
การให้ความสำคัญกับการหันกลับมามองฐานของชุมชนที่มีอยู่ สามารถบอกความต้องการที่แท้จริงของชุมชนตนเองได้โดยไม่ได้เป็นฝ่ายรอรับความ ช่วยเหลือเท่านั้น สำคัญที่สุดคือการพึ่งพาตัวเองของชุมชนอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต...
..ประชุมทำความเข้าใจโครงการ..
วันที่ 12-13 มิถุนายน 2555
ณ ร้านมิตรสัมพันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
ผู้ร่วมประชุม
ทีมมูลนิธฺสยามกัมมาจล ทีมมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น และทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่ รวม 17 คน
วัตถุประสงค์
- เพื่อทบทวนเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน
- เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกัน
โครงการ “สร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ” เป็นการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคใต้ (สตูล ตรัง ระนอง) โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้การสนับสนุนทุนการดำเนินงานจากมูล นิธิสยามกัมมาจล และธนาคารไทยพาณิชย์ โดยการประชุมทำความเข้าใจโครงการในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่คณะทำงานทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ มูลนิธิสยามกัมมาจล- มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น และศูนย์ประสานวิจัยเพื่อท้องถิ่นทั้ง 3 จังหวัดมาพบปะเพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของโครงการ ตลอดจนแลกเปลี่ยนทิศทางในการดำเนินงานร่วมกันต่อไป..
สรุปเนื้อหาในการประชุมได้ดังนี้..
คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร กรรมการ เลขานุการ และผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าว ว่าเงินทุนสนับสนุนการทำงานโครงการดังกล่าวเป็นเงินที่ประชาชนนำมาบริจาคให้ ผู้ประสบภัยพิบัติซึ่งที่ผ่านมาทางธนาคารได้นำเงินบริจาคก้อนนี้ไปช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยในระยะแรกจบไปแล้ว ยังมีเงินบริจาคเหลือ และไม่สามารถนำไปใช้ในด้านอื่นได้ เนื่องจากเป็นเงินที่ผู้บริจาคมีความประสงค์มอบให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติ คลื่นยักษ์สึนามิเท่านั้น ดังนั้น เงินจำนวนนี้จึงต้องถึงพื้นที่ แต่เนื่องจากในขณะนี้เหตุการณ์ด้านภัยพิบัติดังกล่าวได้ผ่านพ้นไปหลายปีแล้ว ทางมูลนิธิสยามกัมมาจลมองว่าจะใช้เงินบริจาคที่เหลือให้เป็นประโยชน์แก่ ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถลุกขึ้นมา จัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน จึงได้มอบเงินทุนก้อนดังกล่าวให้มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่นซึ่งมี ประสบการณ์ในการทำงานด้านกระบวนการมีส่วนร่วมภายใต้วัตถุประสงค์ คือ มีกระบวนการที่สามารถทำให้ชุมชนคิดเป็น พึ่งตัวเองและประสานกับหน่วยงานข้างนอกได้โดยไม่ได้รอคอยแต่ความช่วยเหลือ เพียงอย่างเดียว กล่าวโดยสรุปคือเป็นการให้ความสำคัญกับการหันกลับมามองฐานของชุมชนที่มีอยู่ ซึ่งพวกเขาสามารถบอกความต้องการที่แท้จริงของชุมชนตนเองได้โดยไม่ได้เป็น ฝ่ายรอรับความช่วยเหลือเท่านั้น สำคัญที่สุดคือการพึ่งพาตัวเองของชุมชนอย่างยั่งยืนได้ในอนาคตนั่นเอง..
คุณชีวัน ขันธรรม ผู้จัดการมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น ชี้
แจงความเป็นมาในการจัดประชุมครั้งนี้ว่า
ปัจจุบันงานที่พัฒนาร่วมกันมามีความชัดเจนมากขึ้นซึ่งได้นำเสนอโครงการให้
บอร์ดของมูลนิธิสยามกัมมาจลรับทราบเมื่อเดือนมีนาคม 2555 ที่ผ่านมา
จนกระทั่งขณะนี้โครงการผ่านการอนุมัติเซ็นสัญญาแล้ว
โดยทางมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่นสามารถเริ่มทำงานได้ตั้งแต่วันที่ 1
มิถุนายน 2555 ซึ่งจะแบ่งการทำงานเป็น 2 ระยะภายในเวลา 3 ปี คือ ระยะที่ 1
ใช้เวลาในการทำงานประมาณ 18 เดือน
หรือหนึ่งปีครึ่งเพื่อค้นหาโจทย์/ประเด็นการทำงาน
และแกนนำในพื้นที่ที่จะเข้ามาร่วมขับเคลื่อนงานโครงการให้เกิดรูปธรรมในเชิง
พื้นที่ต้นแบบด้านการบริหารจัดการชุมชน จากนั้นในระยะเวลาที่เหลืออีก 18
เดือนในอนาคตจะเป็นการขยายผลความรู้ในการทำงานจากพื้นที่เดิมไปยังพื้นที่
ชุมชนอื่นให้มากขึ้น ซึ่งเวทีครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมแรกของโครงการ
มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนเป้าหมายการทำงานให้เข้าใจชัดเจนตรงกันอีกครั้ง
ก่อนเริ่มดำเนินงาน ทั้งนี้ ที่ปรึกษาหลายท่านโดยเฉพาะ ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง
ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ได้ให้ความสำคัญกับงานนี้เป็นลำดับแรก
จึงอยากให้ลงมาขับเคลื่อนในพื้นที่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในช่วง 4-6
เดือนแรก วันนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ทางมูลนิธิสยามกัมมาจล คือ คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร และ คุณรัตนา กิติกร ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนด้วย
จากนั้น คุณชีวัน ขันธรรม ได้นำเสนอรายละเอียดภาพรวมของโครงการ ทั้งในส่วนของเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และข้อตกลงในการคัดเลือกพื้นที่การทำงานภายใต้โครงการดังกล่าวเพื่อให้การ ขับเคลื่อนงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในระยะเวลาที่กำหนด อาทิเช่น เป็นพื้นที่ที่มีทุนเดิม, เห็นแกนนำพื้นที่ หรือคนที่จะลงไปทำงานด้วย, ไม่มีความขัดแย้งรุนแรงที่จะเป็นอุปสรรคต่องาน โดยได้วางกลไกการทำงานเป็น 3 ระดับประกอบด้วย ทีมกลาง ทีมพื้นที่ (พี่เลี้ยงจังหวัด) และทีมชุมชน ซึ่งแต่ละระดับจะมีบทบาทหน้าที่ในการทำงานต่างกันแต่มีลักษณะในการหนุนเสริม การทำงานร่วมกัน กล่าวคือ ทีมกลางมีบทบาทหลักในการสนับสนุนการทำงานของทีมพื้นที่ซึ่งมีหน้าที่สนับ สนุนการดำเนินงานของชุมชนอีกระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้มีการวิเคราะห์ศักยภาพและ จุดอ่อนของพื้นที่เป้าหมายทั้ง 11 ชุมชน ใน 3 จังหวัด (สตูล ตรัง ระนอง) ซึ่งปัจจุบันได้มีการขับเคลื่อนงานในประเด็นหลัก 3 ประเด็น ได้แก่ การท่องเที่ยว การพัฒนาอาชีพและการเกษตร และ การจัดการทรัพยากร เป็นต้น
อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นการนำเสนอโดยใช้ข้อมูลเดิมที่มีการศึกษาในช่วงพัฒนา โครงการซึ่งหลายพื้นที่อาจมีความเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว หลังการนำเสนอภาพรวมการทำงานจึงได้เกิดการแลกเปลี่ยนกับผู้ประสานงานใน พื้นที่จังหวัดต่างๆ ทั้งในเรื่องเป้าหมายการทำงาน และทบทวนพื้นที่งานร่วมกัน พบว่ามีบางจังหวัดใช้พื้นที่ขับเคลื่อนงานในชุมชนเดิม ในขณะที่บางจังหวัดก็มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้า หมายโครงการและสถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้หลังการนำเสนอได้มีการหารือกันถึงการคัดเลือกพื้นที่ให้เหมาะสมกับ เป้าหมายร่วมในการขับเคลื่อนงานของโครงการ โดยพิจารณาจากคำสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในโครงการที่ได้แลกเปลี่ยนกันถึงความ หมายของคำบางคำเพื่อให้เข้าใจตรงกันไปในช่วงแรกก่อนตัดสินใจเลือกพื้นที่ ดำเนินงานเช่น คนถูกพัฒนา เกิดกลไกการจัดการในชุมชน และ ปัญหาได้รับการคลี่คลาย เป็น ต้น โดยในที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับการใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนความหมายภาย ใต้คำสำคัญดังกล่าวพอสมควร ซึ่งสามารถสรุปความหมายในประเด็นต่างๆ ที่แลกเปลี่ยนกันได้ดังนี้.
คนถูกพัฒนา หมายถึง การที่คนสามารถเห็นคุณค่าการใช้ “ความรู้” ในการทำงาน (นำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็น “ความรู้”), สามารถใช้ “ข้อมูล” และ “ฐานข้อมูล” ในกระบวนการตัดสินใจ และการใช้ประโยชน์, รู้จักเท่าทันต่อสถานการณ์ภายนอก และสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ภายในและภายนอกมาปรับใช้ให้ตอบโจทย์ของชุมชนได้, มีความสามารถในการเห็นภาพรวมของชุมชน, วิเคราะห์ “ทุนเดิม” และ “ปัญหา/ความต้องการ” ที่แท้จริงของชุมชน, สามารถออกแบบวิธีการทำงานใหม่ๆ และวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานได้, มีทักษะเพิ่มขึ้นในด้านพูด ฟัง เขียน จับประเด็น เชื่อมโยง, เป็น “นักจัดกระบวนการเรียนรู้”, สามารถพัฒนาให้เกิด “แกนนำรุ่นใหม่” (เป็นโค้ชได้), สามารถสื่อสารการทำงานกับภายนอกได้อย่างชัดเจนเป็นระบบ และเป็นคนขวนขวาย ใฝ่เรียนรู้ เป็นต้น
เกิดกลไกการจัดการในชุมชน
(ต้องดูกลไกเดิมที่มีอยู่แล้วในชุมชนด้วย) หมายถึง
การรวมกลุ่มของคนในชุมชน(ไม่ใช่คนทั้งชุมชน) ที่มีเป้าหมาย ความสนใจ
และโจทย์ร่วมกัน รวมทั้งมีกระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน,
มีระบบการจัดการ และหน้าที่ในการทำงาน (ที่ไม่เป็นทางการ)
รวมทั้งมีระบบการจัดการความรู้ (รู้จักเก็บและใช้ความรู้ได้),
เป็นกลไกที่สามารถดึงพลังของท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการได้
และเหมาะสมกับบริบทของตัวเอง,
มีความสามารถในการรับมือกับกระแสภายนอกที่เข้ามาในชุมชน,
มีความสามารถเชื่อมต่อกับคนกลุ่มอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้ และ
เป็นแกนในการดึงคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานได้ เป็นต้น
ปัญหาได้รับการคลี่คลาย หมาย
ถึง กระบวนการที่ใช้แก้ปัญหานั้นสามารถเป็น “นวัตกรรม”
การแก้ปัญหาในพื้นที่ได้, เห็นสิ่งที่เป็น OUTCOME ได้ชัดเจน
และมีโอกาสในการยกระดับสู่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้ เป็นต้น
จาก
การนิยามความหมายคำสำคัญภายใต้โครงการดังกล่าวร่วมกันทำให้ทุกคนมีความเข้า
ใจภาพรวมในการทำงานร่วมกันได้ชัดเจนตรงกันมากขึ้น
และเพื่อให้การทำงานครั้งนี้บรรลุเป้าหมายมากที่สุดจึงนำไปสู่การนำเสนอการ
ทำงานในรูปแบบใหม่โดยเป็นการประยุกต์มาจากกระบวนการในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
แบบเดิมแล้วเสริมด้วยการเน้นงานพัฒนาให้มากขึ้น
ซึ่งเรียกชื่อในเบื้องต้นว่า “กระบวนการ CBR ประยุกต์”
กล่าวคือ ลดระยะเวลาในช่วงการพัฒนาโครงการลง โดยให้เหลือเวลาประมาณ 4-6
เดือน
หลังจากนั้นให้เน้นงานเชิงพัฒนาควบคู่กับการถอดบทเรียนความรู้ในการทำงาน
เป็นการเสริมงานพัฒนาให้มากขึ้นกว่าเดิมที่จะเน้นงานวิจัยเป็นหลัก
แต่ในการทำงานก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการขับเคลื่อนงานพัฒนาบนฐานการใช้
ข้อมูล หรือความรู้
ซึ่งได้มีการหารือกันว่าภายใต้การร่นระยะเวลาดังกล่าวควรคัดเลือกเครื่องมือ
การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพมาประยุกต์ใช้เพื่อคุณภาพใน
การทำงานด้วย
ทั้งนี้ได้มีการวางจังหวะการทำงานร่วมกันในส่วนของทีมกลางและพื้นที่
โดยเฉพาะมีการให้ความสำคัญกับเรื่องการถอดบทเรียนการทำงานออกเป็น 2 ส่วน
คือ ส่วนเนื้อหา และ ส่วนกระบวนการทำงาน ซึ่งได้แบ่งระดับการทำงาน คือ
ทีมชุมชน ถอดความรู้ระดับกิจกรรม, ทีมพื้นที่ถอดความรู้ระดับจังหวัด
และทีมกลางถอดความรู้ในระดับภาพรวมอย่างไรก็ตาม
มีการทำงานเชื่อมโยงหนุนเสริมกันในทุกระดับอยู่เป็นระยะทั้งในการลงมาเรียน
รู้เชิงกิจกรรมในชุมชน และ
การอบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อหนุนเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ล่าสุดได้มีการกำหนดปฏิทินการทำงานในบางกิจกรรมร่วมกัน
โดยจะมีการลงพื้นที่วันที่ 11-13 ก.ค. 2555
ที่จังหวัดระนองเพื่อเรียนรู้การออกแบบกระบวนการทำงานร่วมกันในพื้นที่จริง
ช่วงท้ายของการประชุม คุณสุภาวดี ตันธนวัฒน์ ได้ชี้แจงเรื่องการบริหารจัดการโครงการ
โดยได้นำเสนอตัวอย่างแบบฟอร์มต่างๆ
ที่จะใช้ในเรื่องการบริหารจัดการทางบัญชีและการเงินของโครงการอธิบายต่อทีม
ทำงานพื้นที่พร้อมทั้งให้ดูตัวอย่างแบบฟอร์มการจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่าย
หรือ การเบิกจ่ายงบประมาณต่างๆ ในโครงการ รวมไปถึงการอธิบายคำสำคัญต่างๆ
ที่ต้องกรอกในแบบฟอร์มอย่างละเอียด
ซึ่งได้ปรับจากคู่มือบริหารจัดการระเบียบของทางมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้อง
ถิ่นมาใช้กับโครงการวิจัยในครั้งนี้
โดยในการการเปิดบัญชีขอให้เปิดบัญชีของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยมีคนเปิดบัญชี 3
คน สามารถลงนามเบิกจ่ายได้ 2 ใน 3 และต้องมีผู้ประสานงาน 1 คนเป็นหลัก
โดยในช่วงระยะเวลา 18 เดือนที่ทำโครงการร่วมกัน ทางมูลนิธิฯ
จะลงมาช่วยดูเอกสารการเงินให้เป็นระยะ
และหากมีข้อสงสัยก็สามารถหารือกันระหว่างทางได้ โดย ทุก 6
เดือนจะมีการส่งเอกสารการเงินพร้อมรายงานความก้าวหน้าโดยอธิบายว่ามูลนิธิ
สยามกัมมาจลจะเน้นการสรุปให้เห็นรายละเอียดเชิงกิจกรรม แต่ก็มีตัวสรุปรวม และคุณชีวัน
ได้ชี้แจงว่าเงินที่เหลือจากการทำงานโครงการนี้
ทางแหล่งทุนต้องการให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ต่อโดยอาจเป็นในรูปแบบกองทุน
สวัสดิการ ฯลฯ ทั้งนี้จะได้หารือกันหลังเสร็จสิ้นโครงการต่อไป...
....................................................................................................