กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
A F 2 (Alarm Flooding Two) เครื่องเตือนภัยน้ำท่วม
ความเป็นมา วัตถุประสงค์




จัดทำโดย

คณะผู้จัดทำโครงงาน

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

นายสุรศักดิ์ แก้วยก

นายธงชัย ตั้งวงษ์พุทธิกุล

นายรัญชน์ จินดาวงศ์

­

ครูที่ปรึกษาโครงงาน : นางสาวมัทนี สีมา

ตำแหน่ง : ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

วิชาที่สอน : ชีววิทยา

ระดับชั้นที่สอน : ม.4

โทรศัพท์ : 08 – 4084 – 7875

E – mail : PUI_6@msn.com

­

ข้อมูลโครงงาน :

จากการประดิษฐ์เครื่องเตือนภัยน้ำท่วมที่ใช้ท่อพีวีซีเป็นวัสดุหลักและมีการพัฒนาขึ้นใหม่คือรัศมีของเสียงไซเรนจะดังได้รอบทิศทางมากขึ้นและใช้รีโมทเป็นตัวควบคุมการปิดเสียงไซเรนแทนการกดสวิตซ์ ทำการเชื่อมต่อวงจรและอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยอาศัยหลักการของแรงดันน้ำ การใช้งานเริ่มจากติดตั้งเครื่องเตือนภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำ โดยตั้งค่าลูกลอยต่ำกว่าระดับพื้นดิน 11 เซนติเมตร ใช้ไซเรนที่เสียงดังประมาณ 110 – 120 เดซิเบล รัศมีของเสียงไซเรนไกลประมาณ 300 เมตร จากนั้นเปิดสวิตซ์หลักที่ควบคุมวงจรทั้งหมด รอให้ระดับน้ำในท่อพีวีซีสูงขึ้นไปดันลูกลอย ลูกลอยจะลอยขึ้นและทำให้เชือกตึงเป็นผลให้เชือกไปดึงสวิตซ์ กลไกต่าง ๆ จึงทำงาน ไฟเข้าไปชาร์จที่สวิตซ์ตรงลูกลอยจนครบวงจร แล้ววิ่งเข้าไปที่เสียงไซเรนทำให้ไฟติดและเสียงไซเรนดังขึ้นทันทีโดยอัตโนมัติ ซึ่งเสียงไซเรนจะดังไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีการปิดเสียงโดยรีโมท ทำการทดลองใช้งานกับแหล่งน้ำในโรงเรียนเป็นเวลา 3 วัน วันละ 3 ช่วงเวลา พบว่าการทดลองทั้ง 3 วัน ได้ผลการทดลองเช่นเดียวกันในทุกช่วงเวลาคือเครื่องเตือนภัยน้ำท่วมให้ประสิทธิภาพดีในการใช้งานทุกสภาพอากาศ สรุปคือโครงงานนี้สามารถนำมาใช้ได้ในโรงเรียนก่อน และหากมีการพัฒนาต่อยอดอีก จะสามารถนำไปใช้กับชุมชนได้อย่างดี

­

ที่มาและความสำคัญ

ภัยน้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นทุกปีในทุกภูมิภาคของบ้านเรา โดยปกติภัยน้ำท่วมเกิดจากฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งอาจมีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรีเมื่อถึงฤดูฝนจะตกหนักทำให้น้ำในแม่น้ำล้นตลิ่งเป็นประจำทุกปี ทำให้บ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำต่างๆ เสียหายเป็นจำนวนมากทั้งด้านทรัพย์สินและชีวิต ทั้งยังทำให้สภาพจิตใจของประชาชนท้อแท้และกังวล ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้เหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มในประเทศไทย มีความถี่และรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ก่อให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินโดยไม่สามารถประเมินได้ เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่ใกล้ทางน้ำไหล ปริมาณน้ำที่ไม่สามารถเก็บกักไว้ได้ในดินจำนวนมาก ไหลลงสู่พื้นที่ราบตอนล่าง เกิดลักษณะการท่วมอย่างฉับพลัน (Flash Flood) และท่วมพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรในที่ราบตอนล่าง สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก

­

ระบบการพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมเป็นมาตรการบรรเทาความเสียหายจากภัยน้ำท่วม โดยสามารถเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้าให้กับพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อมีการจัดเตรียมรับมือภาวะน้ำท่วม ซึ่งสามารถลดความเสียหายได้เป็นอย่างมาก ซึ่งจากเหตุการณ์น้ำท่วมและระดับน้ำในแม่น้ำมีระดับสูงล้นตลิ่งได้เกิดขึ้นหลายครั้งในรอบปีนี้ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความเสียหายรุนแรงคือ การไม่มีการเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้าให้นานพอที่จะดำเนินการป้องกันได้ทัน เนื่องจากไม่สามารถพยากรณ์ระดับน้ำในแม่น้ำที่จะเกิดล่วงหน้าอย่างแม่นยำ และขาดข้อมูลในการบ่งชี้ระดับน้ำที่จะเข้าท่วมในพื้นที่ ในขณะที่มาตรการป้องกันน้ำท่วมโดยใช้สิ่งก่อสร้างต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการที่นานหลายปีอาจไม่ทันสำหรับภาวะน้ำท่วมที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีความเข้าใจในการรับสถานการณ์น้ำท่วมดีพอ

­

ดังนั้นการเตือนภัยน้ำท่วมในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นมาโดยคำนึงถึงการเตือนภัยอย่างมีประสิทธิภาพที่สามารถลดความเสียหายลงได้ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือนี้ขึ้นมาช่วยเพื่อเตือนภัยซึ่งจะช่วยลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมนุษย์

­

วัตถุประสงค์

- เพื่อศึกษาผลที่ได้จากการใช้เครื่องมือเตือนภัยน้ำท่วม และสนับสนุนการเตือนภัยน้ำท่วมอย่างฉับพลัน

- เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยการประยุกต์ความรู้จากที่ได้เรียนมาในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันแสดงถึงศักยภาพของผู้เรียนและผู้สอนที่ดี


สมมติฐาน

เครื่องเตือนภัยน้ำท่วมสามารถลดอัตราเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ในโรงเรียนได้

­

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เครื่องเตือนภัยน้ำท่วมสามารถช่วยเตือนภัยจากเหตุภาวะน้ำท่วมและน้ำท่วมฉับพลันได้และสามารถลดอัตราเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ในโรงเรียนได้

สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยการประยุกต์ความรู้จากที่ได้เรียนมาในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันแสดงถึงศักยภาพของผู้เรียนและผู้สอนที่ดี

­

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

ประดิษฐ์และศึกษาการใช้เครื่องเตือนภัยน้ำท่วมที่พัฒนาขึ้นใหม่ แล้วนำมาทดสอบใช้กับแหล่งในโรงเรียน โดยผลที่ได้จะเผยแพร่ให้กับนักเรียนในโรงเรียนในเบื้องต้น เพื่อให้นักเรียนได้นำไปเผยแพร่ต่อกับผู้ปกครองที่บ้านและชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมน้ำในขั้นต่อไป

­

­

­

ผลงานที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของเด็ก

- อย่างแรกเด็กได้มีการจัดแบ่งกลุ่ม เด็กจะเลือกเพื่อนที่สามารถร่วมงานกันได้ดีเข้ากลุ่มของตน โดยแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน แต่ร่วมงานกันได้

­

- จากนั้นเด็กได้ร่วมกันคิดหัวข้อโครงงาน เป็นความสนใจของนักเรียนในการทำโครงงาน เด็กมาปรึกษาครูจากเหตุผลที่เด็กเล่าให้ครูฟังพบว่าในกลุ่มลงมติกันว่าจะทำ เครื่องเตือนภัยน้ำท่วมเพราะมองปัญหาปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นกับการที่ โรงเรียนน้ำท่วมทุกปีมาเป็นตัวตั้ง เพื่อคิดหาทางช่วยบรเรเทาทุกข์ในการเกิดน้ำท่วมในโรงเรียน คือมองสิ่งใกล้ตัวก่อนทำงานให้เหมาะสมกับตัวเค้าก่อนคือเลือกทำเพื่อป้องกัน ให้โรงเรียนก่อน ถ้าสำเร็จแล้วถึงค่อยต่อยอดมาทำเผยแพร่ให้ชุมชน

­

- วัสดุที่ใช้เลือกใช้เลือกที่หาง่าย ทนทาน ราคาเหมาะสม

­

- เด็กแต่ละคนครูมองว่ามีลักษณะเด่นต่างกันคือ บางคนนำเสนอเก่ง บางคนเก่งในเรื่องการประกอบติดตั้ง บางคนเก่งเรื่องวงจรไฟฟ้า บางคนชอบคิดเยอะมองเห็นข้อผิดพลาดของงานบ่อยซึ่งมันนำมาสู่การปรับปรุงแก้ไขที่ดีขึ้น และบางคนใจเย็นมีเหตุผลดีที่เพื่อน ๆ ยอมรับเป็นความแตกต่างที่ดีที่มีความสามัคคี

­

- เมื่อมีการทำงานก็ต้องมีปัญหา คือบางคนมีงานที่บ้านเยอะอาจได้งานที่ทำน้อย แต่บางคนก็เต็มที่กับการทำโครงงาน อาจมีขัดแย้งกันบ้าง แต่ก็มีเด็กบางคนที่เป็นใจเย็น เขาคอยเชื่อมและเป็นกลางในการปรับความเข้าใจในการทำงาน จนทุกคนเข้าใจถึงการแบ่งเวลาต้องทำให้เหมาะทั้งงานโครงงานที่เป็นการเรียนและงานที่บ้านรวมถึงงานส่วนตัวทุกคนมี แต่ต้องรู้จักหน้าที่สามัคคีร่วมมือกันให้เสร็จ และสุดท้ายงานก็เสร็จ ได้ที่ 1 ของเขต 17

­

- หลังจากแข่งขันเสร็จ นักเรียนก็มีการนำของเดิมมาปรับปรุงและต่อยอดอย่างไม่หยุดนิ่งเพื่อไปแข่งระดับภาค ได้ระดับเหรียญทอง อันดับ 9 จาก 21 ทีม

­

- นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจมาก ที่สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ให้ตนเองและครอบครัว จากนั้นก็สื่อมาขอทำข่าวเพื่อเผยแพร่เป็นระยะ

­

ทั้งหมดนี้เด็กไม่ได้ทำอย่างโดดเดี่ยว นักเรียนมีครูคอยแนะ มีโรงเรียน มีผู้บริหารและฝ่ายต่างๆ ช่วยดูแลและสนับสนุนอยู่ทำให้เด็กมีกำลังใจ ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์ ไม่เอาเวลาไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งไม่ดี

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ