
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ การเขียนบล็อกในเว็บไซต์มูลนิธิสยามกัมมาจล วันที่ 22 สิงหาคม 2556 ที่โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. การรับฟังบรรยายการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
2. การประชุมแลกเปลี่ยนเพื่อกำหนดแนวทางของ CADL เพื่อพัฒนาโรงเรียนในเครื่อข่า
3. การเขียน blog ของมูลนิธิและของ gotonow
22/8/56
ผู้เข้าประชุมในวันนี้ที่ห้อง ห้องตกสิลาบอลลูม มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 400 คน โดยมีผู้ประสานงานจากกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปของ มมส. คณะครูของสถานศึกษาของ สพป.1 กาฬสินธุ์ สพป.3 มหาสารคาม และโรงเรียนในโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของมูลนิธิสยามกัมมาจล
เริ่มเปิดการประชุม เวลา 9.00 โดย รศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ จากนั้นบรรยายสรุปโดย ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม ได้ทบทวนในการทำงานในรอบปีที่ผ่านมาในการขับเคลื่อนสถานศึกษาของ สพป.1 กาฬสินธุ์ สพป.3 มหาสารคาม และโรงเรียนในโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของมูลนิธิสยามกัมมาจล ว่าในรอบปีนี้ได้ไปเยี่ยมโรงเรียนที่มี MOU ร่วมกันไว้แล้วว่าเห็นอะไร จะทำอย่างไร กับการขับเคลื่อนต่อไป อะไรคือแนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากโรงเรียน เพื่อสะท้อนให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำบางส่วนที่เห็นว่าสอดคล้องกับบริบทของตนเอง และทราบว่ามีใครทำอะไรบ้าง เราจะดูของจริงได้ที่ไหนกับใคร แล้วปิดเบรคเวลา 10.00 น หลังเบรคนี้จะมีการบรรยายพิเศษจาก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานมูลนิธิสยามกัมมาจล เริ่มบรรยายเมื่อเวลา 10.43 น. โดยขอสรุปความดังนี้
บทบาทของชุมชนต่อการจัดการศึกษาเปลี่ยนไปจากเดิม มีสิ่งยั่วยุรอบตัวเด็กมากมาย จุดที่สำคัญคือครูอย่าตกหลุมแบบเดิมเพราะที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วทำไม่สำเร็จ การเรียนรู้ยุกต์ไหม่ ต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาทั้ง ปัญญา อารมณ์ สังคม เด็กต้องเห็นคุณค่าของความดี มีความสุขเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่น การเรียนการสอบควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ฉะนั้นการเรียนที่สำคัญที่สุดไม่ใช่การท่องจำเนื้อหาวิชา แต่เป็นเรียนรู้จากการตีความจากประสบการณ์เป็นสิ่งที่สคัญที่สุด ครูจะต้องไม่ทำตัวเป็นผู้รู้ ครูจะต้องไม่ตอบคำถามเด็กแต่ต้องรู้จักการตั้งคำถามกับเด็ก ครูจะต้องกระตุ้นให้เด็กคิด โดยตั้งคำถามที่ทันสมัย คำถามที่ดีที่สุดคือคำถมที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ครูต้องใช้เวลาอย่างมีคุณค่าเมื่ออยู่กับเด็ก คุณค่าของครูในปัจจุบันนี้สูงกว่าในอดีต ครูต้องชวนเด็กทำ reflection ครูต้องระลึกเสมอว่า
1. เปลี่ยนจากสอนเนื้อหาวิชาไปเป็นฝึกทักษะให้เด็ก
2. ต้องให้เด็กได้เรียนวิธีการเรียนรู้
3. ต้องเรียนด้วยการปฏิบัติ เช่น การทำโครงงาน โดยเฉพาะการทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ทั้งหมดนี้เป็นการฝึกการทำงาน
4. ครูต้องรู้จักตั้งคำถาม เป็นคำถามที่เหมาะกับระดับ วัยและมีความท้าทาย
5 ไม่ใช่ห้องสอนแต่ต้องเป็นห้องเรียน ไม่ต้องเลิศหรู แต่ให้กับการเรียนรู้
6. ต้องทำให้เด็กมีส่วนร่วมสร้างความรู้ และรู้จักแบ่งปันแก่ผู้อื่น
7. เปลี่ยนจากครูสอนเป็นครูฝึก
8. ห้องเรียนกลับทาง แนวโน้มที่ สพฐ.กำลังส่งเสริม
- การเรียนสาระความรู้หรือเนื้อหาที่บ้าน จากครูไอที ซีดี
- ครูจะให้เด็กทำโจทย์ประยุกต์ที่เตรียมไว้สอน มีขบวนการฝึกทักษะที่โรงเรียน
- เด็กสามารถระดมความคิดเห็น จากงานวิจัยพบว่่เด็กเกิดการเรียนรู้จริงประมาณ 20% ที่เหลือฐานไม่ดี ทำให้การเรียนในชั้นที่สูงขึ้นยิ่งมีปัญหามากขึ้น
- ในห้องเรียนครูต้องช่วยเหลือกที่อ่อน เรียนช้า (และพบว่าครูไทย เอาใจใส่กับเด็กที่เรียนเก่ง ทอดทิ้งเด็กที่เรียนช้า)
- ทำให้ห้องเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัย ไม่ใข่สถานที่ต้องลงโทษ และดูถูกดูแคลนเด็ก เพราะการเรียนรู้เกิดจากความมั่นใจ และต้องมีความั่นใจในตัวเอง
- จัดห้องเรียนให้เป็นสถานที่ทำงาน สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก
- การประเมินต้องทำสองอย่าง ประเมินเพื่อช่วยเหลือ และ ประเมินแบบเพื่อเลื่อนชั้นคือได้ตก ข้อสอบที่ดีต้องออกข้อสอบแบบพิชช่า
- ครูไม่จำเป็นต้องทำสื่อเอง อาจจะหาจากสื่อที่มีอยู่แล้ว
- ครูนอกกรอบ กับห้องเรียนนอกแบบ (ไทย-> โรงเรียนรุ่งอรุณ)
- ครูจะต้องพานักเรียนทำ BAR AR และ AAR
- ครูจะต้องรู้จักทำงานเป็นทีม PLC
- สิ่งที่ครูต้องตระหนักคือไม่ใช่ เนื้อหา แต่เป็นขบวนการ
- ครูจะต้องยอมรับฟีดแบล็กที่ได้จากห้องเรียนเพื่อปรับเปลียนการสอนของตนเอง
- การเรียนรู้ในศัตวรรษที่ 21 เป็นสิ่งท้าทายเพราะไม่มีอะไรที่ตายตัว ครูต้องปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์ในปัจจุบัน
ในช่วงบ่ายมีการประชุมกรรมการเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการเรียนรู้ื LLEN และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL) เพื่อรับฟังความเห็น วางกรอบนโยบายการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน กรรมการ ที่ประกอบจากหลายภาคส่วย สพป.1,2,3 มหาสารคาม สพม.26 มหาสารคาม สฟป ๑ กาฬสินธุ์ อบจ.มหาสารคาม เทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยมี อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธาน เมื่อเวลา 13.30 น.
และได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ร่วมประชุมเพื่อให้ข้อเสนอแนะ และมีตัวแทนจากโรงเรียนจาก สฟป ๑ กาฬสินธุ์ สฟป ๓ มหาสารคาม และโรงเรียนในเครือข่าย ปศพพ ของศูนย์อีสานตอนบน เป็นผู้ร่วมสังเกตการ รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดในช่วงบ่ายประมาณ 70 คน เป้าหมายในการประชุมในวันนี้เพื่อให้ CADL เป็นกลุ่มงานหนึ่งในสังกัดสำนักศึกษาทั่วไป เพื่อให้ทำหน้าที่ในการให้บริการทางการศึกษาแก่ชุมชนได้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้น
อธิการบดี กล่าวถึงกรณีนายกยิ่งลักษณ์กล่าวถึงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแผล่งผลิตบัณฑิตของทั้งประเทศ แต่ทำไมคนมหาสารคามจึงไม่สามารถเข้าเรียนได้ ทางอธการบดี ได้ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ประชาชนมีงานทำมีรายได้ กินดีอยู่ดี และเป็นหน่วยสนับสนุนสำหรับการฝึกงานของบัณฑิต การรับคนเข้ามาศึกษา มหาวิทยาลัยจะได้ดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผอ.สำนักศึกษาทั่วไป ในฐานผู้บริหารงาน CADL กล่าวถึงภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัยจะจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น วันนี้เรามี CADL เป็นงานหนึ่งเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน และนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นจริงผ่านหน่วยงานที่ทำ MOU ไว้แล้ว เช่น สฟป ๑ กาฬสินธุ์ สฟป ๓ มหาสารคาม และโรงเรียนในเครือข่าย ปศพพ ของศูนย์อีสานตอนบน ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานในการจัดทดสอบออนไลน์ได้ ซึ่งทุกหน่วยงานก็มีการทดสอบอยู่แล้วก็จะได้ทำงานร่วมกันได้ และสามารถให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบงานใหม่ๆร่วมกันได้ มีหน่วยงานอื่นๆที่อยู่ในความดูแลของสำนักศึกษาทั่วไป เช่น ศูนย์ภาษา สำนักพิมพ์
รอง ผอ.สพป.มค3 แจ้งให้ทราบว่า เขตต้องการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และการสอนเพื่อการสร้างทักษะชีวิต และจะต้องการสร้างทักษะ การออก เขียนได้ และคิดเลขเป็นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จะเน้นการคิดวิเคราะห์ แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร สฟป.กส1 โดย รอง.ผอ. จะต้องเร่งพัฒนาคุณภาพ มุ่งสู่มาตรฐานสากลบนฐานของความพอเพียง ONET NT& LAS ศิลปหัตกรรมนักเรียน งานสำนักงานต้องจะต้องปรับปรุ่งระบบทำงานให้ทันสมัย และทำงานเป็นทีม การบริหารสมัยไหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วม นัยที่สอง ได้ระคมความคิดในการพัฒนาการศึกษา-ตระหนักรู้ เป็นคนดี คน เก่ง อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เน้นที่ครู ซึ่งทางเขตได้ทำ MOU กับ มมส.
- มีการทำ MOU ระหว่างผู้บริหารกับเขต
- นักเรียน ป.3 ต้องอ่านออกเขียนได้ 100%
ผอ.สุรภีร์ ผอ.กองการศึกษาของ อบจ.มหาสารคาม กล่าวถึงนโยบายการศึกษาของ อบจ.ที่เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งหมด เน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษา ต้องผลิตคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีนโยบาย หนึ่งคนสองใบประกาศ ร่วมกับวิทยาลัยการอาชีพ เรียนวิชาสามัญที่โรงเรียน เรียนวิชาชีพที่วิทยาลัยง เด็กสามารถเรียนตามความชอบ พบว่าเด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เพราะเรียนในสิ่งที่ชอบและกำลังวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อย จุดเด่นคือวงจรบริหารสั้น จึงสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วสำหรับโครงการที่คิดว่ามีประโยชน์ก็สามารถดำเนินการได้ทันที
รอง วัลลภ รองนายก เทศมนตรีเมืองมหาสารคาม กล่าวว่ามีโรงเรียนในสังกัด 7 โรง มีนักเรียน 400 ครู 200 คน มีนโยบาย เด็กมีความรู้ อยู่ปลอดภัย ให้ทักษะชีวิต และทิศทางของเศรษฐกิจ สังคม องค์ความรู้ และคุณภาพของคน การเตรียมคนสู่อาเซียนจะเน้นการอยู่ร่วมกัน และผู้บริหารจะต้องชัดเจน และครูผู้สอนจะต้องเต็มที่กับงานของตน และครูต้องการนำความเก่งของตัวเองออกมาให้ได้
อธิการบดี กล่าวถึงมหาวิทยาลัยใด้งบประมาณในการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน และการเตรียมผู้นำนักศึกษา และอาจจะขอขยายไปถึงโรงเรียนและอาจจะต้องมีการเตรียมความพร้อมกับการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสามารถให้ความร่วมมือได้ การทำคลังข้อสอบ มหาวิทยาลัย มี ภาษาอังกฤษ และ ICT
นพ.วิจารณ์ ได้ให้ข้อสังเกตจากการฟังในเวลาจำกัด
มีข้อยุติตรงกันคือมีเป้าหมายที่เด็ก CADL จะต้องมียุทธศาสตร์ที่ทำอะไรที่เห็นผลได้ในครึ่งปี ถึงแม้จะมีแผนระยะยาวอยู่แล้ว แต่ละโรงเรียนจะต้องมี Quick win จะต่องเริ่มจากจุดแข็งและทำการขยายจุดแข็ง คือหนุนครูที่ทำดี หรือทำกิจกรรมกับครูที่มีคุณภาพ เช่น ให้โอกาสได้รับคำชม จากผู้ปกครอง ผู้บริหาร ได้รับความดีความชอบ ให้ครูมีการเสนอกิจกรรม เริ่มจากจุดเล็กๆ จะต้องมี Quick win ฝากคำถามกับอธิการบดี คือ มีเด็กที่เป็นครีมที่จะสามารถส่งเข้าสู่มหาวิทยาลัยหรือไม่ มหาวิทยาลัยพร้อมที่รับเด็กเหล่านี้ไหม มหาวิทยาลัยเข้าถึงโรงเรียนหรือไม่ และสามารถนำเด็กที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่มหาวิทยาลัยได้ไหม เสนอให้เปิดวิชาเฉพาะที่เด็กสามารถเรียนข้ามระดับ เช่นเดียวกับ honour program และมหาวิทยาลัยจะต้องแสดงบทบาทต่อการพัฒนาพื้นที่ มีหลักสูตรใดบ้างไหมที่มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม หรือท้องถิ่น เพื่อสร้างงานและพัฒนาท้องถิ่นไปด้วยในตัวการสร้างบัณฑิตไม่ใช่ได้ปริญญา แต่เป็นการสร้างงาน ต้องทำกับหน่วยงานในทุกระดับ ซึ่งจะต้องมีระบบจัดการที่ดี เช่น ใส่ทรัพยากรเข้าไป ให้งบประมาณ ตั้งหน่วยงานลงมาแล้วตั้งเป้าให้ชัดเจน และทำให้จบ ไม่มีพรรคมีพวก พวกของเราคือประเทศไทย แต่ทุกอย่างต้องเริ่มด้วย action ที่โรงเรียน เขตพื้นที่เป็นตัวหนุน ให้อิสระแก่ผู้ปฏิบัติ เพราะเราสร้างเด็กที่เป็นของตัวเอง เขาต้องทำเองและเรียนรู้เอง
อธิการบดี อยากให้มหาวิทยาลัย เป็นฮับทางการศึกษา และทางด้านการแพทย์ เพราะเราอยู่ตรงศูนย์กลางของภาคอีสาน จุดอ่อนของเราคือ ภาษา เราก็พยายามตั้งศูนย์ภาษาอังกฤษ จีน(ขงจื้อ) ญี่ปุ่น และเกาหลี(เซจง)
ผอ.อุทิน ผอ.งานประเมินผลและนิเทศก์ของ สพม.26 มหาสารคาม พบว่าเวลามีกิจกรรมครูมักจะตื่นตัว แต่จะไม่มีความเสมอต้นเสมอปลาย คุณครูมักรอคำสั่งในการปฏิบัติ ทำไม่ถึงเป็นเช่นนั้น ทั้งที่ครูก็ทำงานได้ดีแต่คุณครูขาดความมั่นใจ อยากฝากหน่วยผลิตอย่างมหาวิทยาลัย ให้สร้างบุคลากรที่สามารถเป็นหลักในการศึกษายุกต์ไหม่ ปัญหาหลักคือครูรุ่นเก่ายังไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งรอบตัวไหม่ และที่สำคัญยังไปครอบงำเด็กรุ่นใหม่จนไม่สามารถทำงานได้ ดร.ฤทธิไกร เริ่มจากครูและโรงเรียน แล้วพวกเราจะเข้าไปสนับสนุน และทำการกำหนดกรอบความร่วมมือ 4 ด้าน
- ด้านเครือข่าย LLEN
- พัฒนาครู และ PLC
- พัฒนาระบบวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์
- ขับเคลื่อนด้าน ปศพพ และทักษะในศัตวรรษที่ 21
- การเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน และความเป็นพลเมืองโลก
ปิดการประชุมกรรมการ เวลา 15.15 น.
เบรคสุดท้าย ดร.ฤทธิไกร ได้แนะนำให้ครูได้ใช้เครื่องมือที่มีอยู่และใช้ได้ฟรีในโลกออนไลน์ในการทำงาน เช่น การใช้ google+ เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล รูปภาพ วีดีโอ และการแชร์ข้อมูลเหล่านี้ในบล๊อก โดยเฉพาะบล๊อกของมูลนิธิสยามกัมมาจลและ การสมัครเข้าใช้ gotoknow แล้วให้ทุกคนไปอ่านบล๊อกที่จะแนะนำการใช้งานอย่างลัเอียด ปิดการประชุมแลกเปลี่ยนประมาณ 16.30 น.
ไพรัตน์ ธรรมแสง ทีมอีสานตอนบน รายงาน
การประชุมในวันนี้
1. มีผู้เข้าร่วมรับฟังประมาณ 400 คน
2. มีคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 70 คน และได้กรอบการทำงานของ CADL
3. ,มีครูผู้เขียนบล็อกเข้าร่วมประมาณ 50 คน และได้มีความเข้าใจเบื้องต้นในการเตรียมข้อมูลในการเขียนบล็อก