กิจกรรมเยี่ยม ติดตามการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนคลองกิ่วยิ่งวิทยา ครั้งที่ 1 วันที่ 30 มีนาคม 2555
วัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรมเยี่ยม/ติดตาม
1. เพื่อประเมินศักยภาพเบื้องต้นของโรงเรียนในเครือข่าย ในด้านความพร้อมที่จะรับการประเมินการเป็นศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อหนุนเสริมองค์ความรู้และสร้างความเข้าใจในการพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนให้มีความพร้อมที่จะรับการประเมินการเป็นศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อหนุนเสริมองค์ความรู้และสร้างความเข้าใจของโรงเรียนที่เป็นศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ดำรงสถานภาพการเป็นศูนย์ฯ และการรองรับการศึกษาดูงาน ตลอดจนการขยายเครือข่ายการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาอื่นๆ
10/5/55 |
เยี่ยม/ติดตามการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนคลองกิ่วยิ่งวิทยา จ.ชลบุรี
วัตถุประสงค์การเยี่ยมติดตามครั้งที่ 1
- เป็นการเยี่ยมเชิงกัลยาณมิตร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หนุนเสริมองค์ความรู้ และสร้างความเข้าใจกับผู้บริหาร ครูแกนนำ และนักเรียนแกนนำในโรงเรียนให้มากขึ้น พร้อมทั้งดูปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน
โรงเรียนคลองกิ่วยิ่งวิทยา ตั้งอยู่ที่บ้านหัวกุญแจ เลขที่ 639/1 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โรงเรียนคลองกิ่วยิ่งวิทยา เป็นโรงเรียนประจำตำบล สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2529 ปัจจุบัน ดร. ฐิตินันท์ ทิพยางกูร ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียน และอนุมัติให้เปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ รวม24 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 765 คน ครู - อาจารย์ จำนวน 40 คน และมีนักการภารโรง 4 คน ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน คือ 1. ผู้บริหารให้ความสำคัญ สนับสนุนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียน 2. กลุ่มงานบริหารให้การสนับสนุน และได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานขับเคลื่อน 3. ครูและบุคลากรได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาศักยภาพด้านความรู้ นำไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนการสอน 4. บริบทของโรงเรียน เอื้อต่อการออกแบบกิจกรรม เชื่อมโยงไปสู่การเรียนการสอนแบบบูรณาการ 5. มีแหล่งเรียนรู้และฐานกิจกรรมในการพัฒนาผู้เรียนในบริเวณโรงเรียน |
|