
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพรัอมการขับเคลื่อนฯ ของโรงเรียนบ้านดอนช้างฯ เข้าเยี่ยมชมเพื่อประเมินความก้าวหน้า สะท้อนให้ข้อเสนอแนะ หรือความช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ
- ประเมินความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียน
- สะท้อนข้อคิดเห็น และเสนอะแนะแนวทางในการขับเคลื่อนสู่ความพร้อมในการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- รายงานผลการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ ต่อผู้จัดการโครงการส่งเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เยาวชน
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงสู่โรงเรียนบ้านดอนช้าง ซึ่งประกอบด้วย
- ผอ.ธนิตา กุลสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ร้อยเอ็ด
- ผอ.สวัสดิ์ มะลาหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพ 206
- ครูอภัยวัลย์ กึกก้อง ครูแกนนำจากโรงเรียนสนามบิน
- ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม หัวหน้าทีมขับเคลื่อน
- นางสาวสุกัญญา มาชำนิ ศึกษานิเทศ สพป. ขอนแก่น เขต 1
เดิน ทางไปถึงโรงเรียนก่อนกิจกรรมการเข้าแถวหน้าเสาธง และเสร็จสิ้นการตรวจเยี่ยมหลังบ่ายสามโมงครึ่ง ต่อไปนี้คือขั้นตอนการเตรียมรับการประเมินและกิจกรรมต่างๆ
- ก่อนกิจกรรมหน้าเสาธง
- คณะ กรรมการเดินทางไปถึงเวลา 7:30 นาที นักเรียนทุกคนกำลังทำความสะอาดตามหน้าที่ๆ ตนเองรับผิดชอบ (เวร) มีนักเรียนส่วนหนึ่งที่กำลังขนโต๊ะเก้าอี้มายังห้องประชุมเพื่อจัดเตรียม กิจกรรมการตรวจเยี่ยมในวันนี้
- เด็กกระตือรือล้นมากในการทำความสะอาด
- กิจกรรมหน้าเสาธง
- เมื่อ ได้ยินเสียง "ระฆัง" ครั้งแรก นักเรียนจะมาเข้าแถวหน้าชั้นเรียนตนเอง และเมื่อ "ระฆัง" ดังครั้งที่สอง นักเรียนก็เดินจากหน้าห้องมาพร้อมกันที่หน้าเสาธง.... เด็กๆ ให้เหตุผลว่า เพื่อตรวจเช็คความพร้อมของนักเรียนว่า มาครบหรือไม่
- กิจกรรมหน้าเสาธงได้แก่ ร้องเพลงชาติพร้อมกัน กิจกรรมพี่ไหว้น้องโดยไล่เรียงตั้งแต่ ป.1 ไหว้ ป.2 จนถึง ม.2 ไหว้ ม. 3
- กิจกรรม ร้องเพลง ตามเครื่องกระจายเสียง ได้แก่ เพลงอยู่อย่างพอเพียง และ เพลงรูปที่มีอยู่ทุกบ้าน ที่ขับร้องโดยอิ๊ดวงฟลาย และเบิร์ดธงชัย ตามลำดับ
- เดินแถวเข้าห้องประชุม (ไม่มีการอบรมของครูเวรหน้าเสาธง)
- กิจกรรมในห้องประชุม
- สวดมนต์ไหว้พระ
- กิจกรรมนั่งสมาธิโดย ผอ.เชษฐา เป็นผู้นำพานักเรียนเอง
- กิจกรรมพิเศษ รำถวายเทียน
- นักเรียนกล่าวต้อนรับ
- ผอ.เพชรรัตน์ อ่างยาน นำเสนอกระบวนการขับเคลื่อน โดยมีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
- ทุกคนนำอาหารมากินข้าวร่วมกัน กว่า 10 ปี
- แต่งกายเหมือนกัน ยกเว้นวันอังคาร
- เน้นการไหว้ ทักทายสวัสดี
- เข้าโครงการ 2550 ทำวิสัยทัศน์สู่ปศพพ.
- ครูทุกคนต้องเป็นแบบอย่าง
- จัดทำแนปารอรียนอน้นปารบูรณาการ
- กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ
- กิจกรรมการปลูกข้าว
- กิจกรรมศิลปินน้อยตามรอยพระราชดำริ
- ก จกรรมฟังธรรมเปฺ็นนิตย์
- กิจกรรมนั่งสมาธิ
- กิจกรรมปลาส้มแจ่วบอง แก่งนำ้ต้อน ปลาสอนคุณธรรม
- กิจกรรมต้นกล้าอนาคตลดภาวะโลกร้อน
- กิจกรรมหน้าเสาธง
- กิจกรรมร่วมกับภายนอก อบต. ดอนช้าง
- เว็บไซต์ของโรงเรียน
- กิจกรรมนำเสนอผลงานของโรงเรียน
- ผ่านการประเมิน สมศ. การทำงานคือเกียรติยศ
- ฐานการปลูกผักสวนครัว
- ฐานเรือนเพาะชำ
- ฐานการออม
- ฐานนาข้าว
- ฐาขอาชีพ
-
เดินดูฐานการเรียนรู้
-
คุณครูรัตน์ภัณฑชา อ่างยาน กล่าวรายงานเพิ่มเติม เกี่ยวกับกระบวนการขับเคลื่อนของครูสู่นักเรียน
- เราเน้นหลักสูตร ได้ส่งครูไปอบรม แล้วนำมาขยายผล
- เราจัดกิจกรรมในห้องเรียน
- เราจัดเสริมกิจกรรม แล้วแต่ว่าใครจะถนัดกิจกรรมใด
- เราใช้ฐานการเรียนรู้ต่างๆ นาข้าว เรือนเพาะชำ พืชอาหารท้องถิ่น ผักสวนครัว ฐานการอาชีพ
- นำเดินตรวจเยี่ยมตามฐานการเรียนรู้ ได้แก่
- ฐานการปลูกผักสวนครัว
- ฐานเรือนเพาะชำ
- ฐานการออม
- ฐานนาข้าว
- ฐานอาชีพ
ผลการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อม ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 มีดังนี้
- โรงเรียนยังไม่พร้อมรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์ฯ ขณะวันประเมินนี้
- นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่เกิดอุปนิสัยพอเพียง
- นักเรียนแกนนำยังไม่กล้าคิด กล้าพูด ไม่มั่นใจในตนเอง
- ฐานการเรียนรู้ยังไม่เหมาะสมเพียงพอที่จะเป็นฐานการเรียนรู้ของโรงเรียนศูนย์ฯ
ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ต่อการขับเคลื่อนฯ ต่อไป
- ผอ. และ ครู ต้องใช้คำถามกระตุ้น และสร้างโอกาสให้นักเรียนแกนนำ ได้ฝึกทำ คิด พูด
- ให้นักเรียนแกนนำได้ถอดบทเรียนบ่อยๆ ทุกๆ กิจกรรม และทุกๆ หน่วยการเรียนรู้
- สนใจในรายละเอียดของกิจกรรมทุกๆ อย่าง เช่น การนั่งสมาธิของนักเรียน ครูควรถอดบทเรียนกันให้ชัดเจนว่า ทำเพื่ออะไร การดำเนินการนั้นเกิดตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าไม่เกิดเพราะอะไร และจะทำอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น...... จากการสังเกต กิจกรรมการนั่งสมาธิของโรงเรียนยังไม่บรรลุผลนัก
- ครูควรใช้จิตวิทยาเชิงบวก.....จากการเดินทางตรวจเยี่ยมหลายโรงเรียน พบว่า การจับผิดหรือใช้จิตวิทยาเชิงลบในการขับเคลื่อนนั้น ไม่สามารถทำให้เกิดอุปนิสัยพอเพียงได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทำกิจกรรมเพื่อฝึกสมาธินักเรียน ไม่ควรบอกกับนักเรียนที่ไม่นั่งสมาธิเช่น อย่าลืมตาซิลูก นั่งนิ่งๆ ซิลูก แต่ควรกล่าวชมนักเรียนที่ทำได้ดี โดยระบุชื่อ เช่น น้องน้ำหวานเก่งมากลูก นั่งนิ่งสงบแบบนั้นดีแล้ว..... เมื่อนักเรียนคนอื่นได้ยินจะนิ่งๆ ได้เอง ... เป็นต้น
- ฐานการเรียนรู้ ควรมีองค์ความรู้ วิธีการใช้ฐานการเรียนรู้ มีร่องรอยของการใช้ฐานการเรียนรู้นั้นอย่างสม่ำเสมอ และฐานการเรียนรู้นั้นสามารถทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดได้จริง เช่น หากต้องการฝึกฝนและปลูกฝังความรับผิดชอบในแปลงนาข้าว ควรมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้นักเรียนอย่างชัดเจน มีการตรวจเช็คประเมินว่านักเรียนรับผิดชอบต่อหน้าที่หรือไม่ หากมอบหมายให้ดูแล แต่หากไม่ได้ดูแล แสดงว่าไม่เกิดความรับผิดชอบกับนักเรียน เป็นต้น
- ฯลฯ