กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
แผนที่เดินดิน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

กระบวนการทำแผนที่ดังกล่าวเกิดจากประเด็นคำถามที่ว่า แผนที่ชุมชนแบบใดที่จะเหมาะสมกับโจทย์การทำงานของ Gen V ที่มุ่งเน้นไปที่การเตรียมความพร้อมชุมชนเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ จากแนวคิดและประสบการณ์ของเด็กค่ายในอดีตที่ผ่านการเรียนรู้กระบวนการทำแผนที่ทำมือ พวกเราพบว่าขั้นตอนและวิธีการตลอดจนรายละเอียดต่างๆของแผนที่ทำมือที่เคยเรียนรู้เหล่านั้นยังไม่ตอบโจทย์ที่พวกเราต้องการ

กระบวนการทำแผนที่ดังกล่าวเกิดจากประเด็นคำถามที่ว่า แผนที่ชุมชนแบบใดที่จะเหมาะสมกับโจทย์การทำงานของ Gen V ที่มุ่งเน้นไปที่การเตรียมความพร้อมชุมชนเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ   จากแนวคิดและประสบการณ์ของเด็กค่ายในอดีตที่ผ่านการเรียนรู้กระบวนการทำแผนที่ทำมือ  พวกเราพบว่าขั้นตอนและวิธีการตลอดจนรายละเอียดต่างๆของแผนที่ทำมือที่เคยเรียนรู้เหล่านั้นยังไม่ตอบโจทย์ที่พวกเราต้องการ  พวกเราต้องการแผนที่ที่มีความละเอียดและแม่นยำระดับหนึ่งในส่วนของผังครัวเรือน สถานที่สำคัญในชุมชน  คูคลอง   ระดับน้ำท่วม และนอกเหนือจากนั้นยังต้องแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการคมนาคม  ทั้งในขณะปกติและเมื่อเกิดภัยพิบัติ   ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อการจัดการขณะเกิดภัยพิบัติได้    เมื่อพวกเราชัดเจนในเป้าหมายที่ต้องการ การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาแผนที่จึงเริ่มต้นขึ้น   ตั้งแต่ขั้นตอนของการทำความรู้จักแผนที่ภูมิศาสตร์  การอ่านแผนที่  ไปจนถึงการฝึกทำแผนที่ทำมือโดยได้รับความร่วมมือจากผศ.ดร.ปิยะกาญจน์    เที้ยธิทรัพย์ อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ม.มหิดล  หรือพี่ปูเป้ที่น่ารักของพวกเรา  ที่กรุณาจัดอบรมให้ความรู้ คำแนะนำและเทคนิคการทำแผนที่ทำมือ  ผ่านการทดลองฝึกปฏิบัติจริง   

หลังจากนั้นเส้นทางการเรียนรู้ ดำเนินมาสู่ขั้นตอนของการระดมความคิดเพื่อประยุกต์เอาความรู้ที่ได้เรียนมาปรับใช้จริง  ภายใต้เงื่อนไขเพิ่มเติมว่า   แผนที่ที่เราจะทดลองทำนี้  นอกจากจะมีในส่วนของข้อมูลต่างๆที่ต้องการแล้ว ต้องเป็นแผนที่ที่ง่ายต่อการทำ  และง่ายต่อการทำความเข้าใจ    ซึ่งกำลังหลักในการระดมความคิดครั้งนี้คือน้องๆในทีมและอาสาสมัครของเรา   มาร่วมกันทดลองทำ  ลองผิดลองถูก  โดยประยุกต์เอาเทคโนโลยีในส่วนของ Scale แผนที่กว้างๆจากฐานข้อมูลของ Google Earth  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้  โดย Scale ของแผนที่ใน Google Earth จะมีความละเอียดในระดับหลังคาเรือน  มีทิศทางที่ถูกต้องแม่นยำ  แต่ปัญหาของฐานข้อมูลดังกล่าวคือ ไม่ใช่ข้อมูลที่อัพเดตเป็นปัจจุบัน  จะทำให้ข้อมูลบางส่วนเช่น ครัวเรือนใหม่ๆ  เส้นทางเดินในชุมชนหรือคูคลองบางส่วนอาจขาดหายไป 

ซึ่งขั้นตอนการทำแผนที่ชุมชนก็จะต้องมีในส่วนของการอัพเดตข้อมูลเหล่านี้เพิ่มเติมควบคู่กันไปด้วย  นอกเหนือจากนี้พวกเรายังค้นพบการประยุกต์เอาเทคนิคการลอกลายแผนที่ที่เรียกว่า  การทำ  Layer โดยแต่ละ Layer จะเป็นการลงข้อมูลในประเด็นต่างๆ  เช่น  Layer 1 : ข้อมูลครัวเรือน , Layer 2 : ข้อมูลระดับของน้ำที่ท่วม , Layer 3 : เส้นทางการคมนาคมและคูคลอง เป็นต้น  ซึ่งหากเราต้องการข้อมูลใน Layer ไหนก็สามารถเลือกดูได้ใน Layer นั้นๆได้โดยสะดวก 

นอกเหนือจากนี้แผนที่ของเรายังเพิ่มเติมในส่วนของของการใช้ควบคู่กับแผ่นดัชนีข้อมูลที่จะประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน , ข้อมูลประชากรในภาวะพึ่งพิงในแต่ละครัวเรือน , การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับน้ำท่วมในแต่ละครัวเรือน , ข้อมูลเรือในแต่ละครัวเรือน  โดยจะทำการจัดผังแบ่งโซนในแผนที่และให้ Code ในแต่ละโซน  เชื่อมโยงข้อมูลกับแผ่นดัชนี  และรจัดเก็บฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ด้วย   ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าแผนที่ดังกล่าวนอกเหนือจากจะช่วยอธิบายลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ตามข้อมูลที่เราต้องการได้แล้ว  ยังเชื่อมโยงถึงฐานข้อมูลในระดับครัวเรือนได้อีกด้วย


บทเรียนร่วมกันภายใต้การศึกษาและพัฒนาขั้นตอนของการทำแผนที่    พวกเราได้ข้อเรียนรู้ใหม่ๆมากมาย  ตั้งแต่จุดเริ่มต้นพวกเราพบกับความท้าทายใหม่ๆ  กระบวนการคิดที่นำไปสู่การลองผิดลองถูก  ภายใต้โจทย์ที่พวกเรามองว่าหากองค์ความรู้ในส่วนของวิธีการทำแผนที่นี้จะได้รับการขยายผลนำไปใช้ต่อ  ก็จะต้องง่ายต่อการสื่อสารและง่ายต่อการทำความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ และมีความเป็นไปได้ในระดับของการเรียนรู้ของคนในชุมชนและอาสาสมัครทั่วไปที่จะเข้าร่วมในกระบวนการดังกล่าวด้วย  โดยเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายๆหลอมรวมกับเทคนิคการลอกลายที่ทุกคนสามารถฝึกฝนทำได้  ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงฐานข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่ายๆเบื้องต้น  ซึ่งประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับจะนำไปสู่การช่วยหนุนเสริมชุมชนเพื่อจัดทำแผนการจัดการภายในชุมชนเพื่อรับมือกับภัยพิบัติต่อไป

ซึ่งภายหลังจากการเก็บข้อมูลชุมชนและทำแผนที่เดินดินแล้วได้จัดเวทีนำเสนอข้อมูลแก่ชุมชน  โดยมีตัวแทนเข้าร่วมประชาคม ดังนี้ ทีมผู้นำชุมชนในส่วนของ ทีมอบต. ผู้ใหญ่บ้าน ทีมสาธารณะสุขและอสม. ตัวแทนครูร.ร.สามแยกบางคูลัด ตัวแทนอาสาสมัครชุมชน  เป็นต้น  ซึ่งภายหลังจากจัดเวทีนำเสนอข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น  ได้มีการลงมติวางแผนงานต่อเนื่องในส่วนของการขยายผลร่วมกับทีมอาสาสมัครชุมชนในการพัฒนาแบบสำรวจข้อมูลและจะจัดทำแผนที่เดินดินให้ครอบคลุมอีก 3 หมู่  คือหมู่ที่ 8 , 9 และ 10เป็นการขยายผลนำร่องต่อไป  โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนเมษายน 2556 เป็นต้นไป  ซึ่งบทบาทของ Gen V จะเข้าไปหนุนเสริมในส่วนของการเป็นวิทยากรอบรมทีมอาสาสมัครชุมชนในส่วนของการเก็บข้อมูลชุมชนและทำแผนที่เดินดินต่อไป

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

เครื่องมือการเก็บข้อมูลและการทำแผนที่ชุมชนพัฒนาโดย ทีมงานและอาสาสมัคร

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ