คณะนักวิจัยประกอบด้วย ผศ.ดร.เรขา อรัญวงศ์ และผศ.ชาลี ตระกูล มาถึงโรงเรียนเวลา 9.00 น ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 คน โดยมีรองผู้อำนวยการกล่าวตอนรับ พร้อมดูวีดีทัศน์ ของโรงเรียนในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประมาณ 10 นาที ผศ.ดร.เรขา ดำเนินการ โดยให้ครูพูดถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้คำเพียงคำเดียวที่สามารถครอบคลุมความหมายได้ โดยครูใช้คำดังนี้
ปศพ.
-ประหยัด -สายกลาง -พอ
-อดทน -ออม -ดี
-เหมาะสม -ความสุข -ซื่อสัตย์
-พอดี -ประโยชน์ -พอควร
-พอประมาณ -คุ้มค่า -คุณภาพ
-สะดวกสบาย -ฯลฯ
เมื่อเสร็จกิจกรรมนี้ให้อาจารย์เล่าเรื่อง “เรื่องเล่าร้าวพลัง” เงือนไข
-เล่า 5 นาที (Best Practice)
-ผู้ฟังเห็น (คิด) เป็นภาพ (ชัด)
-ต้องเป็นประสบการณ์ตรง (พฤติกรรม/การกระทำ) (ในการสอน/การจัดกิจกรรม) ท่านยึด ปศพ.
-ปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้นักเรียน
-ก่อนเล่า เขียน เพื่อเล่า 10 นาที
-แบ่งกลุ่มละ 5 คน ผลัดกันเล่า ผู้ที่ฟังฝึกการเป็น No taker
-ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มเรื่องเรื่องมาเล่าให้เพื่อนทั้งหมดฟัง (กลุ่มละ 1 คน ) ทั้งหมดจะได้ 6 เรื่อง
กิจกรรมพหุปัญญา
โดยผศ.ชาลี ตระกูล ให้คุณครูทำแบบสำรวจตนเองว่าคุณครูมีทักษะทางปัญญาด้านใดบ้าง ให้เวลาการสำรวจตนเอง 20 นาที หลังจากนั้นอธิบายทักษะทางปัญญา 8 ด้าน ซึ่งครูสามารถนำไป
ยกตัวอย่างเรื่องเล่าของครูเนตรชนก โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตากที่สอนในรายวิชาภาษาอังกฤษวิเคราะห์ว่าการสอนดังกล่าวได้บูรณาการทักษะด้านต่างๆ ดังนี้
การสอนของครูเนตรชนกในรายวิชาภาษาอังกฤษ
บูรณาการการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลังจากนั้น ผศ.ดร.เรขา ให้ครูฝึก
-จับคู่ ( 2 คน) ผลัดกันเล่า และวิเคราะห์ว่าได้ฝึก/พัฒนา/ส่งเสริม สติปัญญาด้านใดบ้าง
-ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในการปรับเพิ่มการพัฒนา สติปัญญาให้หลากหลายขึ้น
-ขออาสาสมัคร เล่าเรื่อง การสอยบูรณาการพหุปัญญา