กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
มหัศจรรย์สีสัน วันวาน ย่านริมน้ำจันทบูร
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

      งาน "มหัศจรรย์สีสัน วันวาน ย่านริมน้ำจันทบูร เพื่อใ้นักเรียนได้เรียนรู้และร่วมสืบสานวันวานที่ทรงคุณค่าและเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรีโดยเฉพาะวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชนริมน้ำจันทบูรที่มี 3 เชื้อชาติ ไทย จีน ญวน ที่อาศัยอยู่รวมกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในงานมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองตลอดแนวถนนย่านริมน้ำจันทบูร ย้อนอดีตสมัยการคมนาคมทางน้ำรุ่งเรืองและชุมชนแห่งนี้เป็นศูนย์รวมสินค้า และเครื่องเทศที่จะขนส่งลงเรือสำเภาไปค้าขายต่างแดน มีการแสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรม 3 เชื้อชาติ ประวัติบ้านเก่าแต่ละหลังที่มีเอกลักษณ์ผสมผสานระหว่างตะวันตก กับ ตะวันออก

­

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน


  1. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบชุมชน และวิถีชีวิตที่มีอายุยาวนานกว่า 300 ปี อีกทั้งยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยร่วมกันมานานของคนไทยท้องถิ่น และชาวญวณ
  2.  เพื่อนำพาชุมชนไปสู่แนวทางของการย้อนวิถีจันท์ สร้างสรรค์วิถีไทย ด้วยการอนุรักษ์ครัวเรือน ประมาณ 200 ครัวเรือน ให้ดำรงคงวิถีชีวิต และการค้าขายที่เคยมีมาแต่อดีต เน้นการนำเสนอสถาปัตยกรรมบ้านเรือนไม้ และบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิม
  3. เพื่อสาธิต และจำหน่ายสินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์จากกก ผลไม้แปรรูป วัฒนธรรมท้องถิ่น ฯลฯ

มหัศจรรย์สีสัน วันวาน ย่านริมน้ำจันทบูร

      การท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่นที่เป็นตำนานเล่าขานกันมานานนั้น ดูเหมือนจะมีการรื้อฟื้นคืนเอาบรรยากาศเก่าก่อน มาเป็นจุดขายในรสนิยมแบบคลาสสิกของผู้คนยุคนี้กันมากมายหลายถิ่นที่ หนึ่งในนั้นมี “ชุมชนริมน้ำจันทบูร” แหล่งที่เจ้าของปฐพีผืนนั้นได้สร้างสีสันแห่งค่านิยมให้กับตนเอง ด้วยการยินยอมพร้อมใจกัน ’ย้อนวิถีจันท์ สร้างสรรค์วิถีไทย” ขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นนับแต่ 2-3 ปีที่ผ่านมา

­

      มีผู้รู้เป็นผู้เล่าสู่กันฟังว่า ชุมชนแห่งนี้หากนับย้อนวันเวลากลับไป น่าที่จะได้ชื่อว่าเป็น แหล่งประวัติศาสตร์สำคัญที่มีอายุยืนยาวมาไม่ต่ำกว่า 300 ปี และเป็นปีแห่งรัชสมัยที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงย้ายทำเลที่ตั้งของเมืองจันท์หรือจันทบุรี จากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรี ซึ่งมีชื่อเรียกเดิมทีว่า “จันทบูร” ไปอยู่ทางฝั่งตรงข้ามด้านทิศตะวันตก ณ บริเวณบ้านลุ่ม โดยกำหนดให้ชุมชนพากันไปสร้างบ้านเรือนอยู่บนเนินเหนือพื้นที่ลาดลงสู่ริม ฝั่งน้ำในย่านท่าสิงห์, ท่าหลวงผู้รายเดียวกันยังเล่าอีกว่า ด้วยปัจจัยที่เหมาะในเรื่องทำเลที่ตั้ง ซึ่งเมื่อติดฝั่งน้ำกับความเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านตะวันออกแล้ว ที่นี่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่คู่อย่างล้นหลาม ส่งผลให้ดินแดนดังกล่าวกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศเลยทีเดียว นชุมชนริมน้ำจันทบูร ดูจะฟูเฟื่องเรืองรุ่งทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้แผ่นดินผืนเดียวกันนี้กลับมีผู้คนอีกหลายเชื้อชาติปะปนเข้าไปอยู่อาศัย มีทั้งชาวจีน ญวน โดยเฉพาะญวนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่พากันหลั่งไหลเข้าไป มากมาย ครั้งนั้นในส่วนของท่าหลวง ซึ่งมีสภาพเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ ได้ถูกจัดให้เป็นจุดศูนย์กลางทางการค้า และคมนาคมสำคัญของพื้นที่ ขณะที่บริเวณตลาดกลางได้ถูกจัดให้เป็นย่านการค้า กับที่อยู่อาศัยผสมกลมกลืนกันไป ส่วนตลาดล่างลงไป ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยคละกันไปกับการทำมาค้าขายเพื่อยังชีพของผู้คนในยุค นั้น

­

       ล่วงถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งจักรีวงศ์ พระองค์ทรงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจันทบูรจากบ้านลุ่มที่อยู่กันเดิม ไปตั้งหลักปักฐานใหม่ที่ ’ค่ายเนินวง” นัยว่าเพื่อป้องกันการคุกคามจากกองทัพญวน ทว่ามิได้มีเหตุการณ์ร้ายใด ๆแผ้วพานแผ่นดินผืนนี้ ลุถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมองเห็นว่ายุทธภูมิที่อยู่อาศัยกันมา แต่เก่าก่อนนั้นน่าจะเหมาะสมกว่า จึงทรงโปรดฯ ให้ชุมชนทั้งหมดย้ายกลับไปยังบริเวณบ้านลุ่ม ซึ่งก็คือถิ่นฐานอันมั่นคงของเมืองจันทบุรีดังที่ได้เห็นกันถึงปี พ.ศ.นี้นั่นเอง  มองกลับมาที่ชุมชนริมน้ำจันทบูร ที่ตั้งอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำจันทบูร หรือจันทบุรี ในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี ที่ผู้คนต่างยกบ้านเรือนไม้ขึ้นเป็นแถวเป็นแนว ประมาณ 200 หลังคาเรือนตลอดระยะทาง 1 กิโลเมตร จากย่านท่าหลวงจดย่านตลาดล่าง สองฝั่งถนนสายสุขาภิบาล ที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนสายแรกของเมือง ๆ นี้ คนในชุมชนแห่งนี้เขาเล่าขานเป็นตำนานท้องถิ่นของตนเองกันมาว่า...เมื่อถนน เข้ามามีบทบาทแทนสายน้ำที่เคยสัญจรไปมา ชุมชนริมน้ำจันทบูรก็ถึงคราต้องลดบทบาทด้านการค้า และคมนาคมลงไปอย่างช่วยไม่ได้  ร้ายในกาลต่อมาคือปี 2533 ชุมชนต้องประสบกับความหายนะครั้งใหญ่ จากอัคคีภัยที่เผาผลาญบ้านเรือนแทบไม่เหลือให้เห็น กระทั่งเกิดวิกฤติธรรมชาติส่งผลซ้ำจากการเกิดน้ำท่วมใหญ่ใน ปี 2542 ขณะที่การค้าอัญมณีที่เคยคึกคักก็กลับซบเซาหงอยเหงาไปทั้งย่าน ใครจะไปนึกเล่าว่าจันทบุรีจะเกิดอาเพศถึงขั้นนั้น?

­

      สุดท้ายคือเหล่าลูกหลานที่เกิดและเติบโตมาจากแผ่นดินผืนเดียวกัน ก็ให้มีอันต้องปรับเปลี่ยนค่านิยมด้วยการชวนกันทิ้งถิ่นกันยกใหญ่ ชุมชนที่ถือว่าเป็นแบบอย่างของเมืองจันทบูร จึงถึงคราต้องปิดประตูบ้านตัวเองหลังแล้วหลังเล่า–อนิจจา! ประมาณ 10 ปีที่ชุมชนแห่งนี้แทบจะกลายเป็นบ้านร้างกลางเมืองใหญ่ กระทั่งเมื่อปี 2552 จึงได้เริ่มมีคนมองเห็นคุณค่าในวิถีเก่าก่อนที่เคยมีมา โดยได้รีบยื่นมือเข้าไปช่วยผลักดันปันส่วน พัฒนาชุมชนแห่งนี้ให้กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมา ด้วยวิธีจุดประกายให้กลายมาเป็นย่านการค้าสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้มันเหมือนเช่นวันเก่า ๆ ที่คนเก่า ๆ เขาเคยสืบสานส่งไม้ต่อให้กับลูกหลานผ่านกันมาหลายชั่วอายุคน ที่น่าภูมิใจก็ตรงคนในชุมชนเองนั่นแหละ ที่ต่างลุกยืนขึ้นมาจับมือกันในรูปของ ’คณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมน้ำจันทบูร” เพื่อกำหนดทิศทางในการอนุรักษ์ภูมิทัศน์ชุมชน และพัฒนาวิถีความเป็นอยู่กันใหม่ ทว่าให้อยู่ในแนวทางเก่าที่เคยปรากฏในอดีต ซึ่งก็หมายถึงการร่วมมือร่วมใจกันรักษารูปแบบวิถีชีวิตประจำวันที่ผูกพันกับ การค้าเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ขณะเดียวกันถึงสังคมแวดล้อมรอบด้านหลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่คนที่นี่ก็ยังพร้อมจะขอกอดคอกันแน่น ภายใต้ข้อสัญญาทางใจที่ว่า เราจะเก็บคุณค่างานศิลปะสถาปัตยกรรมเรือนไม้ริมน้ำของชุมชนทุกชิ้นที่หลง เหลืออยู่จากแต่ละครัวเรือนเอาไว้ให้นานเท่าที่จะนานได้เพื่อคนรุ่นหลังจะ ได้ช่วยกันสืบสานมรดกชิ้นนี้กันต่อ ๆ ไป

­

      วันนี้...เมืองจันทบูรในอดีตหรือจันทบุรีในปัจจุบัน ที่พระเจ้าตากสินมหาราชได้เคยเลือกใช้เป็นสถานที่ในการรวมพล แล้วทุบหม้อข้าวหม้อแกงทิ้งเพื่อนำกำลังพลออกไปกู้ชาติ กับเป็นเมืองที่พระปิยมหาราช เคยเสด็จฯ ประพาสมากกว่า 10 ครั้ง เพื่อทรงปลอบขวัญกำลังใจให้กับประชาชนหลังตกเป็นทาสนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส อยู่พักหนึ่ง ได้กลายเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ด้านวิถีชุมชน เมื่อชุมชนริมน้ำจันทบูรได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางทางการท่องเที่ยวขึ้นมา อย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างวันนี้ ถนนสายหลักที่นับเป็นถนนสายแรกของชุมชนเมื่อกว่า 300 ปีที่ผ่านมา และมีบ้านเรือนไม้สองฟากฝั่งเคียงข้างแม่น้ำจันท บูรตลอดเส้นทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นผู้คนที่อยู่อาศัยซึ่งล้วนเป็นทายาทชุมชนตัวจริง และสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ยังคงยึดมั่นอยู่กับการดำรงชีพแบบเดิม ๆ ด้วยการทำการค้าแบบเรียบง่ายและพอเพียง จนปัจจุบันพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวต่างแดนกำลังเลือกเป็นเป้าประสงค์ในการเดินทางไปสัมผัสและด้วยองค์ประกอบที่ครบถ้วนดังกล่าว คณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมน้ำจันท บูร ถึงได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นภายใต้การอนุรักษ์เอาไว้อย่างชัดเจน ด้วยการจัดกิจกรรมขึ้นมารองรับนับแต่ปี 2522 เป็นต้นมา เริ่มจากการจัดงาน ’สีสันแห่งอัญมณี วิถีแห่งวัฒนธรรม“ ตามติดในปีถัดมาด้วยงาน ’เปิดบ้านริมน้ำ..มองอดีต ผ่านปัจจุบัน ณ ชุมชนริมน้ำจันทบูร”  จากนั้นถึงเปลี่ยนมาเป็น ’เยือนริมน้ำ...ย่ำตลาดพลอย”  และล่าสุดคือในวันที่ 26-28 ตุลาคม ศกนี้ ได้จับมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) ภูมิภาคตะวันออก รวมถึงสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กำหนดจัดงาน “มหัศจรรย์สีสันวันวาน ย่านริมน้ำ  จันทบูร” เพื่อส่งเสริมให้ชาวจันทบุรีและนักท่องเที่ยวจากถิ่นอื่นเดินทางไปท่อง เที่ยว โดยงานนี้นอกจากจะมีการสาธิตอาหารพื้นบ้าน และการแสดงทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบดั้งเดิมของชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวญวนแล้ว ยังจะมีการแสดงดนตรีที่จะช่วยเสริมบรรยากาศให้ดูย้อนยุคอีกด้วย และที่ยืนยันได้หนักแน่น งานนี้ไม่มีเวทีให้นักการเมืองฉวยโอกาสเข้าไปหาเสียง!.
.


บ้านเรือนไม้หลังเก่าที่ชวนรู้


     บ้านเลขที่ 53 อายุกว่า 100 ปี เป็นบ้านของพระกำแหงฤทธิรงค์ ปลัดเมืองจันทบุรี สมัย ร.5 เป็นบ้านก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว เหนือประตูบานเฟี้ยมหน้าบ้าน มีช่องลมไม้ฉลุลายขนมปังขิง

­

      บ้านเลขที่ 70 เป็นตึกทรงยุโรป ด้านหลังเป็นเรือนไม้ทรงไทย ติดแม่น้ำจันทบุรี อายุกว่า 100 ปี แต่เดิมเป็นโรงพิมพ์ ต่อมาขุนบุรพาภิผล ซื้อเป็นที่อยู่อาศัย และลูกหลานได้อาศัยสืบทอดกันมา โดยประกอบอาชีพขายขนมไข่ มีชื่อว่า “ขนมไข่ป้าไต๊”



จุดชวนสนใจ

      โบสถ์คาทอลิก จำลองแบบมาจากโบสถ์นอร์ทเธอร์ดาม ฝรั่งเศส,ศาลเจ้าตลาดล่าง, ศาลเจ้ากวนอิม, ศาลเจ้าโจวซือกง,วัดอนัมนิกาย, วัดโบสถ์,ตึกโบราณชิโนโปรตุกิส


กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

     โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ได้ย้อนวันวานโดยการสาธิตการทอเสื่อซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของคณะซิสเตอร์ และชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองจันทบูร ยืนยาวมากว่า 300 ปี นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนริมน้ำจันทบูร ประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรม 3 เชื่้อชาติ คือชาวไทย จีน ญวน ประวัติบ้านเก่าแต่ละหลังที่มีเอกลักษณ์ผสมผสานระหว่าตะวันตกกับตะวันออกที่ทรงคุณค่า 

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ