1.เพื่อสรุปบทเรียนการทำโครงการ(กระบวนการทำงาน ความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค)
2.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำโครงการกับเพื่อนเยาวชนกลุ่มอื่นๆ
1.สภาพพื้นที่หรือปัญหาที่ทำให้ต้องทำโครงการ ?
- ปัญหาดินเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นกับย่านรังสิตในหลายๆ พื้นที่ มีผลกระทบกับพืชชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า "ส้มรังสิต"
2.ทำกิจกรรมอะไร?
- โครงการนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2553 ในปีนี้เราทำการเผยเเพร่ความรู้ที่เรามีจากการทำงานมา 2 ปี ให้กับน้องๆ ในโรงเรียนที่มีจิตอาสาและมีใจรักสิ่งแวดล้อมเหมือนพวกเรา
3.เกิดผลลัพธ์อะไร?
- น้องๆ ได้รู้จักคำว่าจิตอาสา ได้เป็นเยาวชนที่ดีที่ไม่ได้รู้จักกันเเค่หมู่เพื่อนที่โรงเรียน ได้ออกมาปฏิบัติในพื้นที่จริง ได้ความรู้เรื่องพัฒนาดิน มีจิตสำนึกที่จะหวงแหนดินไว้ปลูกต้นไม้ต่อไป ได้ส้มรังสิตที่มีรสชาติดีขึ้นเรื่อยๆ โดยมีปัจจัยที่สำคัญเลยคือ "ตัวของน้องๆเอง" เพราะถ้าน้องๆ ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะอยากรู้ เราก็คงทำอะไรไม่ได้ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ "อาจารย์และพี่ๆ แกนนำ" ที่ช่วยกันกระตุ้นน้องๆ เมื่อน้องเหนื่อย ต้องขอบคุรปัญหาที่ทำให้น้องๆ ของเราโตขึ้น
4.จะทำอะไรในวันข้างหน้า?
- อยากจะจัดหมอดินให้เป็นกิจกรรมรุ่นต่อรุ่น ให้รุ่นน้องกับรุ่นพี่รู้จักกัน เคารพกัน จะได้ลดปัญหานักเรียนตีกันอีกด้วย เเล้วยังสามารถรักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาดิน มีกิจกรรมให้ได้เรียนรู้ ให้น้องได้ไปเจออะไรในโลกภายนอก เจอกับปัญหาที่จะทำให้น้องๆ โตขึ้นไปอีกขั้น
5.การเรียนรู้/พัฒนาการของแต่ละคน
- น้ำมล(น.ส.วิภาดาแก้วพร) หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ก็พูดและกล้าแสดงออกมากขึ้น ได้รับความรู้ในการวางแผนการทำงาน รู้จักสานสัมพันธ์พี่น้อง
- เมย์(น.ส.อทิตยา มาดรกลาง) กล้าคิด กล้าแสดงออก มีแรงบันดาลใจที่ทำให้รักสิ่งแวดล้อมมากขึ้น