กิจกรรมทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายสำคัญหลัก คือ การจัดการเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้เวลาเกิดเหตุอุทกภัย เน้นการพึ่งพาตนเองและเอาตัวให้รอดจากภาวะวิกฤต ซึ่งบางนวัตกรรมนั้น สามารถที่จะใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องรอให้เกิดเหตุอุทกภัย และเป็นการประหยัดพลังงานด้วยเช่น การหุงข้าวด้วยเตาแสงอาทิตย์ เป็นต้น ความรู้นวัตกรรมต่างๆของศูนย์การเรียนรู้นี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว และได้มีผู้เข้าเยี่ยมชม ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ยิ่งเวลาผ่านไป องค์ความรู้ที่ให้และได้รับ ยิ่งถูกต่อเติมและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จะทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับ บริบทท้องถิ่นของตนเองต่อไป
โรงเรียนสัตยาไสเป็นโรงเรียนประจำที่เน้นการสอนควบคู่กับหลักคุณธรรม
ทำเลตั้งอยู่กลางสภาพแวดล้อมด้วยธรรมชาติ ปลูกข้าว
และผลิตของใช้ขึ้นใช้เองภายในโรงเรียน อยู่อย่างพอเพียงและพึ่งตนเองได้
และยังเป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาดูงานในหลายด้าน อาทิเช่น
ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน
ศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ยุวเกษตร การทำเกษตรอินทรีย์ นา
โยน การผลิตน้ำดื่มน้ำใช้ การฝึกสมาธิ การผลิตน้ำยาล้างจาน สบู่ ยาสระผม
น้ำยาล้างห้องน้ำ ยาสมุนไพร และเมื่อปลายปี 2554
ทางสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนได้ประ
ประชาสัมพันธ์
เชิญชวนให้ทุกๆสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการประกวดนวัตกรรมที่เกี่ยวกับเรื่อง
ของอุทกภัย ทางโรงเรียนได้ส่งโครงการ"บ้านแพลอยน้ำ" และผ่านการพิจารณา
ซึ่งหลักการของบ้านแพลอยน้ำนั้นจะสร้างขึ้นเพื่อ เรียนรู้การอยู่กับน้ำ
การพึ่งตนเอง ประกอบไปด้วย นวัตกรรมการเรียนรู้ 6 ด้านในขั้นต้น ดังนี้
- การผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ สำหรับบ้านแพ
- การปลูกพืชผักลอยน้ำสำหรับรับประทาน
- การปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์ ในบ้านแพ
- การกลั่นและกรองน้ำ สำหรับบริโภคและอุปโภค
- การหุงข้าวด้วยเตาแสงอาทิตย์
- การผลิต โบคาฉิ บอล บำบัดน้ำเสีย
กิจกรรมทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายสำคัญหลัก คือ การจัดการเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้เวลาเกิดเหตุอุทกภัย เน้นการพึ่งพาตนเองและเอาตัวให้รอดจากภาวะวิกฤต ซึ่งบางนวัตกรรมนั้น สามารถที่จะใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องรอให้เกิดเหตุอุทกภัย และเป็นการประหยัดพลังงานด้วยเช่น การหุงข้าวด้วยเตาแสงอาทิตย์ เป็นต้น ความรู้นวัตกรรมต่างๆของศูนย์การเรียนรู้นี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว และได้มีผู้เข้าเยี่ยมชม ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ยิ่งเวลาผ่านไป องค์ความรู้ที่ให้และได้รับ ยิ่งถูกต่อเติมและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จะทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับ บริบทท้องถิ่นของตนเองต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เกิดการมีส่วมร่วมในการคิด วิเคราะห์ วางแผนการดำเนินงาน และการประเมินผล ร่วมกัน
- เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
- เพื่อให้เกิดนวัตกรรม ที่เหมาะสมกับบริบทของโครงการ แบบบูรณาการ และยั่งยืน
- เพื่อวิเคราะห์ กิจกรรมแบบการสอน ให้เหมาะกับ กลุ่มบุคคล ที่จะเข้ารับความรู้
-
เพื่อเป็นต้นแบบในการถอดบทเรียนและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อเป็นแนวทางในการประชุมครั้งต่อไป
เป้าหมาย
เด็กนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง คณะศึกษาดูงาน ชุมชนรอบๆโรงเรียนสัตยาไส โรงเรียนเครือข่าย
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
- ผู้เรียนได้รับความรู้จากโครงการ"บ้านลอยน้ำ"
- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบท ชุมชนของตนเองได้
- ชุมชนรอบโรงเรียนได้รับความรู้และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
- เกิดโรงเรียนเครือข่ายเพื่อขยายความรู้ ออกไปสู่ชุมชนอื่นได้
- เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้ในระหว่าง ที่ศูนย์การเรียนรู้เปิดดำเนินการ ทั้งจาก ตัวนักเรียน ครู คณะผู้เยี่ยมชมต่างๆ
วิธีการดำเนินโครงการ
- ประชุมกลุ่มคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์ วางแผนงาน และแบ่งหน้าที่กันทำ ภายในกลุ่ม
- ประเมิน รายละเอียดของกิจกรรมและภาระงานเพื่อจัดสรรค์งบประมาณดำเนินงาน ด้านต่างๆ เช่น การออกสำรวจแบบ "บ้านแพลอยน้ำ" เสนอโครงการขอ งบประมาณในการสร้างบ้านแพ เตรียมองค์ความรู้และ นวัตกรรมต่างๆ
- จัดการ เรียนการสอนแบบบูรณาการให้กับนักเรียนทั้งโรงเรียนสัตยาไส โดยแบ่งเป็นช่วงชั้น เพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เพื่อให้ความรู้และสร้าง วิทยากร นักเรียนขึ้นมา
- ให้ความรู้ภายในองกรค์ โดยจัดการอบรมให้กับ คณะครูที่ไม่ได้อยู่ในโครงการ และ บุคลากร ของโรงเรียน
- จัดกิจกรรมให้นักเรียน เป็นวิทยากร ให้ความรู้กับ ผู้ปกครอง
- แบ่งหน้าที่กันเป็นวิทยากร ในวันที่มีคณะมาศึกษาดูงานเยี่ยมชมโรงเรียน
- จัดกลุ่มออกไปให้ความรู้กับชุมชนรอบโรงเรียน
- จัดประชุม การถอดบทเรียน ขึ้นเป็นประจำ เพื่อพัฒนาและรวบรวมองค์ ความรู้ใหม่ๆ ตลอดจนเชื่อมโยงโรงเรียนเครือข่ายที่เกิดขึ้น
-
ติดตามประเมินผลโครงการ
ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
เดือนกุมภาพันธุ์ 2555 เดือนธันวาคม 2555 (ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน)