ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน ก่อตั้งขึ้นในปี
2553 ภายใต้การช่วยเหลือของ กรมพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน หรือ
พพ.จากการที่โรงเรียนสัตยาไสเป็นศูนย์การเรียนรู้ในด้านคุณธรรมควบคู่การ
เรียน มุ่งเน้นการสร้างคนดีเหนือสิ่งใด
จนทำให้มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งการสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้านอื่นๆ
ขึ้นมานั้นยังจะเป็นประโยชน์เพิ่มเติมให้กับคณะเยี่ยมชมอีกด้วย
| |
ศูนย์การเรียนรู้บ้านดินและพลังงานทดแทน
จากการที่โรงเรียนสัตยาไสเป็นศูนย์การเรียนรู้ในด้านคุณธรรมควบคู่การเรียน มุ่งเน้นการสร้างคนดีเหนือสิ่งใด จนทำให้มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้านอื่นๆ ขึ้นมานั้นยังจะเป็นประโยชน์เพิ่มเติมให้กับคณะเยี่ยมชมอีกด้วย
โรงเรียนสัตยาไส เป็นโรงเรียนประจำที่เน้นการสอนควบคู่กับหลักคุณธรรม ทำเลตั้งอยู่กลางสภาพแวดล้อมด้วยธรรมชาติ ปลูกข้าว และผลิตของใช้ขึ้นใช้เองภายในโรงเรียน อยู่อย่างพอเพียงและพึ่งตนเองได้และยังเป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาดูงานในหลายด้าน อาทิเช่น ศูนย์การเรียนรู้บ้านดินด้านพลังงานทดแทน ศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ยุวเกษตร การทำเกษตรอินทรีย์ นาโยน การผลิต
น้ำดื่มน้ำใช้ การฝึกสมาธิ การผลิตน้ำยาล้างจาน สบู่ ยาสระผม
น้ำยาล้างห้องน้ำ ยาสมุนไพร ทางโรงเรียนได้จัดสร้างบ้านดินขึ้นมา
เพื่อเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทน การพึ่งตนเอง ประกอบไปด้วย การเรียนรู้ 8
ด้านในขั้นต้น ดังนี้
- การผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ สำหรับบ้านดิน
- การปลูกพืชผักลอยน้ำสำหรับรับประทาน
- การปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์
- การกลั่นและกรองน้ำ สำหรับบริโภคและอุปโภค
- การหุงข้าวด้วยเตาแสงอาทิตย์
- การผลิต โบคาฉิ บอล บำบัดน้ำเสีย
- ฐานจักรยานปั่นไฟ
- นิทรรศการพลังงานทดแทน
กิจกรรมทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายสำคัญหลัก คือ
การจัดการเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้เวลาเกิดเหตุอุทกภัย
เน้นการพึ่งพาตนเองและเอาตัวให้รอดจากภาวะวิกฤต ซึ่งบางนวัตกรรมนั้น
สามารถที่จะใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่ต้องรอให้เกิดเหตุอุทกภัย และเป็นการประหยัดพลังงานด้วยเช่น
การหุงข้าวด้วยเตาแสงอาทิตย์ เป็นต้น
ความรู้นวัตกรรมต่างๆของศูนย์การเรียนรู้นี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว
และได้มีผู้เข้าเยี่ยมชม ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันขึ้น
สิ่งที่ตามมาคือ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ยิ่งเวลาผ่านไป
องค์ความรู้ที่ให้และได้รับ ยิ่งถูกต่อเติมและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
จะทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับ บริบทท้องถิ่นของตนเองต่อไป