กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีพัฒนาโครงการพื้นที่่ประสบพิบัติภัยสึนามิ บ้านเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ครั้งที่ 3
ความเป็นมา วัตถุประสงค์
ในการทำงาน ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก การวางแผนการทำงานถ้าปราศจากข้อมูลก็ยากที่จะสำเร็จ เผลอๆ อาจนำไปสู่ความล้มเหลว เพราะฉะนั้นชุมชนต้องวิเคราะห์ข้อมูลให้ดี และต้องมีข้อมูลมากเพียงพอต่อการตัดสินใจดำเนินการใดๆ
ณ บ้านริมทะเล วันที่ 22-23 กันยายน 2555
ผู้ร่วมประชุม
ทีม รวม 17 คน
วัตถุประสงค์
- เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน
- เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
- เพื่อสรุปประเด็นที่ต้องการข้อมูล/ข้อเท็จจริง
- เพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่
สรุปเวที
หลังจากที่เมื่อวานนี้ (22 กันยายน 2555) ทีมได้ประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปในหลายประเด็น อาทิ กำหนดประเด็นที่อยากรู้ อยากทราบ หัวข้อในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทีมหลัก หน้าที บทบาท เป็นต้น วันนี้เป็นการนำเข้าเวทีรวมอีกครั้งเพื่อรายงานผลการประชุม และนำไปสู่การวางแผนงานโครงการ ได้ข้อสรุปดังนี้
หัวข้อที่ต้องเก็บข้อมูล
- ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี
- ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- สถานที่สำคัญและประวัติความเป็นมา
- ภูมิปัญญาด้านต่างๆ
- กลุ่มองค์กรต่างๆ บุคคลสำคัญในชุมชน
- ผู้ที่ออกเรือหาปลา
- ชนิดของปลาที่ได้แต่ละวัน (ปลาเศรษฐกิจ ปลาเหลือใช้ ปลาเล็กปลาน้อย ปริมาณต่อวัน/ต่อเดือน/ต่อปี)
- ปลาที่ชาวบ้านนำมาแปรรูป วิธีการ ใครบ้างที่ทำเป็น ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
- ฤดูกาลไหน ได้ปลาอะไร จำนวนเท่าใด เอาไปทำอะไร
- ภูมิปัญญาชาวบ้านในการแปรรูปจากอดีต-ปัจจุบัน
การแบ่งหน้าที่
- ทีม 16 คน
- แบ่งเป็น 4 โซน
- ทำแบบสอบถาม บังซัน ผู้ใหญ่ บังวิทย์
- จ๊ะ อบต. เป็นเลขา
- ผู้ใหญ่เป็นหัวหน้าโครงการ
วิธีการเก็บข้อมูล
- ใช้แบบสอบถาม
- สัมภาษณ์
- สังเกต
วางแผนการทำงาน
- 23-25 ก.ย. ออกแบบสอบถาม
- 28 ก.ย. ประชุมเพื่อพิจารณาแบบสอบถาม
- 3-7 ต.ค. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล
- 10 ต.ค. ประมวลข้อมูล
- 15 ต.ค. เวทีประชาคม
- 17 ต.ค. สรุปและเพิ่มเติมข้อมูล
- 20 ต.ค. จัดทำแผนงานโครงการ
ข้อสังเกต
- ทีม active
- ทีมผู้หญิงมีส่วนร่วมสูง
- ผู้ใหญ่มีแนวคิดที่ดี
- อบต.เริ่มเข้ามา จะเป็นโอกาสที่ดี
- ทีมหลากหลาย ผู้ใหญ่ อบต. ครู อสม. สตรี
- สร้างการมีส่วนร่วมได้ไม่ยาก ผู้หญิงไม่ค่อยมีงาน สามีออกทะเล มีเวลา
- บางคนอาจจะรู้สึกว่าการแปรรูปเป็นเรื่องเล็กๆ อยากทำเรื่องที่ดูแล้วยิ่งใหญ่กว่านี้