กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะชีวิต โดยใช้โครงการของเยาวชน และความเป็นชุมชนเข้มแข็งเป็นฐานการเรียนรู้
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

        การประชุมเชิงปฏิบัติการการรพัฒนาทักษะชีวิต โดยใช้โครงการของเยาวชน และความเป็นชุมชนเข้มแข็งเป็นฐานการเรียนรู้ รุ่นที่ ๑ ในวันที่ ๑-๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ และรุ่นที่ ๒ ในวันที่ ๘-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เป็นโครงการเพื่อการเสริมสร้างทักษะชีวิตทางด้านการตระหนักรู้ในตนเอง ความเห็นใจผู้อื่น ความภาคภูมิใจในตนเอง การจัดการกับอารมณ์ และเพื่อประมวลผลการดำเนินงานโครงการที่เยาวชนรับผิดชอบ

­

วัตถุประสงค์


๑.เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านความตระหนักรู้ในตนเอง เข้าใจผู้อื่น และภาคภูมิใจในตนเอง
๒.เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด
๓.เพื่อประมวลผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนและสร้างสรรค์วิธีการสื่อสารกับสาธารณะ ในสิ่งที่ค้นพบจากกิจกรรมของกลุ่ม
๔.เพื่อสังเกตพฤติกรรมและทักษะชีวิตของเยาวชนแกนนำและประเมินผลสำเร็จของกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะชีวิตโดยใช้ฐานงานของเยาวชนเป็นหลัก

­

กำหนดการและรายงานผล
01
กุมภาพันธ์
2013
การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะชีวิต โดยใช้โครงการของเยาวชน และความเป็นชุมชนเข้มแข็งเป็นฐานการเรียนรู้
09.00 - 09.30 น.
๑. พร้อมกันจุดนัดหมาย (หน้าสำนักงานป่าไม้สงขลา)/ลงทะเบียน
10.00 - 12.00 น.
๒. ออกเดินทางไปยังชุมชนคลองแดน
12.00 - 13.00 น.
๓. รับประทานอาหารกลางวัน/เข้าที่พัก/พักผ่อนตามอัธยาศัย
13.00 - 13.30 น.
๔. เข้าห้องประชุมรับฟังคำชี้แจงจากโครงการ (สงขลาฟอรั่ม)
13.30 - 14.30 น.
๕. แนะนำความเป็นชุมชนคลองแดน (วิทยากรชุมชนคลองแดน)
14.30 - 17.00 น.
๖. แบ่งกลุ่มย่อย ๕ กลุ่ม ลงพื้นที่ “เรามองเห็นความเข้มแข็งของชุมชน และบุคลิกภาพความเป็นคนคลองแดนเป็นอย่างไร”(วิทยากรชุมชนคลองแดน)
17.00 - 18.00 น.
๗. รวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอที่ประชุมใหญ่ (สงขลาฟอรั่ม)
18.00 - 19.00 น.
๘. รับประทานอาหารเย็น และพักผ่อนตามอัธยาศัย
19.00 - 21.00 น.
๙. วงเสวนา เรื่อง “สิ่งที่เรารู้สึกและสัมผัสได้ในความเป็นชุมชนเข้มแข็ง และความเป็นคนคลองแดน” (ชุมชน-สงขลาฟอรั่ม)
21.00 - 00.00 น.
๑๐. พักผ่อนตามอัธยาศัย (เข้านอนไม่ดึกเพื่อสุขภาวะที่ดี)
02
กุมภาพันธ์
2013
การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะชีวิต โดยใช้โครงการของเยาวชน และความเป็นชุมชนเข้มแข็งเป็นฐานการเรียนรู้
06.00 - 07.00 น.
๑๑. ชื่นชมธรรมชาติยามเช้า (สงขลาฟอรั่ม)
07.00 - 08.30 น.
๑๒. ปฏิบัติภารกิจส่วนตัว/รับประทานอาหารเช้า
08.30 - 09.00 น.
๑๓. เข้าห้องประชุม Chick in
09.00 - 12.00 น.
๑๔. ทบทวนงานโครงการที่เยาวชนรับผิดชอบ (แบ่งกลุ่มย่อยตามโครงการ)
๑๔.๑. คุณค่าของงานคืออะไร
๑๔.๒. เป้าหมายของงานคืออะไร
๑๔.๓. เราทำงานร่วมกันแบบไหน อย่างไร
๑๔.๔. มีผลงาน และค้นพบความคิดหรือวิธีการทำงานแบบใหม่ๆอย่างไรบ้าง
๑๔.๕. การจัดการเรื่องเงินเป็นอย่างไร
๑๔.๖. กลุ่มของเราโดดเด่นในเรื่องอะไรที่สามารถนำเสนอต่อสังคมได้
12.00 - 13.00 น.
๑๕. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น.
๑๖. นำเสนอคุณค่าของงานและสิ่งที่ค้นพบของแต่ละกลุ่ม
15.00 - 19.00 น.
๑๗. ศึกษาและเรียนรู้ “ตลาดริมน้ำคลองแดน”
๑๗.๑. การเตรียมตัว และประสานความร่วมมือของชาวบ้าน
๑๗.๒. ลักษณะผลิตภัณฑ์ของชุมชน
๑๗.๓. คนมาท่องเที่ยว
๑๗.๔. รูปแบบตลาดริมน้ำ

(มื้อเย็นวันนี้ให้เยาวชนอิสระ ซื้ออาหารรับประทานในตลาดริมน้ำ)
19.00 - 21.00 น.
๑๘. สรุปผลการศึกษา และบูรณาการสิ่งที่ได้รับสู่การทำงานของกลุ่มเยาวชน
21.00 - 00.00 น.
๑๙. พักผ่อนตามอัธยาศัย (เข้านอนไม่ดึกเพื่อสุขภาวะที่ดี)
03
กุมภาพันธ์
2013
การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะชีวิต โดยใช้โครงการของเยาวชน และความเป็นชุมชนเข้มแข็งเป็นฐานการเรียนรู้
06.00 - 07.00 น.
๑๑. ชื่นชมธรรมชาติยามเช้า (สงขลาฟอรั่ม)
07.00 - 08.00 น.
๑๒. ปฏิบัติภารกิจส่วนตัว/รับประทานอาหารเช้า
08.30 - 11.00 น.
๒๒. พร้อมกัน ณ ลานการเรียนรู้ของชุมชน ฟังข้อคิดเรื่อง “ทักษะชีวิตในโลกยุคใหม่” (ท่านเจ้าอาวาสวัดคลองแดน)
11.00 - 12.00 น.
๒๓. รับประทานอาหารกลางวัน
12.30 - 15.00 น.
๒๔. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

      การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีรูปแบบแตกต่างจากการจัดกิจกรรมพัฒนาโครงการ เนื่องจากคณะทำงานต้องการให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้และเห็นความเข้มแข็งของ ชุมชนคลองแดนซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานโครงการของเยาวชน หากเยาวชนสามารถเข้าใจรูปแบบกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุนชน ดังนั้นกิจกรรมแรกที่ให้เยาวชนเรียนรู้จึงเริ่มต้นจากการให้เยาวชนได้เรียน รู้ประวัติความเป็นมาของชุมชนคลองแดนและลงพื้นที่เรียนรู้กับคนในชุมชน ซึ่งจากการ ศึกษาชุมชนเยาวชนส่วนให้มองเห็นอัตลักษณ์ของชุมชนและกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

­

  • นายกิตตินันท์ มากเกลื่อน กลุ่มว่าที่ครูสร้างสรรค์สิ่งดีๆสู่สังคม “ได้รู้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่มีความเข้มแข็งของชุมชน และระบบการจัดการที่เป็นรูปแบบและความร่วมแรงร่วมใจกับคนอนุรักษ์วิถีชีวิตในท้องถิ่น”

­

  • นายประทีป วิไลรัตน์ กลุ่ม 108 IDEAS “ได้เรียนรู้วิธีการดำรงชีวิตแบบง่ายๆที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งความเจริญทางวัตถุแต่เป็นสถานที่ที่เจริญทางจิตใจ ทำให้เกิดความสามัคคี การเป็นอันหนึ่งอันเดียว การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จึงทำให้ชุมชนที่นี้มีความเจริญทางจิตใจ”
  • นางสาวนุศรา มาลินี กลุ่มสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลปริก “ได้รู้ว่าชุมชนของเราไม่ว่าจะชุมชนไหนๆจะเกิดการพัฒนาที่ดีได้ต้องได้จากความร่วมมือของบุคลากรหรือประชาชนในชุมชน การพัฒนาจึงประสบผลสำเร็จและมีการพัฒนาที่ดี”

       จากความคิดเห็นของเยาวชนสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้จากการศึกษาชุมชนทำให้เยาวชนเห็นว่าความสำเร็จของการทำงานจะต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกคน ทั้งนี้รูปแบบการบริหารงานชุมชนเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนกลับไปพัฒนางานของตนเองได้ เช่น การสร้างความสามัคคีในกลุ่ม  การทำงานแบบมีส่วนร่วม และการรับฟังความคิดเห็น เป็นต้น เยาวชนยังสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคของชุมชนกับงานของตนเองได้ ดังความคิดเห็นของ

  • น.ส.จุรีรัตน์  ประหลาดมานิต กลุ่ม CD POWER “สามารถนำทฤษฎีที่ว่า การโยนหินลงน้ำ จาก 1 เป็น 2 เป็น 3,4 ไปเรื่อยๆเราก็เริ่มจากตัวแกนนำก่อน นำไปขยายต่อเพื่อนๆพี่ๆนักศึกษา ต่อมาก็คือประสานชาวบ้านเพื่อมาร่วมโครงการกับเรา”
  • นายธนกฤต  โสเจยยะ กลุ่มต้นคิด “ตลาดริมน้ำเปิดโอกาสให้เยาวชนในท้องถิ่นมาแสดงศิลปะพื้นบ้านให้นักท่องเที่ยวชมที่ถนนนครใน-นครนอกหรือบริเวณอื่นๆในเมืองสงขลา ก็สามารถที่จะเปิดโอกาสให้เยาวชนในท้องถิ่นรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงความสามารถด้านศิลปะพื้นบ้านออกสู่สาธารณะได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ตลาดริมน้ำไม่ใช้ถุงพลาสติกและโฟมใส่อาหาร ถนนคนเดินในตัวเมืองก็ทำได้เช่นกัน” 
  • น.ส.สรารัตน์  โพชสาลี กลุ่มสังคมศึกษาพัฒนาเยาวชน “ความสุข สนุกสนานที่เกิดจากอัตลักษณ์ของตนเอง ของชุมชน แนวคิดต่างๆที่จะนำมาบูรณาการกับทางโครงการ มีความรู้ มีจิตใต้สำนึกในการช่วยเหลือสังคมมากขึ้น ในกลุ่มเกิดความสามัคคี ความรัก ความผูกพัน”

­

      สิ่งที่เยาวชนได้เรียนรู้จากความเข้มแข็งของชุมชนทำให้กิจกรรมถัดมาคือ การจุดประกายความคิดและการแบ่งกลุ่มประมวลผลการดำเนินงานของโครงการตนเองทำได้ราบรื่นขึ้น เพราะเยาวชนจะใช้เหตุผลในการพูดคุยและแบ่งหน้าที่กันทำงาน และช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม ดังนั้นบรรยากาศในการทำกิจกรรมจึงผ่อนคลายและไม่ตึงเครียดมากนัก เยาวชนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานของโครงการต่างๆและคิดทบทวนเปรียบเทียบกับโครงการของตนเอง เพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

­

     นอกจากนี้การทำกิจกรรมร่วมกันตลอดทั้ง 3 วันยังทำให้เยาวชนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการได้ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ วิถีชุมชน การฟังธรรม มิตรภาพของชาวบ้าน พี่ๆ และเพื่อนๆ ทำให้เยาวชนรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้านตนเองและรู้สึกประทับใจกับการทำกิจกรรม เพราะเป็นการเรียนรู้ที่หาไม่ได้จากในห้องเรียนและสร้างคุณค่าทางจิตใจให้กับเยาวชน

­

   

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ