โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ
โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีพิจารณาข้อเสนอโครงการ “สร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ” ครั้งที่ 1
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการระดับพื้นที่ภายใต้ชุดโครงการสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิให้มีความชัดเจนสมบูรณ์ 

ผู้ร่วมประชุม

ทีมมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทีมพี่เลี้ยงจังหวัด และทีมชุมชน รวม 24 คน

วัตถุประสงค์

- เรียนรู้การออกแบบกระบวนการและวิเคราะห์ชุมชนร่วมกันจากการลงพื้นที่จริง

- แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเครื่องมือการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม

พื้นที่การเรียนรู้

- หมู่บ้านบางกล้วยนอก ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง

- หมู่บ้านกำพวน ต. กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการที่เข้าพิจารณา

1)  โครงการ แนวทางการพัฒนาสวัสดิการชุมชน “กองทุนวันละบาท” นำเสนอโดยคุณณัฐกานต์  ไท้สุวรรณ

ข้อเสนอแนะต่อโครงการ

  • ประเด็นสำคัญคือการมองเรื่องของการยกระดับสวัสดิการที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นได้อย่างไร เช่น การทำงานผ่านกลไกทางศาสนาที่มีอยู่ ได้แก่ มัสยิด  ผู้นำทางศาสนา บนฐานการทำงานของ 6 หมู่บ้าน โดยอยากทดสอบดูว่าการทำงานในมิติของการให้ที่ทำผ่านกลไกทางศาสนาจะทำได้โดยผ่านฐานงานชุมชน และในส่วนของการสร้างคนรุ่นใหม่ ซึ่งมองไปในกลุ่มของผู้ที่เคยเป็นผู้รับทุน ที่จะต้องกลับมาเป็นผู้ให้ในวันข้างหน้า  ซึ่งกระบวนการการทำให้ผู้รับกลับมาเป็นผู้ให้นั้นน่าสนใจ  และในเวทีก็ได้ให้ข้อเสนอแนะในเชิงวิธีการที่มองมิติของการให้ที่มากไปกว่าเรื่องของเงิน มองว่าตัวกองทุนเป็นเพียงแค่เครื่องมือในการขับเคลื่อนงาน

2)  โครงการ กระบวนการผลิตน้ำปลา  โดยใช้ข้อมูลความรู้เป็นฐานเพื่อสร้างอาชีพทางเลือกของชุมชนบ้านบางกล้วยนอก  นำเสนอโดยคุณณัฐกานต์  ไท้สุวรรณ

ข้อเสนอแนะต่อโครงการ

  • เน้นเรื่องการผลิตน้ำปลาที่เชื่อมโยงกับเรื่องการจัดการทรัพยากร  การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน โดยเริ่มจากการทำน้ำปลาในระดับครัวเรือนก่อน ก่อเกิดการเชื่อมความสัมพันธ์ในระดับชุมชน  และเชื่อมโยงกับเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง

3)  โครงการ ชุมชนจัดการตนเองเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน  จังหวัดตรัง นำเสอนโดยคุณมานพ  ช่วยอินทร์

ข้อเสนอแนะต่อโครงการ

  • เรื่องของการใช้ประโยชน์จากที่ดิน คนในพื้นที่มีเทคนิค ทักษะใหม่ๆ ในการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่คุ้มค่า เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตในการทำนา ที่พัฒนาไปจากการทำนาแบบเดิมๆ ได้อย่างไรบ้าง
  • โครงการน่าจะเน้นไปที่เรื่องการฟื้นฟูทางด้านการเกษตร สำหรับการขยับเรื่องประเด็นการท่องเที่ยวบนเกาะสุกรนั้น ยังไม่ค่อยแน่ใจนักในเรื่องจุดขายของชุมชน เพราะมีแค่เรื่องแตงโม กับการทำนาเท่านั้น จะเพียงพอต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในชุมชนได้มากน้อย อย่างไร
  • เรื่องการทำโฮมสเตย์ ต้องทำความเข้าใจให้มากเพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการต่างๆ ถ้าไม่รู้จริงชุมชนก็จะได้รับผลกระทบ เพราะชาวบ้านไม่ได้มีประสบการณ์เรื่องการบริการ หากมีการจัดการที่ไม่ดีก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งในชุมชนได้ ที่ผ่านมาวิถีชีวิตชาวบ้านอยู่กับเรื่องการทำเกษตรมากกว่าการทำเรื่องท่องเที่ยว ดังนั้นประเด็นสำคัญคือการปรับเปลี่ยนความรู้ทักษะให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในชุมชนให้ได้
  • สิ่งสำคัญคือ เรื่องการพัฒนาเทคนิควิธีการใหม่ที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ (อยากกลับมาทำเกษตร แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากเหนื่อยหรือลำบากมาก) ดึงเอาเหตุผลมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อการกลับมาทำเกษตรในชุมชน (เพื่อแสดงให้เห็นคุณค่าต่อการทำเกษตร)
  • ประเด็นการพัฒนาศักยภาพของคนรุ่นใหม่ ที่น่าจะมีการนำเอาคนรุ่นใหม่ที่กลับมาทำเกษตรจากพื้นที่เกาะสุกร ไปแลกเปลี่ยนกับคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดเดียวกันในพื้นที่อื่นๆ หรือข้ามไปภาคอื่นๆ ด้วย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการกลับมาทำงานเพื่อท้องถิ่นบ้านเกิด

4)  โครงการ การจัดการบริเวณพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ยสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศน์ บ้านหลอมปืน หมู่ 14 ตำบลละงู จังหวัดสตูล  นำเสนอโดยคุณสมพงษ์  หลีเคราะห์

ข้อเสนอแนะต่อโครงการ

  • โจทย์สำคัญของโครงการคือ การจัดการพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย ในมิติของการจัดการทรัพยากร กติกาชุมชน การสร้างแหล่งเรียนรู้ การบริหารจัดการกลุ่ม ซึ่งน่าจะมีการกำหนดระยะเวลาในการทดลองกิจกรรมภายใต้ 4 มิติ โดยออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับระยะเวลาและกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มที่มาเข้าค่าย กับกลุ่มที่มาตามเทศกาล 
  • การนำเอาเด็กหลังห้องมาอบรม และมีการให้บทบาทแก่เด็กจะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจแล้วเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (เยาวชนรู้สึกมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน) ซึ่งน่าสนใจหากจะนำมาร่วมเป็นทีมวิจัยได้

5)  โครงการ ศึกษาและพัฒนาวิธีปลูกพืชปลอดสารพิษสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล  นำเสนอโดยคุณสมพงษ์  หลีเคราะห์

ข้อเสนอแนะต่อโครงการ

  • โครงการนี้อยากจะพัฒนาการเพาะปลูกพืชให้เป็นการเพาะปลูกพืชปลอดภัย  และในอนาคตอาจจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro - Tourism) ซึ่งขอยกตัวอย่างให้เห็นจากโครงการผักประสานใจ อำเภอด่านช้าง สุพรรณบุรี ที่เราน่าจะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเชิงกระบวนการและวิธีคิดได้
  • หลักการและเหตุผลของโครงการให้ชัด ว่าการทำการเกษตรอินทรีย์เกี่ยวพันกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างไร
  • ความชัดเจนของกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาร่วมทดลองในการทำงาน ว่ามีจำนวนคนที่เข้ามาร่วมเท่าไหร่  และระดับในการเข้ามาร่วมเป็นอย่างไร
  • การทำความเข้าใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ให้ชัดเจน แล้วค่อยๆ ทำ เมื่อก่อตัวได้ค่อยคิดเรื่องการขยายผล ในเบื้องต้นอาจจะเริ่มจากการบริโภคในชุมชนและขายกับแหล่งในชุมชนก่อน เช่น โรงพยาบาลในชุมชน หรือกลุ่มที่บริโภคผักปลอดสารพิษ

­

ข้อเสนอแนะต่อภาพรวมของโครงการทั้ง 3 พื้นที่

  • งานที่ทำจะต้องเชื่อมโยงไปกับประเด็นเรื่องชุมชนจัดการตัวเอง ทั้งในเรื่องของวิธีคิดและวิธีทำ (ต้องนำเสนอให้เห็นความเข้าใจของชุมชน ที่จะพัฒนาไปสู่การมีความคิดและทักษะที่จะนำไปสู่ความสามารถในการจัดการตัวเองได้)
  • สถานภาพของชุมชนในเรื่องการจัดการตัวเองของแต่ละโครงการเป็นอย่างไร (ซึ่งระดับอาจจะแตกต่างกัน) จะได้รู้และเข้าใจว่าทำไมชุมชนจึงเลือกที่จะทำงานในประเด็นนี้

­

­


"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ