งานอนุรักษ์หัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร
จัดทำโดย
โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ 108 หมู่ 5 ต.จันทนิมิต อ.เมือง จ.จันทบุรี
ผู้จัดทำ
ชุมนุมอนุรักษฺหัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร
ครูที่ปรึกษา
นางสาวปานใจ แจวเจริญชัย
นางสาวธารา อานามนารถ
นางสะอ้ิง เชื้อสาย
ความเป็นมา
การทอเสื่อเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรี เป็นอาชีพดั้งเดิมที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดจันทบุรี ทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในนามของเสื่อ “จันทบูร” การทอเสื่อจันทบูรได้รับการถ่ายทอดมาจากกลุ่มชาวญวนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในเมืองจันทบุรี ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเป็นต้นมา โดยได้รับการส่งเสริมจากคณะนักบวชหญิงที่เรียกว่า “คณะภคินีรักไม้กางเขน” ซึ่งคณะนักบวชหญิงนี้ ปัจจุบันคือ “ภคินีคณะรักกางเขน แห่ง จันทบุรี” ซึ่งเป็นผู้บริหารด้านการศึกษาของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์
คณะซิสเตอร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นผู้ชำนาญ เป็นผู้มีความสามารถเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ที่มีต่องานอาชีพของชุมชนซึ่งนับวันกำลังจะหมดไป โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ได้เริ่มอนุรักษ์งานท้องถิ่นให้คงอยู่คู่กับจังหวัดจันทบุรี โดยเริ่มดำเนินงานอนุรักษ์หัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูรมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 เพื่อสืบทอดงานของท้องถิ่นและงานที่คณะซิสเตอร์ได้เคยทำมาในอดีต และเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 มาตรา 23 ข้อ 3 ที่เน้นการจัดการศึกษาโดยบูรณาการความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย พร้อมทั้งสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ บนพื้นฐานของงานท้องถิ่นเดิม เพื่อสืบสานงานพื้นบ้านและภูมิปัญญา สืบทอดวิธีการ กระบวนการ ในการทำงานท้องถิ่น ให้คงอยู่กับจังหวัดจันทบุรี สมดังคำขวัญของจังหวัด ที่กล่าวไว้ว่า “น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสืบทอดงานหัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร
2. เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี
3.เพื่อให้นักเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นหลักคิดในการทำงาน
4. เพื่อสร้างนิสัยพอเพียงให้นักเรียนและผู้สนใจ
เป้าหมาย
ครูและนักเรียนโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ชุมชนตำบลจันทนิมิตและผู้ที่สนใจร่วมกันสืบทอดงานหัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูรที่เป็นเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี
หลักความพอประมาณ
1.นักเรียนรู้จัก ”ต้นกก” ซึ่งเป็นพืชธรรมชาติของจังหวัดจันทบุรี
2.นักเรียนรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รู้วิธีการประหยัดทรัพยากร
3.นักเรียนรู้จัก “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ในด้านการทอเสื่อ ได้ศึกษาเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน
4.นักเรียนรู้รายได้จากการทำงานเสื่อและนำมาเป็นข้อคิดในการประมาณการใช้จ่ายในวิตประจำวัน
5.นักเรียนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้เสื่อและเชิญชวนให้ผู้ปกครองใช้เสื่อ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น และเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
หลักความมีเหตุผล
“การทอเสื่อ” เป็นอาชีพดั้งเดิมที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดจันทบุรี ได้รับการถ่ายทอดมาจากชาวญวนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี โดยได้รับการส่งเสริมจาก”ภคิณีคณะรักกางเขน แห่ง จันทบุรี” ซึ่งเป็นคณะนักบวชที่เป็นผู้บริหารด้านการศึกษาของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ในปัจจุบัน โรงเรียนจึงได้ตั้งศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร เพื่อสืบทอดงานของท้องถิ่น และงานของคณะซิสเตอร์ที่เคยทำมาในอดีต ให้คงอยู่คู่กับจังหวัดจันทบุรีต่อไป
หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
การทอเสื่อทำให้นักเรียนเข้าใจถึงการดำเนินชีวิตของคนสมัยก่อน ซึ่งเป็นบทเรียนที่มีค่าของชีวิตปัจจุบัน รับรู้ถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ นักเรียนได้ฝึกการทำงานโดยใช้ทรัพยากร “กก” ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการช่วยอนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เห็นความสำคัญของการใช้ชีวิตที่ใกล้ชิดธรรมชาติ รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ครู และวิทยากรท้องถิ่น ภาคภูมิใจในการอนุรักษ์และสืบสานงานหัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ปลูกฝังการเตรียมตัวให้พร้อมในการดำเนินชีวิตของนักเรียนต่อไปในอนาคต
เงื่อนไขความรู้
1.นักเรียนรู้วิธีการทอเสื่อ
2.นักเรียนมีความรู้เรื่อง “กก” ซึ่งเป็นทรัพยากรในท้องถิ่น
3.นักเรียนรู้จักอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทอเสื่อ และใช้อุปกรณ์อย่างคุ้มค่า รวมทั้งดูแลรักษาอย่างดี
4.นักเรียนเรียนรู้เรื่องการซื้อ – ขาย , กำไร – ขาดทุน , การบริหารจัดการ
เงื่อนไขคุณธรรม
1.ความขยันหมั่นเพียรในการทอเสือ
2.ประหยัดวัสดุอุปกรณ์โดยเฉพาะกกที่นำมาทอเสื่อใช้เท่าที่จำเป็นพอเหมาะกับลายที่ทอ
กับขนาดของฟืม
3.ความซื่อสัตย์ต่ออาชีพโดยการนำวัสดุอุปกรณเช่น กก เอ็น ที่มีคุณภาพมาทอเสื่อ
4.มีความรักความสามัคคีในหมู่คณะในการทำงาน
5.มีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณโดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้
6.มีจิตอาสาเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ในการนำเสนอผลงานตามหน่วยงานต่างๆเพื่อสืบทอดถูมิปัญญาท้องถิ่น
ผลงานนักเรียนที่่ใช้หลักคิดหลักปฏิบัติในการทำงานได้คิดค้นและออกแบบลายเสื่อได้ดังนี้
>>> ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่<<<
รางวัลแห่งความภาคภูมิใจงานอนุรักษ์หัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร
ปีการศึกษา ผลงาน
2550
ได้รับรางวัลเหรียญเงินการประกวดหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม จากคุรุสภา“เรื่องอนุรักษ์และสืบสานหัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร”ได้รับรางวัลเหรียญเงินการประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก “เรื่องการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต”
2551
ได้รับเกียรติแสดงการทอเสื่อถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2551 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ
2552
- ได้รับรางวัลเหรียญทอง การประกวดหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม จากคุรุสภา“เรื่องอนุรักษ์และสืบสานหัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูรบนวิถีเศรษฐกิจพอเพียง”
-ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดผลิตภัณฑ์เสื่อกกจันทบุรี รับถ้วยประทานจาพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ในงานวันสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี 105 ปี
-ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ 1 ของประเทศ การประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ “เรื่องการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต” ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
2553
ได้รับเชิญร่วมจัดนิทรรศการ “มหกรรมวันการศึกษาเอกชน สู่ความเป็นเลิศ เทิดไท้องค์ราชัน”
2554
ได้รับเชิญไปร่วมสาธิตการทอเสื่อในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย