โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ
โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีสัญจร 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

         คนทำงานด้านสังคมมักอยู่ท่ามกลางความคาดหวังมากมาย ทั้งความคาดหวังของตัวเราเอง ความคาดหวังของคนอื่น และความคาดหวังของชุมชน บางทีเราก็อยู่ในความเครียดมากเกินไปจึงควรผ่อนคลายดูแลตัวเองเพื่อจะได้ เบิกบานในการทำงาน...

เวทีสัญจรครั้งที่ 2
   วันที่ 5-7 กันยายน 2555
ณ จังหวัดสตูล

ผู้ร่วมประชุม

  ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล ทีมมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทีมพี่เลี้ยงจังหวัด และทีมชุมชน รวม 24 คน

 

วัตถุประสงค์ 

- แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงานชุมชนจากพื้นที่จริง

- รับฟังมุมมองในการทำงานจากผู้ทรงคุณวุฒิ  

 

พื้นที่การเรียนรู้ 

- หมู่บ้านหลอมปืน ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

- หมู่บ้านบุโบย  ต.แหลมสน อ.ละงู จ.สตูล

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

              เวทีสัญจรเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ “สร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ” ที่ ได้ออกแบบไว้เพื่อให้ทีมทำงานโครงการในแต่ละพื้นที่ได้มีโอกาสมาพบปะแลก เปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยจะจัดเวียนกันในพื้นที่การเรียนรู้ทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง สตูล และระนอง  การจัดเวทีสัญจรครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้น ณ จังหวัดสตูลตั้งแต่วันที่ 5-7 กันยายน 2555  ซึ่งสรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ได้ดังนี้

­

วันที่ 5 ก.ย. 2555   ได้มีการประชุมเตรียมความพร้อมในช่วงเวลาประมาณ 20.30-23.00 น. โดย คุณชีวัน ขันธรรม   ผู้จัดการมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น และผู้ประสานงานโครงการฯ ได้ กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดเวทีครั้งนี้ว่า สืบเนื่องมาจากเวทีสัญจรครั้งแรกที่จังหวัดระนอง ที่ได้ไปเรียนรู้ที่บ้านกำพวนและทะเลนอก โดยครั้งนั้น คุณพรทวี ยอดมงคล ได้มาให้ความรู้เรื่องเครื่องมือซึ่งได้นำไปปรับใช้กันในพื้นที่ซึ่งการไป เรียนรู้ครั้งนั้นเป็นประโยชน์กับทั้งทางทีมพี่เลี้ยง และทีมพื้นที่ จึงมีข้อสรุปว่าจะมาเรียนรู้กันต่อที่จังหวัดสตูลในครั้งนี้ และได้มีการชี้แจงกำหนดการของเวทีทั้ง 3 วัน ที่อาจมีการปรับกิจกรรมจากเดิมที่ทางทีมเจ้าภาพสตูลได้ออกแบบไว้ เนื่องจากครั้งนี้มีทีมมูลนิธิสยามกัมมาจลมาร่วมเรียนรู้ด้วยเพื่อติดตาม ความก้าวหน้าในการดำเนินการของทั้ง 3 จังหวัด จึงอาจมีประเด็นแทรกจากกระบวนการที่ได้ออกแบบไว้พอสมควร  เดิมกำหนดให้การไปเรียนรู้ร่วมกับพื้นที่เป็นหนึ่งวันเต็มนั้น ได้ลดลงเหลือครึ่งวัน  เพื่อให้มีเวลาในการนำเสนอความก้าวหน้าของจังหวัดอื่นด้วย และในครั้งนี้ทางมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ คือ อ.ปาริชาติ วลัยเสถียร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นกรรมการของมูลนิธิฯ มาให้มุมมองต่อการทำงานโครงการด้วย

จากนั้น คุณสมพงษ์ หลีเคราะห์ ผู้ประสานงานพื้นที่จังหวัดสตูล ได้ชวนทุกคนทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับหลักการหรือแนวคิดในการทำงานให้ ชัดเจนไปในทิศทางเดียวกันก่อนที่จะสื่อสารกับทางมูลนิธิสยามกัมมาจลในวันต่อ ไป โดยได้นำเสนอหลักคิดการทำงานภายใต้นิยาม “ชุมชนจัดการตัวเองภายใต้ข้อมูล” ซึ่ง มีหลักการสำคัญคือ ภายใต้ข้อมูลแต่ละชุด หรือ แต่ละประเด็นที่ได้จากพื้นที่นั้น ต้องพิจารณาว่าต้องมีทั้งด้านบวก และ ด้านลบ จึงจะนำไปสู่ทิศทาง หรือ ทางออกจากปัญหาที่เป็นอยู่อย่างแท้จริงได้ (บวก+ลบ =ทิศทาง) โดยสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา คือ นอกจากปัญหาในชุมชนถูกแก้ไขแล้ว ตัวผู้นำหรือคนในชุมชนก็ต้องมีการพัฒนาด้วย นั่นคือ ต้องผ่านกระบวนการ “พาทำ” ซึ่งจากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาพบว่า การทำงานด้วยการ “สร้างข้อมูล” ร่วม กัน เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้ทั้งปัญหาถูกแก้ไข และคนมีการพัฒนา หรือยกระดับ ทั้งนี้ข้อมูลนั้นๆ ต้องประกอบไปด้วยชุดข้อมูลทั้งภายใน และชุดข้อมูลภายนอกเพื่อประกอบการพิจารณาก่อนที่จะปฏิบัติการ (Action) หรือออกแบบกิจกรรม เพื่อนำไปสู่แผนพัฒนาชุมชน หรือตัว “D” (Development)

จากการแลกเปลี่ยนกันพบว่ากระบวนการที่แต่ละพื้นที่ใช้ในการขึ้นโครงการนั้นมีความแตกต่างกัน เช่น จังหวัดสตูลให้ความสำคัญกับเรื่องข้อมูลโดยจะใช้เวลากับช่วงต้นน้ำมาก  ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกประเด็นการทำงาน ส่วนจังหวัดตรังจะ มองเรื่องการใช้ทุนเดิมที่มีแล้วจึงค่อยๆ ขยับไปคุยกันภายหลังในลักษณะของการทบทวนร่วมกัน นั่นคือ แม้จะขึ้นงานเร็ว แต่อาจให้น้ำหนักตอนปลายที่มาเรียนรู้ เป็นการถอดบทเรียนร่วมกัน ในขณะที่ จังหวัดระนองจะใช้วิธีการพัฒนาเป็นโครงการย่อยเพื่อ ให้เห็นแผนกิจกรรมที่แต่ละพื้นที่อยากทำอย่างชัดเจนก่อนที่จะพัฒนาเป็น โครงการใหญ่  ดังนั้น สิ่งที่ทีมทำงานทุกพื้นที่คิดเห็นเหมือนกันคือ ความพร้อมในพื้นที่งานแต่ละชุมชนมีไม่เท่ากัน บางพื้นที่มีฐานทุนเดิมอยู่แล้ว ในขณะที่บางพื้นที่ต้องอาศัยเวลาในการปรับจูน ทำความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก่อนจึงจะเริ่มโครงการได้ 

อย่างไรก็ตามในภาพรวมต้องมีเป้าหมายไปในทางเดียวกันคือ “การสร้างชุมชนบริหารจัดการตนเองภายใต้ข้อมูล” นั่นคือ ต้องมีการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติด้วย จึงมีข้อสรุปร่วมกันว่า ภายใต้เป้าหมายเดียวกันนั้นจะใช้วิธีการแบบใดก็ตาม สุดท้ายต้องปรับมาเป็นความรู้ให้ได้ ส่วน กรอบระยะเวลาเดิมที่กำหนดไว้ 6 เดือนนั้น มองว่ารูปแบบการทำงานจะใช้วิธีการเริ่มโครงการพร้อมกันหมดไม่ได้ แต่ควรพิจารณาจากความพร้อมของชุมชน ควรปรับให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ แต่ก็ไม่ควรให้ช้ามากเกินไป เนื่องจากแม้ปัจจุบันจะยังไม่ได้ขึ้นเป็นโครงการที่ชัดเจน แต่ก็ไม่ได้ว่างเปล่า มีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นในพื้นที่บ้างแล้ว เพียงแต่ยังต้องตรวจสอบความพร้อมหรือประเด็นบางอย่างให้ชัดเจนก่อนที่จะลง มือทำ ดังนั้นสรุปว่า “เรามีเป้าหมายเดียวกัน แต่วิธีการอาจจะต่างกัน”  ซึ่งจะเริ่มโครงการอย่างไรไม่ใช่ปัญหา แต่ต้องตอบให้ได้ว่าระหว่างทางเราจะเริ่มอย่างไร? จุดสำคัญคือถ้าทำไปแล้วคลี่คลายปัญหาได้แต่คนไม่มีพัฒนาก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น กระบวนการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทุกการปฏิบัติมีกระบวนการแก้ปัญหา และคนจะคลี่คลายการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ดังนั้น ตัวพี่เลี้ยงเองก็ต้องพัฒนาทักษะในกระบวนการหนุนระหว่างการดำเนินงานด้วย

    หลังจากแลกเปลี่ยนเรื่องหลักคิด หรือ แนวทางในการทำงานร่วมกัน ทางทีมเจ้าภาพสตูล นำโดย คุณประวิทย์  ลัดเลีย ได้ แนะนำพื้นที่การเรียนรู้ในครั้งนี้ว่ามี 2 พื้นที่ได้แก่ บ้านหลอมปืน และบ้านบุโบย ซึ่งในวันที่ 6 ก.ย. 25 จะมีการแบ่งเป็น 2 ทีมเพื่อลงไปเรียนรู้ในพื้นที่ก่อนกลับมาสรุปการเรียนรู้ร่วมกัน  ทั้งนี้ทีมพี่เลี้ยงได้ช่วยกันเล่าถึงบริบทของทั้ง 2 พื้นที่ สรุปได้ดังนี้

Ø บ้านหลอมปืน: ปัจจุบันได้มีการเก็บข้อมูลไปแล้วบางส่วนจากที่ได้ลงพื้นที่ไปแล้วประมาณ 7 ครั้ง และที่ยังขาดอยู่บางส่วนโดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรของชุมชน ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งที่ผ่านมาได้มีการหยิบยกข้อมูลด้านประวัติศาสตร์มา เชื่อมต่อกัน ทำให้เห็นเรื่องราวต่างๆ ในชุมชนชัดเจนขึ้น ดังนั้น ข้อมูลที่คนในชุมชนสนใจขณะนี้จึงเป็นเรื่อง “ประวัติศาสตร์บ้านหลอมปืน” และจะเชื่อมต่อในเรื่อง “หลักสูตรท้องถิ่นของเด็ก”


  ส่วนด้านทีมคนทำงานในพื้นที่หลักๆ เป็นทีม ชรบ. และปัจจุบันเริ่มมีคนใหม่ๆ เข้ามาร่วมกิจกรรมมากขึ้น จากที่ไม่ให้ความสนใจเลย ซึ่งทีมวิจัยในพื้นที่สะท้อนให้ฟังว่าเขาภูมิใจว่าตอนนี้เริ่มมีคนอยากรู้ และสนใจในสิ่งที่พวกเขาทำอยู่

­

Ø บ้านบุโบย: มีฐานทรัพยากรหลักๆ ที่คนในหมู่บ้านใช้ทำกิน 4 ฐาน คือ ชายหาด ป่าชายเลน คลอง และทะเล  เดิมชาวบ้านทำการประมงและมีรายได้หลักมาจาก “การทำโป๊ะ”  แต่ปัจจุบันรัฐบาลจะประกาศยกเลิกเพราะเห็นว่าโป๊ะขวางทางเรือ  ซึ่งหากฐานทรัพยากรทั้ง 4 ฐานเปลี่ยนแปลงไปก็จะเกิดผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน อย่างไรก็ตามข้อมูลเรื่องทรัพยากรดังกล่าวมาจากการบอกเล่าของคนในชุมชน แต่ยังไม่ได้ไปศึกษาจริงในพื้นที่ ดังนั้น อาจต้องทำปฏิทินฤดูกาลของทรัพยากรแต่ละประเภทด้วย

­

กลุ่ม เป้าหมายที่น่าสนใจ คือ มีกลุ่มผู้หญิงเป็นแกนหลักในการทำงานเรื่องทรัพยากรในชุมชน โดยได้พยายามดึงเยาวชนเข้ามาช่วยทำงานในโครงการ ซึ่งที่ผ่านมามีบทเรียนในการทำงานเรื่องทรัพยากรเกิดขึ้นมากมาย ทั้งนี้คนที่เข้ามาร่วมทำงานประมาณ 4-5 ครั้ง ให้ความเห็นว่า การเคลื่อนงานครั้งนี้เห็นภาพของชุมชนได้ชัดเจนขึ้นจากเดิมมาก

­

การนำเสนอสถานการณ์ที่บ้านบุโบยจากทีมพี่เลี้ยงสตูล ได้นำไปสู่การแลกเปลี่ยนกรณีเรื่อง “ข้อดี-ข้อเสียของการทำโป๊ะ” ซึ่งสังเกตว่าทีมพี่เลี้ยงรุ่นใหม่ที่ลงไปทำงานในพื้นที่นั้น ส่วนใหญ่จะได้ข้อมูลที่เป็นด้านบวกในเรื่องดังกล่าว ในขณะที่ทาง คุณมานพ และคุณสมพงษ์ ได้พยายามชวนพี่เลี้ยงรุ่นใหม่พิจารณาเรื่องดังกล่าวให้ครอบคลุมมากขึ้นใน หลายๆ มิติ โดยเฉพาะการเน้นย้ำถึงข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงมากกว่าความรู้สึก หรือการประมาณการ  ซึ่งหลังการนำเสนอข้อมูลพื้นที่การเรียนรู้แล้ว ในช่วงท้าย คุณชีวัน ได้เสนอแนวทางในการลงไปเรียนรู้ในพื้นที่ผ่าน “โจทย์เพื่อการวิเคราะห์ชุมชน” เป็นแนวทางที่จะใช้ในการวิเคราะห์คน- พื้นที่ และ ชุมชน ที่ ได้ร่างเป็นตุ๊กตาเพื่อให้ชัดเจนขึ้นในโครงการ เนื่องจากมองว่าโจทย์การลงพื้นที่ครั้งนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องการใช้เครื่อง มือเหมือนที่จังหวัดระนอง แต่น่าจะเป็นเรื่องการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนโดยการลงไปดูรูปธรรมในพื้นที่ จริงแล้วกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากกว่า

­

วันที่ 6 กันยายน 2555  หลัง การชี้แจงกำหนดการเรียนรู้ร่วมกันแล้ว ได้มีการแนะนำตัวผู้เข้าร่วมเรียนรู้ พบว่า เวทีครั้งนี้มีองค์ประกอบค่อนข้างหลากหลายทั้งพี่เลี้ยง ทีมชุมชน ทีมจากมูลนิธิสยามกัมมาจล และผู้ทรงคุณวุฒิ คือ อาจารย์ปาริชาติ วลัยเสถียร กรรมการมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดย คุณชีวัน ได้ชี้แจงความก้าวหน้าในการทำงานภาพรวมของโครงการฯ ให้ผู้เข้าร่วมทุกท่านได้ทราบพร้อมกันอีกครั้งก่อนที่จะมีการนำเสนอสถานการณ์-ความเคลื่อนไหวในพื้นที่งานของแต่ละจังหวัด ซึ่งเริ่มจากจังหวัดตรังก่อน นำโดย คุณมานพ ช่วยอินทร์ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.) จังหวัดตรัง พร้อมด้วยทีมพี่เลี้ยงและทีมชุมชนช่วยเล่ารายละเอียดในแต่ละพื้นที่ สรุปได้ดังนี้

­

Ø พื้นที่บ้านเกาะสุกร: บริบทชุมชนเป็นพื้นที่นา ซึ่งเป็นฐานต้นทุนของคนบนเกาะ แต่ช่วงหลังถูกกระแสการท่องเที่ยวเข้าไปมาก ทำให้ที่ดินถูกเปลี่ยนมือจากคนรุ่นหลังซึ่งไม่ค่อยทำนาขายให้กับคนนอก พื้นที่  อย่างไรก็ตาม มีคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการรักษาแผ่นดินของบรรพบุรุษไว้ อยากรื้อฟื้นการทำนากลับมาอีกครั้ง  ได้รวมกลุ่มกันพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องดังกล่าว โดยทีมพี่เลี้ยงเข้าไปชวนคุยหลายครั้ง  มีการช่วยกันวิเคราะห์สภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับการทำนา และโยงไปสู่การหาแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการหาแนวทางกำจัดศัตรูพืช และลดการใช้สารเคมี ตลอดจนการไปดูงานเพื่อทดลองหาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่มาปลูกเพื่อ เพิ่มผลผลิต นอกจากนี้ในส่วนของการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกนั้นได้มีการประสานงานกับ อบต. เพื่อขอการสนับสนุนพันธุ์ข้าว และอยู่ระหว่างการประสานกับกรมชลประทานให้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องแหล่งน้ำ จืด ในขณะเดียวกันก็ได้พยายามหาวิธีสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กเยาวชนในหมู่บ้าน ทั้งนี้การแก้ปัญหาเรื่องการทำนายังโยงไปสู่การแก้ปัญหาเรื่องการปลูกแตงโม ซึ่งเป็นผลผลิตที่มีชื่อเสียงของพื้นที่อีกด้วย

­

          โดยสรุป สิ่งที่คาดหวังหลังการทำโครงการเสร็จสิ้นในเวลา 3 ปีของพื้นที่เกาะสุกร คือ พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับการปลูกบนเกาะ การเพิ่มพื้นที่นา และการปลูกพืชหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว


Ø พื้นที่บ้านในทอน: เป็นพื้นที่ที่เคยทำวิจัยกับ สกว. มาก่อน มีฐานทรัพยากรของชุมชน คือ ป่าชายเลนที่มากถึงหมื่นกว่าไร่ แต่หลังจากการให้สัมปทาน ป่าก็เริ่มเสื่อมโทรม  ช่วงหลังคนในชุมชนเริ่มไปทำงานที่อื่น  คนที่เคยใช้ประโยชน์กับป่าก็เปลี่ยนมาเป็นคนอนุรักษ์ป่า ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ต่างจากอดีตมากพอสมควร  มีการนำเรื่องพิพิธภัณฑ์  แต่ชาวบ้านยังไม่พร้อม จึงเริ่มโครงการเกี่ยวกับการจัดการชุมชน  ซึ่งคนในพื้นที่ยังมีความกังวลเรื่องการสนับสนุนให้คนในชุมชนมาเรียนรู้ร่วม กัน โดยความฝันของทีมวิจัยชุมชน คือ อยากมีกระชังทำสาหร่าย แต่สร้างไม่ได้ เพราะไม่มีทุน ทั้งๆ ที่ในชุมชนมีทรัพยากร มีความรู้ มีของที่นำมาใช้ได้อยู่แล้ว นั่นคือ อยาก ยาก ้างการเรียนรู้ผ่าน่งน้ำจืด ่นหลังซึ่งไม่ค่อยทำนาขายให้กับคนนอกพื้นที่“สร้างการเรียนรู้ผ่านกระชังลอยน้ำ” โดยเฉพาะการสนับสนุนให้วัยรุ่นในชุมชนที่ยังมีปัญหาเรื่องยาเสพติดเข้ามา ร่วมด้วยเพื่อลดปัญหาการมั่วสุม  ทั้งนี้จุดเด่นของบ้านในทอนมี “สาหร่ายขนนก” อยู่ มาก ซึ่งมีข้อมูลว่าอาจารย์ที่ราชภัฎภูเก็ตทำการศึกษาเรื่องนี้มีการแปรรูปด้วย  จึงคาดว่าจะได้ไปเรียนรู้กับทีมอาจารย์ที่ราชภัฎภูเก็ตด้วยในอนาคต

­

Ø พื้นที่บ้านหาดยาว- เกาะลิบง: ชื่อหมู่บ้านในอดีต คนจะรู้จักในนาม “บ้านเจ้าไหม”  หลังพ.ศ. 2540 เป็นต้นมาจึงรู้จักชื่อบ้านหาดยาว เนื่องจากกระแสการท่องเที่ยวเข้ามา เพราะหาดยาวมีลักษณะเป็นประตูสู่ทะเลอันดามัน จึงมีการสร้างท่าเรือการท่องเที่ยวบริเวณนั้น คนจึงมาท่องเที่ยวกันมาก อย่างไรก็ตามคนหาดยาวมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวน้อยมาก โดยจะมีเฉพาะคนที่มีเรือหางยาวเท่านั้นที่เข้ามาได้  ทางด้านอาชีพนั้น คนในชุมชนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ชายจะทำประมง ส่วนแม่บ้านและหนุ่มสาวจะค่อนข้างมีเวลาว่าง  แต่ก็มีการแปรรูปสัตว์น้ำกันอยู่เพียงแต่ขณะนี้ยังต่างคนต่างทำยังไม่เป็น กลุ่มมากนัก ซึ่งหากมีการบริหารจัดการกลุ่มที่เป็นระบบ ขึ้นก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน  ทั้งนี้จุดแข็งของพื้นที่ คือ มีวัตถุดิบมาก ผู้ใหญ่บ้านทำแพปลา พร้อมที่จะให้การสนับสนุน ดึงวัตถุดิบจากโรงงานอุตสาหกรรมมาให้ได้ นอกจากนี้ยังเป็นทางผ่านที่นักท่องเที่ยวเข้ามาได้หลายหมื่นคน/ปี หรือในช่วงเทศกาลจะมีมากถึงแสนคน เนื่องจากมีท่าเรือท่องเที่ยวที่คนมาใช้บริการมาก บางช่วงมีเรือจากลังกาวีมาแวะด้วย และในอนาคตจะใช้ท่าหาดยาวเป็นท่าท่องเที่ยวเชื่อมอันดามันเหนือและใต้  ดังนั้น อาจมีการพัฒนาอาชีพของกลุ่มแม่บ้านในเรื่องการแปรรูปสัตว์น้ำ  โดยเพิ่มความรู้และทักษะเรื่องการจัดการ

­

หลังการนำเสนอของจังหวัดตรัง  มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น และมูลนิธิสยามกัมมาจล ได้แลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะโดย คุณชีวัน  ตั้ง ข้อสังเกตว่าส่วนใหญ่ทั้ง 3 ชุมชน เป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องอาชีพ ทั้งเรื่องการทำนาที่เกาะสุกร การเลี้ยงสาหร่ายในกระชังที่บ้านในทอน หรือการแปรรูปสัตว์น้ำที่บ้านหาดยาว  ดังนั้น สรุปได้ว่าพื้นที่ตรังเน้นไปที่ประเด็นเรื่องอาชีพเป็นหลัก ซึ่งอาจารย์ปาริชาติ มองว่าเรื่องทรัพยากรเป็นฐานชีวิตที่สำคัญ ที่เลี่ยงไม่พ้น แต่ต้องใช้ข้อมูลที่มีชุดความรู้พอสมควร และต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ โดยจะเริ่มจากจุดไหนก่อนที่ทำให้ชุมชนเชื่อมงานได้มากขึ้น จุดไหนที่ทำแล้วขยายไปเรื่องอื่นๆ ได้ สอดคล้องกับที่ คุณปิยาภรณ์  มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล ชวนทุกพื้นที่ตั้งคำถามให้ครอบคลุมดังที่อาจารย์ปาริชาติ พูด คือ “หาอะไรที่เป็นโจทย์ใหญ่ที่คลุมทุกเรื่อง” หรือ “จุดคานงัด” ของทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน กล่าวคือ การขับเคลื่อนงานในพื้นที่นั้น อาจมีหลายประเด็นที่ต้องแก้ไปพร้อมๆ กัน แต่ก็ต้องดูว่าเรื่องไหนสำคัญที่สุดที่จะคลุมทุกเรื่องได้ ถ้าโครงการนี้วาดภาพได้ชัดเจนก็จะเห็นหมากทั้งกระดาน คนในชุมชนก็จะเห็นภาพ และร่วมกันแก้ไข ตลอดจนเห็นขั้นตอนการแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง ซึ่งหากทำได้ก็จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และมีแผนชุมชนขึ้นมาด้วย เนื่องจากปัจจุบันทุกสิ่งในชุมชนเกี่ยวพันกันหมด สำคัญที่โครงการจะพาให้ชาวบ้านเห็นภาพเหล่านี้ได้ไหม?

­

หลัง การนำเสนอความเคลื่อนไหว-สถานการณ์พื้นที่ตรัง ได้มีการแบ่งทีมลงพื้นที่บ้านหลอมปืน และบุโบย โดยออกเดินทางจากที่พักพร้อมกันในเวลา 12.30 น. (รับประทานอาหารในชุมชน) จากนั้นในเวลา 18.00 น. ได้มีการกลับมาสรุปการลงพื้นที่ร่วมกันอีกครั้ง โดยให้คนที่ไปร่วมในแต่ละพื้นที่เล่าถึงสิ่งที่ได้ไปเรียนรู้ หรือ เห็นในพื้นที่ สรุปได้ดังนี้

­

Ø สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบ้านบุโบย: ทีมหลักที่ไปคุยเป็นกลุ่มแม่บ้าน มีการเคลื่อนประเด็นการจัดการทรัพยากร และมองมิติในเรื่องอาชีพด้วย (องค์ประกอบในเวทีมีทั้งโต๊ะอิหม่าม และกลุ่มแม่บ้าน) ซึ่งส่วนใหญ่คนที่ไปเรียนรู้ในพื้นที่บ้านบุโบยสะท้อนในเรื่องบทบาทของ ผู้หญิงที่จะลุกมาทำงานเรื่องทรัพยากรซึ่งมีไม่มากนัก และได้สัมผัสถึงความมั่นใจของทีมวิจัยชาวบ้านที่เป็นผู้เก็บข้อมูลเองจึงทำ ให้เขาค่อนข้างมั่นใจในการนำเสนอ เป็นการเห็นมิติกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการ “พาทำ” ของทีมพี่เลี้ยงสตูลภายใต้กระบวนการที่ว่า “การใช้ข้อมูลทำให้คนมั่นใจ” และการออกแบบกระบวนการที่ทำให้ชาวบ้านได้ “ทบทวนข้อมูลตัวเอง” ซึ่งเขาไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องเสียเวลา แต่กลับทำให้เขาได้รู้ในสิ่งใกล้ตัวที่ไม่เคยคิดจะศึกษามากขึ้น นั่นคือ แม้ตอนนี้ชาวบ้านอาจจะยังบอกประเด็นที่เขาจะทำไม่ได้ แต่เขาบอกว่า “เขารู้มากขึ้น”


  ส่วนเนื้อหาในเรื่องของการทำโป๊ะนั้น มีจุดสำคัญที่ทำให้พบว่า ไม่เพียงเฉพาะคนทำโป๊ะเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ แต่ยังสามารถเชื่อมคนทำงานภาคการเกษตรเข้ามาร่วมขายผลผลิตทางการเกษตรในตลาด นัดชุมชนช่วงเวลาที่เขาทำโป๊ะได้ด้วย เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เชื่อมคนอาชีพต่างๆ มารวมกันช่วงหนึ่ง แต่บางคนก็ยังเกิดคำถามในเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนว่าจะมีมากน้อยแค่ไหน? เนื่องจากคนที่มีอาชีพทำโป๊ะก็ยังเป็นเพียงกลุ่มหนึ่งไม่ใช่ทั้งหมดในชุมชน ในขณะที่บางคนมองเรื่องโป๊ะว่า เป็นทั้งเรื่องของ ”วิถี” และ “ความขัดแย้ง” และดูเหมือนคำตอบในบางเรื่องก็ยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าการทำโป๊ะเป็นสิ่งที่ดี หรือไม่ดีต่อส่วนรวม? ซึ่งทีมพี่เลี้ยงคงต้องไปสร้างกระบวนการที่ทำให้เขาได้ทบทวนในมุมอื่นๆ ต่อไป

­

  ทั้งนี้ คุณปิยาภรณ์ กล่าวถึงภาพรวมที่เหมือนกันทั้งของจังหวัดตรัง และสตูลว่า เนื่องจากยังทำไม่เสร็จก็จะเห็นตัวที่เรียกว่า “Missing link” ของทั้ง 2 จังหวัด กล่าวคือ ความสัมพันธ์เชื่อมโยงในภาพรวมของพื้นที่บางส่วนยังขาดหายไป เสมือนกับมองไม่เห็นป่าทั้งป่า จึงยังไม่เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของต้นไม้ใหญ่-เล็กในป่า หรือเปรียบเสมือนการยิงธนูที่ยิงโดนเป้าแล้วแต่ไม่โดนจุดตรงกลาง (กระแทกแล้วแต่ยังไม่กระเทือนทั้งหมด) ซึ่งในโครงการนี้ให้ความสำคัญกับบทบาทตัวเองในฐานะพี่เลี้ยง  ดังนั้น จะทำอย่างไรให้เจ้าของเรื่องคือชุมชนเห็นภาพเดียวกับที่เราเห็นด้วย นั่นคือ ระหว่างที่เคลื่อนงาน จะทำอย่างไรให้ทั้งแกนนำและคนในชุมชนเก่งขึ้น ตลอดจนมีคนกลุ่มหนึ่ง หรือคณะหนึ่งลุกขึ้นมาแก้ปัญหาชุมชน ตั้งรับการเปลี่ยนแปลงที่เราเรียกว่ากลไกนั่นเอง ดังนั้น ข้อมูลที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ และในช่วงท้าย อาจารย์ปาริชาติ ชวน มองว่า ชุมชนกับหมู่บ้านไม่ได้เป็นความหมายเดียวกันเสมอไป คำถามที่ว่าคนทั้งหมู่บ้านจะมีสักเท่าไหร่? ถ้าเขาไม่สนใจก็อาจไม่ได้เกาะเกี่ยวก็ได้ อาจไม่ต้องเห็นด้วยกันทั้งหมด ส่วนสิ่งที่คุณปิยาภรณ์พูดไว้ ทำให้เห็นชัดเจนว่าไม่จำเป็นต้องคิดถึงจุดหมายปลายทางเสมอไป จุดหมายระหว่างทางก็สำคัญ

­

Ø สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบ้านหลอมปืน: ในช่วงแรกมีการเล่าประวัติชุมชนซึ่งระบุว่าชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ทำประมง แต่มีเพียง 40% นอกนั้นทำอาชีพอื่น และประเด็นที่พูดถึงคือ เขามีความต้องการนำพื้นที่ราชพัสดุมาทำเป็นรีสอร์ทชุมชน แต่ตอนนี้ก็ยังมีปัญหาอยู่ โดยสิ่งที่ผู้ใหญ่บ้านสื่อสาร คือ ความพยายามในการฟื้นคืนผืนป่าชายเลนที่มีการลงมือปลูกกันมายาวนานกว่าสิบปี ซึ่งปัจจุบันคณะทำงานหลักเป็นผู้ชายในทีมชุด ชรบ.ทั้งหมด แต่ในเวทีมีแกนนำหลักๆ เพียง 2 คนที่พูดมากกว่าคนอื่นๆ อย่างไรก็ตามพอลงไปเรียนรู้ในพื้นที่ป่าชายเลน พบว่า คนอื่นๆ ก็แลกเปลี่ยนพูดคุยด้วยได้ จึงมองว่าศักยภาพท่านอื่นก็มีอยู่ ดังนั้น การพัฒนาแกนนำท่านอื่นจึงอยู่ที่พี่เลี้ยงจะหาแนวทางพัฒนาต่อไป

­

  อาจารย์ปาริชาติ ตั้งข้อสังเกตว่า การบอกเล่าของทีม พบว่า เขามีประสบการณ์ทำงานกับโครงการอื่นๆ มาก่อน และค่อนข้างมีความรู้ในการทำโครงการมาก แต่ครั้งนี้เขาพยายามที่จะพัฒนาคน และได้แบ่งทีมทำงานเป็น 3 ทีม คือ ผู้นำ-นักกิจกรรม และชาวบ้านทั่วไป..แต่รู้สึกว่าตอนนี้เขาก็ยังเป็นนักกิจกรรมอยู่ เพราะลงมือปลูกป่ามากับมือยาวนานมากแต่ยังไม่มีการบันทึกความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น เนื่องจากบอกว่าบันทึกไม่เก่ง จึงพยายามชวนบันทึกด้วยวิธีอื่นทั้งการวาดภาพ และให้เด็กมาช่วย..ดังนั้น มองว่าน่าจะตั้งคำถามกับชาวบ้านให้เห็นความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการฟื้นคืนป่า นอก จากนี้ในเวทีที่เขาคุยเรื่องข้อมูล เขาก็เริ่มสับสนว่ามีข้อมูลจำนวนมาก และจะโยงอย่างไร? ทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ ทรัพยากร ฯลฯ ดังนั้น พี่เลี้ยงอาจต้องไปช่วยเขาในเรื่องการใช้ประโยชน์จากข้อมูล และการบันทึกข้อมูลต่างๆ ให้เป็นระบบมากขึ้น เพราะตอนนี้เขามีข้อมูลมากพอสมควรแล้ว น่าจะพัฒนาต่อเรื่องการใช้ประโยชน์มากกว่าในขณะเดียวกันในพื้นที่เองก็มี ความน่าสนใจที่เขามองเห็นความสำคัญเรื่องการพัฒนาคนมากกว่าการทำโครงการ

­

คุณปิยาภรณ์ เสนอให้ทำเรื่อง “การจัดการฐานข้อมูลชุมชน” โดยมองไปในอนาคตว่าไม่ว่าจะมีหน่วยงาน หรือ คนกลุ่มใดเข้ามาในพื้นที่ก็ถือว่าเป็นแขก แต่ตัวพื้นที่ควรจะเป็นเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าใครจะพาเราทำอะไร ข้อมูลเหล่านั้นก็ต้องเพิ่มขึ้นและเอามาสัมพันธ์กับข้อมูลเดิม ซึ่งถ้าพื้นที่ไหนมีแล้วก็ดี แต่ควรมีวิธีการเอาข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้จริงด้วย และได้แลกเปลี่ยนความรู้สึกว่าการพูดคุยในวงแลกเปลี่ยนแบบนี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยยกระดับความคิด ซึ่งอยากเสนอว่าวงแบบนี้ นอกจากพูดว่าเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่แล้ว ควรมีการช่วยกันวิเคราะห์ต่อด้วยว่า ทำไม (why) หรือ value เพื่อให้เห็นภาพว่าเราไม่ได้ลงไปทำเอง แต่เป็นผู้ช่วยยกระดับชาวบ้านขึ้นมา เวทีแบบนี้จะช่วยทำให้น้องใหม่เก่งเร็ว เพราะเป็นเวทีที่พี่เลี้ยงได้ไปเรียนรู้ด้วย

­

วันที่ 7 กันยายน 2555  มีการนำเสนอ ความเคลื่อนไหว-สถานการณ์พื้นที่ของจังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล (จังหวัดสตูลนำเสนอเฉพาะพื้นที่ที่เหลือ เนื่องจากมีการลงไปเรียนรู้ในพื้นที่เมื่อวันที่ 6 ก.ย. แล้ว 2 พื้นที่) และแลกเปลี่ยนปรากฎการณ์-เป้าหมายที่วางไว้ร่วมกันก่อนที่จะกลับไปทำงาน ต่อ..พร้อมทั้งนัดหมายกิจกรรมในครั้งต่อไป รวมทั้งชี้แจงเรื่องกรอบการเขียนรายงาน และก่อนปิดเวทีได้มีการสรุป-สะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

­

Ø ความเคลื่อนไหว-สถานการณ์พื้นที่จังหวัดระนอง นำโดย คุณณัฐกานต์ ไท้สุวรรณ  ผู้ ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.) จังหวัดระนอง พร้อมด้วยทีมพี่เลี้ยงและทีมชุมชนช่วยเล่ารายละเอียดในแต่ละพื้นที่ สรุปได้ดังนี้...(ให้ดูวีดีโอประมวลภาพรวมการทำงานโครงการฯ สึนามิในช่วงที่ผ่านมา ก่อนนำเสนอรายละเอียดเชิงพื้นที่..): ในช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีการจัดเวทีสัญจรครั้งที่ 1 ที่ทางพี่น้องเครือข่ายได้ลงพื้นที่ไปช่วยเติมเต็มและฒนาตัวพี่เลี้ยง โดยฐานพื้นที่ที่ลงไปเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนั้นคือ บ้านทะเลนอก และบ้านกำพวน โดยปัจจุบันทางระนองมี 3 พื้นที่ เป็นพื้นที่ที่ผ่านกระบวนการวิจัย CBR ทั้งหมด ได้แก่

­

§  บ้านทะเลนอก: ถือเป็นรากเหง้าชุมชนของตำบลกำพวนทั้งหมด เป็นหมู่บ้านแรกๆ ที่เข้ามาบุกเบิกในพื้นที่ตำบลกำพวน โดยปัจจุบันมีกลุ่มท่องเที่ยวอยู่แล้ว ดังนั้นพอมีโครงการฯ สึนามิเข้ามาก็ได้ไปชวนกลุ่มนี้คุย ซึ่งปัญหาที่เขาตอบชัดเจนในตอนแรก คือ เรื่องภาษาอังกฤษ เพราะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ภาษาจึงเป็นเรื่องแรกที่เขาสะท้อนความต้องการ แต่หลังจากที่เครือข่ายพี่เลี้ยงลงไปตั้งคำถามในเวทีสัญจรครั้งที่ 1 ก็ทำให้เขาฉุกคิด และไม่พูดเรื่องภาษากันอีกเลย แต่กลับกลายเป็นสะท้อนเรื่องที่เขารู้เรื่องชุมชนตัวเองน้อยมาก มีจุดต่างๆ ที่เขาคิดว่าเขาต้องศึกษาเรื่องของเขาก่อน..จากที่เขาเริ่ม เปลี่ยนความคิดว่าต้องกลับมาศึกษาชุมชนก่อน ทำให้พี่เลี้ยงได้ชวนเขาพัฒนาเป็นโครงการขนาดเล็กขึ้นมาเพื่อให้เห็นแผนขนาด เล็กที่จะใช้จัดทำข้อมูลพื้นฐาน โดยเขาได้ออกแบบแผนขนาดเล็กที่จะศึกษาไว้หลายเรื่อง เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน ความเชื่อ ภูมิปัญญา ทรัพยากรชุมชน เป็นต้น

­

  ทั้งนี้กิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว คือ การสำรวจประวัติศาสตร์ ความเชื่อ ซึ่งได้ไปชวนเขาวิเคราะห์ แต่เขาสะท้อนว่ายังเก็บข้อมูลไม่หมด ทั้งเรื่องทรัพยากร ฯลฯ จึงชวนทบทวนวิธีการที่เราจะไปเก็บ โดยกระบวนการอีกอันที่ทีมทำอยู่ คือ ชวนทีมวิจัยต่างพื้นที่มาแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งครั้งนั้นได้ชวน คุณฝ้าลีห๊ะ ผดุงชาติ (จ๊ะสาว) บ้านบางกล้วยนอกผู้มีประสบการณ์ในการเขียนประวัติศาสตร์ชุมชนลงผ้าบาติค ไปแลกเปลี่ยน ทำให้บ้านทะเลนอกสนใจเพราะเขาก็ทำผ้าบาติคได้อยู่แล้ว จึงมองเลยไปอีกว่าถ้าทำเรื่องนี้ก็จะไปตอบโจทย์เรื่องการท่องเที่ยวได้ด้วย ล่าสุดเขานัดกันในวันที่ 8 ก.ย. 2555 เพื่อไปดูจุดต่างๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของบ้านทะเลนอกว่าอยู่จุดไหนบ้าง? หลังจากนั้นก็จะไปพัฒนาทำเป็นแผนผ้าบาติคต่อไป ทั้งนี้การขยับงานของบ้านทะเลนอกอาจจะช้ากว่า บ้านกำพวน และ บางกล้วยนอก เนื่องจากต้องสร้างคนก่อนขยับงาน

­

§  บ้านกำพวน: เป็นพื้นที่ที่ทำวิจัยมาแล้ว และมีบทเรียนว่าถ้าเราจับกลุ่มอาชีพ การดึงการมีส่วนร่วมของคนค่อนข้างน้อย แต่ในฐานของกองทุนวันละหนึ่งบาทเพื่อเด็กกำพร้าไม่ค่อยมีใครปฏิเสธ คนทำงานในกลุ่มนี้มาจากฐานกลุ่มสตรีที่ขับเคลื่อนจากทุนกองทุนโลกในการขยับ กับเด็กกำพร้าที่ติดเชื้อ โดยใช้หลักศาสนาที่สอนเรื่อง “การให้และรับอย่างมีความสุข” ซึ่ง เป็นฐานจิตใจที่ละเอียดอ่อนมาขยับงาน ทั้งนี้กลุ่มดังกล่าวมีบทเรียนในการทำงานกับกลุ่มผู้นำทางศาสนาค่อนข้างมาก เนื่องจากการยอมรับในชุมชนมุสลิมที่จะให้ผู้หญิงลุกขึ้นมาเคลื่อนงานชุมชน นั้นมีน้อย..การพัฒนากองทุนจึงเน้นไปที่ คน-จิตใจ-และกองทุนที่เติบโตไปพร้อมๆ กัน กล่าวคือ ค่อนข้างปักธงไปในเรื่อง “การจัดการกองทุนเพื่อพัฒนาจิตใจ” ส่วนรูปแบบกระบวนการก็ คล้ายกับบ้านทะเลนอก คือ เคลื่อนจากแผนเล็กไปสู่แผนใหญ่ ตอนนี้กิจกรรมที่ทำไปแล้ว คือ การเอาแกนนำรุ่นใหม่มาเรียนรู้เรื่องกองทุนซึ่งจะมีการถอดบทเรียนการทำงาน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ