กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 29 เมษายน 2556-1 พฤษภาคม 2556
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 29 เมษายน 2556-1 พฤษภาคม 2556


  1. เพื่อให้มีการซักซ้อม  ทบทวน  แลกเปลี่ยน กิจกรรมขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
  2. เพื่อจัดให้มีการพบกันของโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้และโรงเรียนเครือข่ายในระดับภาค
  3. กำหนดปฏิทินเพื่อการพัฒนา เตรียมความพร้อม เพื่อรอบรับการประเมินเข้าสู่โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ
  4. ขั้นตอนในการเสนอตัวเพื่อรับการประเมินเข้าสู่มาตรฐานโรงเรียนศูนย์ฯ

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

20/5/56


          โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยความร่วมมือของมูลนิธิสยามกัมมาจล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี โรงเรียนลำปายมาศพัฒนา และโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาในภาคอีสาน 54 โรงเรียน


 

          ผู้เข้าร่วมการประชุม ในครั้งนี้ประกอบด้วย คณะกรรมจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ผู้ประสานงานจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี โรงเรียนลำปายมาศพัฒนา โรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนละ 5 คน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดประมาณ 260 คน วิทยากรหลัก ประกอบด้วย ครูใหญ่วิเชียรไชยบัง จากโรงเรียนลำปายมาศพัฒนา ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.อนันต์ แม้นพยัคฆ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมงานคือ คุณปิยะภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล และ ดร.เจือจันทร์ จงสถิตย์อยู่


กิจกรรมในช่วงเช้าวันที่ 30 เมษายน 2556


          เริ่ม ผศ.ดร.พัชรวิทย์ จันทรศิริศิระ ผอ.สำนักศึกษาทั่วไป กล่าวรายงานถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน และประธานกล่าวเปิดงานโดย รศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวชื่นชมในกัลยามิตรทางการศึกษาทั้งหมดที่มาประชุมในที่นี่ และมหาวิทยาลัยจะร่วมสนับสนุนกิจกรรมนี้อย่างเต็มที่ หลังจากนั้นคุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการนำไปใช้ในการจัดการศึกษา การอำนวยการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้มีการเรียนรู้แบบคิดวิเคราะห์ และถามให้คิดว่าวันนี้พวกเรามาพบกันทำไม การมาประชุมวันนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจตัวเอง ว่าอะไรคือความสำเร็จ อะไรคือสิ่งที่ต้องแก้ไข และใครคือกัลยาณมิตรที่เป็นพลังขับเคลื่อนในการเรียนรู้ และอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ มีเรื่องอะไรที่ต้องทำให้สำเร็จ และโดยมีเป้าหมายอยากให้องค์กรเกิดการพัฒนา เพื่อให้องค์กรเดินไปสู่เป้าหมายของความสำเร็จด้วยกัน(9.35 น.)


          หลังจากนั้น ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม หัวหน้าทีมประสานงานจากหน่วยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เป็นวิทยากรกระบวนการ ได้เริ่ม กระบวนการโดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน ได้มีสมาธิ เตรียมความพร้อม และระลึกถึงเป้าหมายที่ต้องทำงานร่วมกันดังต่อไปนี้


  1. ให้รู้จักตัวเอง เพราะจะทำให้เรารู้ว่าตนเองเข้าใจหลักพอเพียงและพอประมาณหรือยัง
  2. เห็นกันและกัน เพราะเราเป็นกัลยาณมิตร ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยกัน
  3. จะมองอนาคตร่วมกันอย่างไร หรือเราจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อให้บรรลุวัตถุที่ตั้งไว้ร่วมกัน


          หลังจากนั้นชี้แจงการทำกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในช่วงสองสามวันนี้ เช่น การแบ่งกลุ่มในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ทั้งหมด  และการใช้ห้องไหนบ้าง โดยมีกระบวนกรหลักคือ ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง ดร.ฤทธิไกร อ.อนันต์ และผู้บริหารโรงเรียนศูนย์


          การจัดประชุมในวันนี้(30 เมษายน 2556) ใช้ห้องประชุมชั้น 4 โรงแรมนิวพัฒนา กลุ่มที่ 1 ห้องกันทรวิชัย 1 กลุ่มที่ 2 ห้องกันทรวิชัย 2 กลุ่มที่ 3 ห้องแกรนด์บอุล์ลรูม ห้องกันทรวิชัยเป็นห้องประชุมเล็ก และแกรนด์บอล์ลรูม เป็นห้องประชุมใหญ่


          ช่วงเช้าเป็นช่วงของการสำรวจตนเอง โดยจัดกลุ่มตามโรงเรียน โดยให้แต่ละโรงเรียนดำเนินกิจกรรมกันเอง ให้เวลาเขียนเรื่องเล่าภายในโรงเรียนของตนเอง หลังจากนั้น เมื่อเขียนเสร็จให้เล่าเรื่องจากสิ่งที่เขียนใช้เวลาประมาณ 10 นาที ให้ ผอ. ครูแกนนำขับเคลื่อน ครูแกนนำ ผลัดกันเล่าเรื่อง ให้เวลาในการทำกิจกรรมนี้ 20 นาที


          กลุ่มที่ 1 วิทยากรคือ ดร.ฤทธิไกร มีทั้งหมด 10 โรงเรียน ให้เขียนเรื่องเล่าเรื่องเลย หลังจากนั้นให้เล่าสิ่งที่เขียน โดยกำหนดให้ ผอ. เล่าเป็นท่านสุดท้าย วิทยากรแนะนำให้มีการอัดเสียงหรือถ่ายวีดิโอเก็บเอาไว้เป็นหลักฐานด้วย และมีข้อสังเกตุคือพอมีการอัดเสียงเกิดขึ้น เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ คุณครูจะดูจริงจังกับกสรใช้คำพูดขึ้นมาทันที่ จนดูไม่เหมือนการสนทนาแต่เป็นการรายงาน กิจกรรมสุดท้ายในช่วงเช้าจะเป็นการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนตนเอง ที่คิดว่าโรงเรียนอื่นสามารถนำกลับไปใช้ได้และมีประโยชน์


          กลุ่มที่ 2 วิทยากร อ. อนันต์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ให้แต่ละกลุ่มแนะนำตัวเองต่อที่ประชุมใหญ่ มีทั้งหมด 10 โรงเรียน ให้เขียนเรื่องเล่า เล่าสู่กันฟัง สรุปและเขียนชาร์ตสรุปปัจจัยของความสำเร็จ บรรยากาศการพูดคุยเป็นแบบสยายๆ และมีผู้สังเกตุจากมูลนิธิร่วมอยู่ด้วย ในการสรุปนั้นให้แต่ละกลุ่มแสดงถึงปัจจัยของความสำเร็จหรือแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อให้คนอื่นสามารถนำกลับไปใช้ได้ครับ ให้นำเสนอได้เพียง 3 กลุ่มก็หมดเวลาในช่วงเช้า


          กลุ่มที่ 3 วิทยากร ประจำกลุ่ม คือครูใหญ่ วิเชียร ไชยบัง มีทั้ง 34 โรงเรียน โดยให้ทุกคนเขียนเรื่องเล่า เขียนในสิ่งที่ได้ปฏิบัติจริง ทำอะไร ทำอย่างไร เน้นที่ผลสำเร็จ ให้มองที่ตัวเด็กและตัวครูมากกว่ารางวัล โดยให้ผู้บริหารเป็นผู้อำนวยการวงสนทนา ในกรณีที่ผู้บริหารไม่มาจะต้องให้ครูผู้อวุโสเป็นผู้อำนวยการวงสนทนาแทน และจะต้องมีการสะท้อนจากผู้ฟัง ไม่ใช่หาข้อผิดพลาด แต่หาจุดที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข อะไรคือสิ่งที่ท้าทายที่ต้องทำให้สำเร็จ และให้จดสิ่งทีเพื่อนสะท้อน และให้ผู้บริหารกลุ่มกล่าวถึงสิ่งที่ผู้บริหารได้ทำ  ในห้องนี้มีผู้บริหารมูลนิธิร่วมให้การชี้แนะ ในกลุ่มนี้มี ศน.วิภา จาก สพม. ร้อยเอ็ด รวมสนทนา อยู่ด้วย ในกลุ่มนี้จะต้องนำเสนอช่างเช้าเพียงบางกลุ่ม โดยใช้ กลุ่มอาสาสมัคร เนื่องจากมีจำนวนกลุ่มมาก การแยกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มครูแกนนำซึ่งมีจำนวนมาก


           ครูใหญ่ชี้แจงว่า บ่ายนี้จะต้องมีการแยกกลุ่ม จะทำให้เจอเพื่อนใหม่ จะต้องมีการกระจายออกแต่ละกลุ่มและแบ่งตามช่วงชั้น คือระดับประถม แยกจากระดับมัธยม และสถานภพในการทำงาน เพื่อให้ได้รับทราบแนวปฏิบัติขององค์กรที่มีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันมากที่ สุด เพื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงบทบาทของตนเองในการขับเคลื่อน ปศพพ. ในฐานะของผู้บริหาร ครูแกนนำขับเคลื่อน หรือครูแกนนำ ตามกลุ่มที่ทำกิจกรรม กิจกรรมนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง


           หลังจากนั้นทุกคนจะกลับเข้ากลุ่มของโรงเรียนเดิมเหมือนกับตอนเช้า และจะกลับไปพบวิทยากรประจำกลุ่มท่านเดิม เพื่อสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้กลุ่มฟังและแนวทางในการขับเคลื่อนหลัก ปรัชญาฯ




การสะท้อนผลการประชุมในวันนี้

           ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญา มีการโดยกล่าวถึงความคาดหวังและความสำเร็จของการแลกเปลี่ยนในวันนี้ และส่วนที่คิดว่าจะนำกลับไปใช้. เห็นจุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุง สิ่งที่เกิดขึ้นมีหลังผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อว่าทุกคนมีความชัดเจน ในบทบาทและหน้าที่ของตนเองมากขึ้น และก็ตั้งความหวังไว้


 enlightenedตัว แทนจากโรงเรียนหัวยค้อฯ สะท้อนว่าดีใจที่ได้แลกเปลี่ยนกับคนคอเดียวกัน  บางโรงเรียนก้าวหน้าไปถึงขึ้นการสอนแบบ PBL  และได้รับทราบจากบางโรงเรียนว่ามีปัญหาบางอย่าง เช่น ในการขับเคลื่อน ซึ่งจะต้องหาทางแก้ไขกันต่อไป และที่โอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ เช่น  ทั้งการถอดบทเรียนและการสะท้อนปัญหา กล่าวการแลกเปลี่ยน.วันนี้มีสิ่งที่สามารถนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี อยากให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้อีกถ้ามีโอกาส .


enlightenedตัว แทนจากโรงเรียนบ้านโนนสะอาด กล่าวว่าวันนี้เป็นเวทีใหญ่ ทำให้มีกำลังใจมากขึ้น และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคในการจัดการเรียนการสอน เพิ่อไห้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ ทำให้มองเห็นเป้าหมายของความสำเร็จชัดเจนขึ้น 


enlightenedตัว แทนจากการุณวิทยา จากศูนย์อุบล สะท้อนว่า วันนี้เห็นภาพสะท้อนของโรงเรียนของตนเอง ว่า ในเวลานี้ โรงเรียนของเราอยู่ ณ ตำแหน่งไหน และคนอื่น เป็นอย่างไร จะขับเคลื่อนต่อไปอย่างไร


enlightenedโรงเรียน สนามบิน ดีใจที่มีโอกาสได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีขนาดใหญ่ ได้เห็นว่าการขับเคลื่อนว่ามีการดำเนินการอย่างไร พบปัญหาอะไร แก้ปัญหาอย่างไร และยังได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆจากเวทีครูตรงนี้ 


enlightenedจาก เทศบาลวัดป่าเรไร วันนี้ทำหน้าที่เป็นครูอำนวย ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเพื่อนครู ได้พบว่าครูบางส่วนขาดความมั่นใจ และขาดพี่เลี้ยงในการชี้แนะ แต่วันนี้มีแล้ว ได้มองเห็นการทำงานของคุณครูแต่ละท่าน และทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนมากขึ้นครับ 


yesดร. ต๋อย ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัจจัยของความสำเร็จอย่างน้อยน่าจะประกอบไปด้วย


  1. ผู้บริหารต้องใช้จิตวิทยา
  2. มีใจ มีความเสียสละ
  3. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  4. จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่ความยั่งยืน
  5. เราคิดว่าทำเพื่อลูกหลานของเรา

 

yesดร.เจือ จันทร์ ชื่นชมสมาชิกที่ร่วมวงสัมนาทุกคนที่มีความตั้งใจดี การจัดเวทีแบบนี้ ซึ่งเป็นเวทีขนาดใหญ่ ปกติจะทำได้ยาก แต่ก็สามารถทำงานนี้ได้ดีมาก และเมื่อรู้แล้ว เห็นแล้วจะต้องนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง


yesคุณ เปา ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล ขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน ในการจัดประชุมแลกเปลี่ยนทุกครั้งพบว่าแต่ละโรงเรียนมีการพัฒนาตลอดเวลา ได้พบว่ามีความเข้าใจผิดส่วนใหญ่เกิดจากความสับสนเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญา ขณะนี้ครูเข้าใจแล้ว ปัญหาต่อไปก็คือจะทำให้เด็กเข้าใจได้หรือไม่ แต่มีบางโรงที่ทำได้ เราก็ต้องเรียนรู้จากเขา แต่สิ่งที่ชัดเจนที่สุดก็คือคุณครูจะต้องนำไปใช้กับตัวเองก่อน ใช้จนเป็นธรรมชาติ จะทำให้เราสามารถอธิบายได้อย่างเป็นธรรมชาติ การเรียนรู้เกิดได้หลายวิธี เช่น การเรียนรู้จากความผิดพลาด หรือการเรียนรู้จากการทำโครงงาน ที่สำคัญเด็กสามารถนำวิธีคิดนั้นไปใช้ในชีวิตหรือไม่ คุณภาพในการสื่อสารของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่มันก็มีหลักของการจัดการความรู้ KM วันนี้เอาคนที่มีบทบาทและหน้าที่เดียวกันมาเรียนรู้ด้วยกัน ผอกับผอ ครูแกนนำขับเคลื่อนกับครูแกนนำขับเคลื่อน และครูแกนกับครูแกนนำ แต่ทุกคนจะต้องใช่สมาธิและความหนักแน่นในการฟัง และทุกคนจะต้องเปิดใจรับฟังผู้อื่น เครื่องมือต่างๆจะมีประโยชน์ขึ้นอยู่กับผู้ใช้


          การประชุมภาคกลางคืน โดยให้จัดกลุ่มตามโรงเรียนศูนย์ที่เป็นโรงเรียนพี่เลี้ยง เพื่อให้ทำการวางแผนการขับเคลื่อนโรงเรียนในเครือข่ายและกำหนดปฏิทินการทำ งานออกมา และซักซ้อมความเข้าใจแผนการขับเคลื่อน เพื่อส่งให้ทางศูนย์ประสานงานการขับเคลื่อนของตนเอง และผอ.โรงเรียนศูนย์จะได้นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยต่อที่ประชุมใหญ่ในวัน พรุ่งนี้ช่วงบ่าย 


วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 เริ่ม 9.00


ดำเนินกิจกรรมโดย ดร.ฤทธิไกร และ อ.อนันต์ ผู้ร่วมเสวนา ผอ. แสน แหวนวงศ์ ผอ.สวัสดิ์ อ.ฉลาด ครูเบญจมาศ พูด 2รอบๆละ 5นาที


enlightenedenlightenedผอ. สวัสดิ์ กล่าวถึงวิธีการขับเคลื่อน ปศพพ. ดีใจที่ได้มาอยู่ในวงของเพื่อนครูที่มีความคิดดีๆ จากนั้นกล่าวถึงชุมชนห้วยค้อมิตรภาพมีความเข้มแข็ง โจทย์คือทำอย่างไรถึงจะทำให้โรงเรียนสามารถขับเคลื่อนและสามารถพัฒนา จึงเข้าหาชุมชน จึงต้องร่วมมือกับชุมชนในการจัดหาทุน จนสามารถทำให้พัฒนาโรงเรียนเป็นโรงเรียนในฝัน ปัญหาต่อไปคือทำอย่างไรถึงจะทำให้ยั่งยืน จึงได้ตัดสินใจนำ ปศพพ. มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และพบว่าชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางที่ดีขึ้น ปัญหาต่อไปคือความมั่นใจของครู ซึ่งจะต้องพยามยามสร้างความเข้าใจและกระตุ้น และในที่สุดโรงเรียนก็ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์ ชุมชนยิ่งให้การสนับสนุนมากขึ้น และนักเรียนมีความมั่นใจ และมีความเป็นผู้นำมากขึ้น เนื่องจากเป็นชุมชนชนบท นักเรียนที่จบส่วนใหญ่ที่จบไปแล้วจะไปเรียนในสายอาชีพ ผลการประเมิน สมศ.ผ่าน


enlightenedenlightenedผอ. แสน แหวนวงศ์ ผอ.โรงเรียนศรีขรภูมิพิสัย กล่าวถึงการพัฒนาโรงเรียน ผู้ได้รับประโยชน์ ก็คือนักเรียน การนำโรงเรียนเข้าสู่ระบบการประเมินต่างๆ จะตัองเดินด้วยหลักสูตร ผู้บริหารจะต้องมอบหมายให้แต่ละทีมมีความรับผิดชอบ คือ . 

 

 ผอ.-->รอง ผอ. --> หัวหน้ากลุ่มสาระ-->หัวหน้าสายชั้น --> สภานักเรียน 


ทุกอย่างจะอยู่ที่ครูและผู้เรียน  จะต้องใช้ หลักสูตร -->มาตรฐานของหลักสูตร ครูและนักเรียนรู้จักการแบ่งปันอย่างไร ครูจะต้องเป็นผู้นำหลักสูตรของตัวเอง โรงเรียนมีปัจจัยเกื้อหนุนที่ดีคือ มีครูแกนนำขับเคลื่อนที่เข้มแข็ง ที่สำคัญคือต้องมีหลักยึดในการทำงานคือ


 1. ใช้ครูทำ นำครูได้ ใช้ครูให้เป็น 

 2. ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมแชร์และแบ่งปัน 


enlightenedenlightenedครู เบญจมาศ ห้วนค้อ กล่าวถึงความหนักใจในฐานะครูผู้ปฏิบัติงาน ถึงการเตรียมตัวเข้าสู่การประเมิน แต่ก็สามารถผ่านมาได้โดยมีหลักยึดดังนี้


  1. สร้างศรัทธา
  2. ทำโรงเรียนเป็นบ้าน โรงเรียนเรียนดีที่เรารัก
  3. ต้องการเห็นเด็กๆเป็นคนดี <--ต้องมองว่าเด็กๆทุกคนเหมือนลูกของเรา
  4. มีเป้าหมายเดียวกัน ใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง
  5. เตรียมความพร้อมให้ ผู้เรียน เช่น การให้เด็กร้องเพลง ที่มีความหมายดีๆ
  6. สอนโดยใช้โครงงาน เพื่อให้เด็กได้คิด


enlightenedenlightenedครู ฉลาด จากโรงเรียนเชียงขวัญ  กล่าวถึงการขับเคลื่อนภายในโรงเรียน จะต้องวิเคราะห์ว่าตัวเองเป็นอย่างไร และต้องทราบว่าส่วนที่เป็นผลกระทบต่อเราคือนักเรียน เพื่อนครู และผู้บริหารอย่างไร  โดยครูจะต้องยึดหลักดังนี้ คือ


  1. เป็นผู้นำทางด้านวิชาการ
  2. สื่อสารถูกต้องและชัดเจน
  3. ทุกเรื่องง่ายๆและใกล้ตัว 


การดำเนินการจะต้องยึดหลักสูตร และมีแผนการดำเนินการหลายระยะ เช่น 1 ปี 3 ปี 5 ปี และจะต้องมีการแลกเปลี่ยนกิจกรรมการดำเนิน ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง สิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้จักการถอดบทเรียน เพราะจะทำให้เข้าใจในกระบวนการคิด และพบช่องทางในการแก้ปัญหา


รอบสอง

enlightenedenlightenedผอ.สวัสดิ์ กล่าวถึงสิ่งสำคัญคือเปิดใจ ถ้าจะดีก็ดีก็ด้วยกัน อยากให้ลูกหลานเป็นคนดี คนเก่งจะต้องสร้างแบบอย่างที่ดี แบ่งงานกันรับผิดชอบต่อชุมชนในเขตรับผิดชอบของตนเองและ จะต้องมีข้อมูลในส่วนรับผิดชอบของตนเอง และคุณครูจะต้องทำงานเป็นทีม ผู้บริหารจะต้องรู้และเข้าใจคุณครูทุกคน จะร่วมมือในการสร้างศรัทธาให้เกิดแก่ชุมชน สร้างความตระหนักจากทุกภาคส่วน ครู นักเรียน ชุมชน


enlightenedenlightenedผอ.แสน กล่าวว่าจะทำอย่างไร นักเรียนถึงจะเป็นคนดี คนเก่ง ครูจะต้องออกแบบการสอนแบบบูรณาการให้ได้ และใช้สื่อที่อยู่ใกล้ตัว เพื่อให้นักเรียนมองภาพชัดในสิ่งที่เรียน และการจัดการเรียนโดยใช้โครงงาน ต้องใช้แหล่งเรียนรู้ภายในท้องถิน โดยบูรณาการแบบสหวิชา เช่น การใช้องค์ปราสาท ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน จัดให้มีกิจกรรมจำลองแล้วให้ชุมชนมีสว่นร่วม ใช้ครูภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ การเตรียมรับการประเมิน จะต้องเตรียมแผนการสอนแบบบูรณาการ


enlightenedenlightenedครู เบญจมาศ กล่าวว่าจะต้องมีทีมงาน เพื่อกำหนดกิจกรรมที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วม และกิจกรรมบูรณาการแบบสหวิชา ฝึกกิจกรรมความเป็นผู้นำ เช่น กิจกรรมพี่ดูแลน้องอย่างไร ทุกอย่างจะต้องคิดถึงหลัก ปศพพ. เช่น ทำอาหารทานเอง ดำเนินกิจกรรมด้วยทีมของเราเอง หลังเสร็จกิจกรรมจะทำให้เกิดความรักความผูกพัน


enlightenedenlightenedครู ฉลาด กล่าวว่าการสร้างเครือข่าย คือการไปสื่อสาร ไปสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจน การบริหารจัดการศึกษาจะต้องดำเนินไปตามหลักสูตร ระเบียบกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว และมีการสร้างระเบียบที่สอดคล้อง และกำหนดให้มีแผนการปฏิบัติที่ดี ร่วมกันวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง จะปรับปรุงจุดอ่อนอย่างไร และเสริมจุดแข็งอย่างไร ที่สำคัญคือจะต้องสร้างระบบบริหารจัดการ ที่เอื้ออำนวยต่อบริบทของโรงเรียน การเรียนการสอนเกิดได้ในทุกอริยบทในการเจอกันระหว่างครูกับนักเรียน


yesดร.ฤทธิ ไกร มองว่าการทำงาน สิ่งที่ได้รับคือความภูมิใจ จนมองว่าเหมือนการทำบุญ การทำงานก็คือจะต้องปรับจูนทุกคนให้ตรงกัน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่นักเรียน ชุมชนแวดล้อมจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีความสำเร็จ และเกิดผลกับนักเรียน คือมีความเป็นผู้นำ และเป็นคนดี จะต้องใช้หลักสูตร และเชี่ยวชาญด้านวิชาการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ครูต้องสามารถถอดบทเรียน บทบาทของครูแกนนำขับเคลื่อนจะต้องใช้บริบทแวดล้อม ไม่มีอะไรที่ตายตัว จะต้องเป็นผู้ทางวิชาการ ทำทุกอย่างให้เป็นเรื่องง่าย การเรียนการสอนเกิดกับทุกกิจกรรม


yesดร.เจือจันทร์ กล่าวว่า ครูจะต้องมีความหวัง ยึดหลักสูตร ทำให้ได้จริงๆ


เบรคช่วงเช้า


 

การบรรยายพิเศษจาก นพ.วิจารณ์  พานิช 


          กล่าวชื่นชมในความใส่ใจของคุณครู การศึกษาในยุกต์ต่อไปจะเปลี่ยนไปมาก ซึ่งจะขึ้นกับคุณครู จะกล่าวถึงบทบาทครูกับการเรียนรู้แบบใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนไปให้ทันต่อโลก ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อด้อยถ้าเทียบกับสมัยที่เราเป็นนักเรียน เดิมจะเรียนรู้จากชุดความรู้ที่ชัดเจน แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีอะไรที่ชัดเจน ความรู้ที่กำลังปฏิบัติยังไม่ชัดเจน การเรียนสมัยใหม่จะต้องทำให้เด็กเกิดทักษะที่ซับซ้อนชุดหนึ่งแทน ทักษะที่สำคัญที่สุดคือแรงบันดาลใจในตนเอง ที่จะเรียนรู้ ถ้าจะให้ดีก็ต้องกระตุ้นผู้อื่นได้ การเป็นคนดี มีความเป็นมนุษย์ ต้องมีทักษะในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ จะเกิดจากการปฏิบัติจริงเท่านั้น learning by doing and thinking การเรียนรู้สมัยใหม่ต้องได้ transformative เขาจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ทักษะทางสื่อมีหลายมุม มีดี  ไม่ดี สอนให้น้อย เรียนรู้ให้มาก สอนทักษะแบบบูรณาการ การอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น เป้าหมายสูงสุด คือการทำดีโดยไม่ต้องการคำชม 

 

 การเรียนรู้

        - สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง

        - การสอนที่ดี

        - ความรู้เดิม

        - การจัดระบบความรู้

        - แรงจูงใจ

        - รู้จริง อาจารย์มองว่าเด็กไทยมีไม่เกิน 20%

        - เรียนรู้โดยปฏิบัติ

        - ป้อนกลับ ให้เด็กลงมือทำ และจะต้องมีการสะท้อน นับเป็นเรื่องที่สำคัญ

        - พัฒนาการของนักเรียนและบรรยากาศ การเรียนสมัยใหม่ต้องเรียนเป็นทีม ได้ทั้งด้านอารมณ์และสังคม การเรียนรู้ที่ดีไม่มีถูก ไม่มีผิด

        - ผู้กำกับการเรียนรู้ ของตนเอง เด็กต้องรู้ว่าตัวเองมีสิธีการเรียนรู้ของตนเอง

 

         เรียนอย่างไร

         - ปฏิบัติ

         - ทำโครงงาน

         - ทำเป็นทีม

         - ฝึกค้นหาความรู้ วิธีการ เอามาทดลองใช้งาน

         - แล้วเขียนรายงานเป็นรายบุคคล

         - นำเสนอ (ต่อชั้นทีมชุมชน)เป็นทีม

         - ครูชวนนักเรียนทำ  AAR ว่าได้เรียนรู้อะไร ความรู้มีคุณค่าต่อชีวิตอย่างไร อยากเรียนอะไรต่อ  


เรียนให้ได้ทักษะ

          ปฏิบัตินำ และมี 5 คำถามหลักในการออกแบบการเรียนรู้ ต้องการให้นักเรียนได้ทักษะและความรู้ที่จำเป็น อะไรบ้าง จัดการเรียนรู้อย่างไร เพื่อให้เกิดทักษะเหล่านั้น รู้ได้อย่างไรว่าเด็กได้สิ่งนั้น ทำอย่างไรกับนักเรียนที่ยังไม่ได้ เรียนรู้หรือเรียนรู้ไม่ถึงเกณฑ์ที่คาดหวัง ทำอย่างไรกับเด็กที่รู้เกินกว่าที่คาดหวังจากการเรียนนั้น การนำแนวคิด “กลับทางห้องเรียน เรียนตัววิชาทีบ้าน อาจจะเป็นวิดีโอไม่เกิน15 นาที ทำการบ้านที่โรงเรียน” การดูวิดีโอที่บ้าน หรือสร้างข้อตกลงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี ต้องสอนให้รู้จักใช้เครื่องมือ เช่น การเล่น การหยุด ย้อนกลับ การจดบันทึก กำหนดให้ตั้งคำถามอย่างน้อย 1 คำถาม


บทบาทครูใน 21

  • ไม่ตั้งตนเป็นผู้รู้ แต่เป็นผู้เรียน เรียนรู้พร้อมกับเพื่อนครู สร้างความรู้ขึ้นใช้เองจากการ เรียนรู้ 
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู.คนอื่นๆบนโลก
  • รุกออกไปนอกโรงเรียน ใช้ทรัพยากรที่อยู่ภายนอกโรงเรียน จัดให้เรียนรู้จากชีวิตจริง
  • ส่งเสริมให้ศิษย์สร้างความรู้ขึ้นใช้เอง เรียนรู้ร่วมกับโลก เ
  • ป็นตัวอย่างที่ดี เสวนา เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ตุณงามความดี โดยเด็กไม่รู้ตัว ครูจะต้องมี Mindset ที่ถูกต้อง ตามยุค
  • ไม่เน้นสอนครอบคลุมหลักสูตร เน้นการจัดการเรียนรู้ทักษะและความรู้ที่จำเป็น
  • นร.ต้องเรียนให้รู้จริง เน้นเรียนโดยลงมือปฏิบัติ ไม่ใช่เรียนเพื่อสอบ ต้องเรียนเพื่อพัฒนาเต็มศักยภาพ เน้นประเมินเพื่อการพัฒนา  
  •  ครูต้องเรียนรู้จากการทำงาน
  • ทักษะการเป็นครู รู้จักนักเรียน
  • ทักษะการออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL 

หลังการบรรยาย เปิดให้มีการแลกเปลี่ยน ดังนี้


ผอ.พรเทพ เชียงขวัญ กล่าวถึงครู ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันหรือไม่ มี O-net มีการประเมินผลจาก สมศ. 


กิจกรรมช่วงบ่ายเริ่ม 13.30 น. การนำเสนอของโรงเรียนศูนย์ ถึงข้อตกลงระหว่างศูนย์และโรงเรียนในเครือข่าย และการขอรับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยและมูลนิธิ


ศูนย์กัลยา

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ