใจ โดยเฉพาะข้อมูลที่ได้คือ ปลาหรือสัตว์ทะเลที่ไม่ได้เป็นสัตว์เศรษฐกิจ

นัดหารือต่อศุกร์หน้าที่ 12 ตุลาคม  2555  พร้อมกับเพิ่มเติมข้อมูลส่วนที่ยังไม่ได้รายงาน

ข้อสังเกต

  -แบบสอบถามมีมากข้อเกินไป  หลายหน้า  บางข้อเนื้อหาซ้ำๆ ต้องปรับ

  -ต้องแก้ปัญหาเรื่องการเขียนไม่คล่องของทีมเก็บข้อมูล

  -อาจจะมีหลายวิธี หลายแบบในการเก็บข้อมูล เช่น สัมภาษณ์ แล้วจำเอาไว้ กลับไปเขียนต่อที่บ้าน มาเล่าในเวที

  -ถ้าช่วยกันทำงานเต็มที่ อาจมองได้ว่า ทีมผู้หญิงกลุ่มนี้สามารถ ตั้งใจ พยายาม


"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ