เวทีเตรียมความพร้อมการสนับสนุนโครงการชุมชนบริหารจัดการตัวเอง ระยะที่ 2
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมโกลเด้นท์ฮิลล์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
มีวัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนโครงการสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิระยะที่ 2
ผู้เข้าร่วม (รวมจำนวน 15 คน)ได้แก่
- ทีมพี่เลี้ยง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสตูล ตรัง และระนอง
- ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล (ธนาคารไทยพาณิชย์)
- มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น
- ทีมโครงการวิจัยตัวชี้วัดฯ
ผลที่คาดว่าว่าจะได้รับ คือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความความเข้าใจในแนวคิด บทบาท และความคาดหวังร่วมต่อการทำงานระยะที่ 2 รวมทั้งมีเข้าใจในโครงการชุมชนที่ดูแล และสามารถกำหนดแนวทางการสนับสนุนได้อย่างเหมาะสม
โจทย์ : เล่าให้เพื่อนฟังถึงความภาคภูมิใจในการทำงานหนุนเสริมโครงการสึนามิ
กระบวนการ:
1. วิทยากรแจกกระดาษให้ คนละ 1 แผ่น ปากกา 1 ด้าม
2. จับคู่กัน ให้เลือกคนที่มาจากคนละที่
3. เขียน 1 คำ ที่สะท้อนถึงสิ่งที่เพื่อนภาคภูมิใจในงานที่ทำ
4. ทุกคนกลับเข้ามานั่งในวง
5. ให้ทุกคนเล่าเรื่องราวที่ได้ฟังจากเพื่อน ในวงใหญ่ เล่าทีละคน
- ฟังเรื่องของใคร
- คำที่เขียนไว้
- เพื่อนภูมิใจอะไร)
โจทย์ : ทบทวนเป้าหมายในการทำงานสึนามิที่อยากเห็นในปีที่ 1
กระบวนการ :
- เขียน 1 เรื่อง ต่อ 1 Post it
- ให้พูดทีละประเด็น ใครมีประเด็นคล้ายกันให้พูดต่อในประเด็นนั้นๆ
- วิทยากรนำ Post it ที่พูดแล้ว ไปติดจัดกลุ่มไว้บนกระดาษ
- เมื่อจัดกลุ่มประเด็น KPI แล้ว วิทยากรชวนแลกเปลี่ยน KPI ทีละประเด็น
- วิทยากรสรุปประเด็น
- วิทยากรแจกเอกสาร KPI โครงการปีที่ 1 ให้ทุกคนได้ศึกษาร่วมกัน เพื่อเทียบเคียงจากสิ่งที่ระดมความคิดเห็นไว้
กระบวนการ:
1. ให้จับกลุ่ม 3 คน
2. ใครพร้อมให้หยิบปากกาขึ้นมาถือไว้ แล้วเล่าให้เพื่อฟัง
- คนที่ไม่ได้มาวันแรก ให้เล่าบทเรียนจากการทำงานสึนามิ
- คนที่ได้มา ให้เล่าว่าได้เรียนรู้อะไรจากเมื่อวาน และจะนำอะไรไปปรับใช้
3. ตัวแทนกลุ่มเล่าให้ฟังในวงใหญ่ “เราได้สัมผัสอะไรจากการได้ฟังเพื่อนเล่า”
กิจกรรมวันแรกทำให้ได้เห็น base line เพื่องานระยะที่ 2 และได้เช็ก KRA กับ KPI ที่เคยทำไว้ จึงนำมาเช็กให้ทุกคนช่วยเติมเต็มให้เป็นผลลัพธ์และตัวชี้วัด ให้เป็นชุดเดียวกัน
โจทย์: ให้พี่เลี้ยงแต่ละจังหวัด Revise แผนงานของแต่ละโครงการ โดยกำหนดให้ใช้โครงการที่นำมาทดลองทำในวันแรก
กระบวนการ:
1. วิทยากร อธิบายกรอบในการ Revise แผนงานแต่ละโครงการ
2. พี่เลี้ยงทุกคน ดำเนินการ Revise แผนงานแต่ละโครงการ
3. ลองเทียบว่าแผนงานแต่ละเรื่อง ตอบ KRA และ KPI ข้อใดบ้าง
เนื้อหาสำคัญในเวทีเตรียมความพร้อมทีมพี่เลี้ยงฯ มี 5 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 การทบทวนเป้าหมายที่อยากเห็นในงานระยะที่ 1 ช่วงที่ 2 ทบทวนผลที่เกิดขึ้นจริงในปีที่ 1 ช่วงที่ 3 กำหนดตัวชี้วัดของงานปีที่ 2 ช่วงที่ 4 สรุปผลลัพธ์และตัวชี้วัดจากการระดมวันแรก และช่วงที่ 5 การ Revise แผนงานของแต่ละโครงการ (กิจกรรม เป้าหมาย วิธีการ ตัวชี้วัด ช่วงเวลา ผลการดำเนินงาน ทำให้ทีมพี่เลี้ยง ได้เห็นเป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานในพื้นที่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมกับความมั่นใจที่เริ่มกลับคืนมา หลังจากการประชุมครั้งนี้ แต่ละพื้นที่จะเริ่มดำเนินงานเพื่อสร้างชุมชนที่มีการบริการจัดการตนเอง ซึ่งต้องเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม คือ คนเก่งขึ้น (พี่เลี้ยง และแกนนำแถว 1,2) มีกลไกการจัดการ และปัญหาได้รับการคลี่คลาย
“เราได้เห็นเครื่องมือและวิธีการที่เราจะออกแบบการหนุนเสริมโครงการที่เป็นคัมภีร์ที่จะเดินไปสู่เป้าหมาย ถ้าเราจะเติมเรื่องกระบวนการเข้าไปเพื่อตอบตัวชี้วัดนั้นๆ ได้กระบวนการทบทวนการทำงานของโครงการ ดูย้อนหลังและเห็นทางไปข้างหน้า ถือเป็นคู่มือที่ใช้เป็นแนวทางในการเดินตลอดเดินทาง…..”
หนึ่งเสียงสะท้อนของพี่เลี้ยง จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ของพี่เลี้ยงโครงการชุมชนบริการจัดการตัวเอง