กิจกรรมเยี่ยม ติดตามการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านวังตาอินทร์ ครั้งที่ 1 วันที่ 26 มีนาคม 2555
วัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรมเยี่ยม/ติดตาม
1. เพื่อประเมินศักยภาพเบื้องต้นของโรงเรียนในเครือข่าย ในด้านความพร้อมที่จะรับการประเมินการเป็นศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อหนุนเสริมองค์ความรู้และสร้างความเข้าใจในการพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนให้มีความพร้อมที่จะรับการประเมินการเป็นศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อหนุนเสริมองค์ความรู้และสร้างความเข้าใจของโรงเรียนที่เป็นศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ดำรงสถานภาพการเป็นศูนย์ฯ และการรองรับการศึกษาดูงาน ตลอดจนการขยายเครือข่ายการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาอื่นๆ
21/5/55 |
เยี่ยมติดตามการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านวังตาอินทร์
วัตถุประสงค์การเยี่ยม/ติดตามครั้งที่ 1
- เป็นการเยี่ยมเชิงกัลยาณมิตร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หนุนเสริมองค์ความรู้ และสร้างความเข้าใจกับผู้บริหาร ครูแกนนำ และนักเรียนแกนนำในโรงเรียนให้มากขึ้น พร้อมทั้งดูปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน
โรงเรียนบ้านวังตาอินทร์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลยางราก อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 มีเนื้อที่ 34 ไร่ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนรวม 343 คน มีข้าราชการครู 16 คน นักการภารโรง 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน ครูพี่เลี้ยง 3 คน รวมบุคลากร 21 คน อาคารเรียน 3 หลัง ห้องเรียน 12 ห้อง ห้องพิเศษ 6 ห้อง และองค์การบริหารส่วนตำบลยางรากได้ก่อสร้างศูนย์พัฒนาอนุบาล 3 ขวบ 1 หลัง โรงเรียนบ้านวังตาอินทร์ เปิดทำการเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2551 รวมทั้งสิ้น 18 ห้อง ปัจจุบันเป็นโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนศูนย์ปฏิรูปทางการศึกษา เครือข่ายโรงเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนวิถีพุทธสถานศึกษาพอเพียง พ.ศ. 2552 ด้านการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการในการเรียนการสอนนั้น กิจกรรมหรือโครงงานต่างๆ จะเน้นเรื่องของการเกษตรเป็นหลัก เนื่องจากอยู่ในชุมชนที่เป็นชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ดังนั้น โครงงานในการเป็นฐานการเรียนการสอนของโรงเรียนจึงเน้นด้านการเกษตรเพื่อทำให้การบูรณาการเข้าใจง่ายต่อการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน คือ 1. ผู้บริหารให้ความสำคัญ สนับสนุนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียน 2. กลุ่มงานบริหารให้การสนับสนุน และได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานขับเคลื่อน 3. ครูและบุคลากรได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาศักยภาพด้านความรู้ นำไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนการสอน 4. บริบทของโรงเรียน เอื้อต่อการออกแบบกิจกรรม เชื่อมโยงไปสู่การเรียนการสอนแบบบูรณาการ 5. มีแหล่งเรียนรู้และฐานกิจกรรมในการพัฒนาผู้เรียนในบริเวณโรงเรียน |
|