กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงงาน "ขจัด ...มันมากับน้ำ"
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

จัดทำโดย

นางสาวชญาธาร ปิ่นโต นักเรียนชั้น ม.5/2  โรงเรียนโยธินบูรณะ




                นางสาวชญาธาร ปิ่นโต นักเรียนชั้น ม.5/2 (เมื่อปีการศึกษา 2552) กล่าวถึงแนวคิดเบื้องต้นก่อนดำเนินโครงงานว่า ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่ยากจะแก้ไข ซึ่งมีสาเหตุใหญ่จากครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำ ก่อให้เกิดคราบสกปรกและคราบน้ำมันเกาะตัวกันลอยเป็นแพอยู่ด้านบนของแหล่งน้ำ ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถผ่านลงไปด้านล่างของแหล่งน้ำได้ ก่อให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสีย ปัญหาเหล่านี้แสดงถึงความไม่พอประมาณ กลุ่มจึงคิดหาวิธีขจัดน้ำเสียด้วยการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของพืช ชนิดต่างๆ ที่อาจช่วยดูดซับน้ำมันในแหล่งน้ำได้ โดยหาข้อมูลเกี่ยวกับกาบกล้วย ผักตบชวา และต้นธูปฤๅษี จากนั้นนำมาทดลองว่าพืชทั้ง ๓ ชนิดดังกล่าว ชนิดไหนมีความสามารถในการดูดซับน้ำมันได้มากที่สุด ผลการทดลองปรากฏว่า ต้นธูปฤๅษี ดูดซับน้ำมันได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น





            จึงตัดสินใจด้วยหลักเหตุผลที่ได้จากการทดลอง นำต้นธูปฤาษีไปแตกแห้งแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้เฉพาะส่วนของลำต้นแกว่งบนผิวน้ำที่มีคราบน้ำมันเพื่อให้ต้นธูปฤาษีดูดซับ น้ำมันในแหล่งน้ำ จากนั้นกลุ่มเพื่อนจึงช่วยกันคิดต่อยอดอีกว่า ต้นธูปฤๅษีที่นำมาดูดซับน้ำมันแล้วสามารถกักเก็บน้ำมันไว้ในตัว อาจจุดไฟติดได้ดี จึงนำมาทดลองจุดไฟพบว่าจุดไฟได้จริง จึงคิดนำต้นธูปฤๅษีที่ผ่านการดูดซับน้ำมันแล้วมาตากให้แห้ง อัดลงท่อพีวีซีจากนั้นเติมพาราฟินเหลวลงไปจะได้ก้อนเชื้อเพลิงซึ่งมี คุณสมบัติดีกว่าถ่าน จุดไฟได้ง่ายกว่าถ่าน มีต้นทุนที่ถูกกว่ากล่าวคือ ลงทุนเพียงซื้อพาราฟินเหลว 112 บาท สามารถทำก้อนเชื้อเพลิงได้ประมาณ 30 ก้อน เมื่อเทียบกับการซื้อถ่าน 100 บาทแล้ว แท่งเชื้อเพลิงจากธูปฤๅษีสามารถใช้ได้นานกว่า มีกลิ่นหอม และควันน้อยกว่า





           นางสาวชญาธารวิเคราะห์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับโครงงานของตนเองว่า ใช้เงื่อนไขความรู้โดยการศึกษาเล่าเรียนในชั่วโมงเรียนและหาความรู้เพิ่ม เติมจากอินเทอร์เน็ต รวมถึงปรึกษาอาจารย์ก่อนตัดสินใจเลือกทำโครงงานนี้ และกลุ่มจะมีการวางแผนงานเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับการทำงานกลุ่ม ใช้หลักความพอประมาณโดยใช้พืชที่มีอยู่ในชุมชน เหตุผลคือ ศึกษาการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใช้ คุณธรรมในการทำงานกลุ่มคือ ทุกคนต้องระเบียบวินัย ต้องรักษาเวลาร่วมกัน ต้องเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว อีกทั้งเป็นการทำงานเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสิ่งแวดล้อมไม่ให้เสื่อม เสียไปมากกว่านี้

        “ตอนแรกเรามีข้อมูลเพียงว่าต้นธูปฤๅษีดูดน้ำมันได้แต่ไม่รู้ว่าดูดอย่างไร ใช้ส่วนไหน ต้องทำอย่างไรก่อน จึงไปหาข้อมูล บางคนบอกใช้ดอก บางคนบอกใช้ต้น บางคนบอกใช้ราก ในเรื่องนี้ทุกคนต้องกลับไปทดลอง ส่วนเรื่องเวลา บางคนไม่ว่างวันเสาร์ บางคนเรียนอาทิตย์ ทำให้ต้องเสียสละเวลามาช่วยกันทำงาน แม้ว่าแต่ละคนจะมีเหตุผลและความคิดที่ไม่ตรงกัน ก็ไม่ใช่ปัญหา ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ที่ทำให้งานของเราออกมาได้ดีที่สุด ไม่โกรธกัน รักกันมากขึ้น เพราะรู้ว่าแต่ละคนคิดอย่างไร กล้าพูดกันมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม คิดว่าโครงงานของพวกเราน่าจะต่อยอดได้อีก โดยการนำต้นธูปฤๅษีมาสานให้มีลักษณะเป็นตะแกรงนำไปวางในท่อทิ้งน้ำของครัว เรือนก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ อีกทั้งสามารถนำส่วนของธูปฤษีที่ดูดซับน้ำมันแล้วไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้นาน ขึ้น”



กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ