กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพครูแกนนำภาคตะวันออก
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

             อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพ ครูแกนนำ ภาคตะวันออก เพื่อพัฒนาศักยภาพครูให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการออกแบบการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย ทีมวิทยากรจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์

­

             โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และมูลนิธิสยามกัมมาจล เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษาพอเพียงได้พัฒนาตนเองเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา และมีความพร้อมที่จะเป็นแกนนำสำคัญในการขยายผลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศ ตามยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงศึกษาธิการ

­


ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเป็นผู้ดำเนินการสนับสนุนด้านวิชาการและการจัดกระบวนการเสริมศักยภาพให้กับครูแกนนำของโรงเรียนในภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2555 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ ถนนราชวิถี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีจำนวน 12 โรงเรียน และแกนนำครูเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 96 คน ซึ่งมีทีมวิทยากรจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการออกแบบการเรียนรู้ในสถานศึกษาภาคตะวันออก ดังนี้

1. เพื่อเสริมสร้างครูแกนนำในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน
2. เพื่อให้ครูแกนนำในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถออกแบบกิจกรรมในการเรียนรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละกลุ่มสาระและกิจกรรม
3. เพื่อปรับมโนทัศน์ของการจัดการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าถึงนักเรียน

­

13/1/55
  • กิจกรรมเกมผู้นำพอเพียง เกมผู้นำพอเพียง (The Leader) เป็นเกมที่่พัฒนาให้เกิดความรู้และเข้าใจความหมายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านการเล่นเกม โดยกิจกรรมดังกล่าวมีจำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมจำนวน 12 โรงเรียน และมีครูแกนนำเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 96 คน โดยกระบวนการของกิจกรรม คือ แบ่งกลุ่มแกนนำครูตามจำนวนโรงเรียนและมีพี้เลี้ยงประจำกลุ่มกลุ่มละ 1 คน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างการดำเนินการเล่นเกม จากนั้นให้ครูแกนนำแต่ละโรงเรียนเล่นเกมผู้นำพอเพียง และอภิปรายเกี่ยวกับความเข้าใจในการเล่นเกมเพื่อเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวดำเนินกระบวนการโดยทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล

  • กิจกรรมสานสัมพันธ์มุ่งมั่นสู่ศูนย์การเรียนรู้พอเพียง เป็นกิจกรรมชวนคิดชวนคุย และการสร้างบรรยากาศที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (จิตปัญญา) Deep listening, Get together เพื่อสร้างสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และให้ครูแกนนำมีความรู้สึกผ่อนคลายและมีความพร้อมในแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงและไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาร่วมกัน ซึ่งดำเนินกระบวนโดย ศูนย์์จิตปัญญาศึกษา ม.มหิดล

­

14/1/55
  • บรรยายพิเศษบทบาทของครูตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อปรับมโนทัศน์และแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของครูในการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บรรยาพิเศษโดย รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี

  • กิจกรรมสร้างความเข้าใจในการออกแบบการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระและกิจกรรม ดำเนินกระบวนการ โดย ทีมวิทยากรกระบวนการจากโรงเรียนลำปลายมาสพัฒนา จ.บุรีรัมย์และทีมมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นกิจกรรมการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Backward Design) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เครื่องมือต่างๆที่ทำให้เด็กเกิดกระบวนการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละรายวิชา และทำให้สามารถออกแบบการเรียนรู้ตามแผนการสอนโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละกลุ่มสาระและกิจกรรม

­

15/1/55
  • กิจกรรมเปิดกาย เปิดใจ (จิตศึกษา) เป็นกระบวนการในการนำไปสู่จิตวิทยาเชิงบวก ปัญหาภายในและปัญญาภายนอก เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้ โดยทีมวิทยากรกระบวนการโรงเรียนลำปลายมาสพัฒนา จ.บุรีรัมย์

  • ประชุมกลุ่มแต่ละโรงเรียนเรื่องการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามกลุ่มสาระและกิจกรรม (ตัวอย่างโครงการบูรณาการ) โดยให้เวลาครูแต่ละโรงเรียนได้เขียนแผนการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบบูรณาการตามกลุ่มสาระและกิจกรรม และนำเสนอแผนตามแต่ละโรงเรียนในเรื่องของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระและกิจกรรม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและเครือข่ายครูแกนนำในการปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

        ผลที่ได้รับจากการอบรมเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาภาคตะวันออก


  • กิจกรรมเล่นเกมส์ผู้นำพอเพียง (The Leader) ครูแกนนำในแต่ละกลุ่มสาระของโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมอบรม มีความรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียง มากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การมีเหตุมีผล รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน เพื่อให้ภาระกิจต่างๆ บรรลุเป้าหมาย


  • กิจกรรมกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (จิตศึกษา) Deep listening, Get together สร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทลายกำแพงระหว่างบุคคลเกิดการเปิดใจเปิดกายเตรียมพร้อมที่จะรับการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดแนวคิดในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข


  • บรรยายพิเศษ ปรับมโนทัศน์แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทของครูแกนนำ ในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ในสถานศึกษา


  • กิจกรรมสร้างความเข้าใจการออกแบบการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระและกิจกรรม (Backward Design,Problem-based Learning) ครูแกนนำสามารถเข้าใจถึงการออกแบบการเรียนรู้ตามแผนการสอนโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละกลุ่มสาระและกิจกรรม และได้เครื่องมือตัวอย่างในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ เพื่อทำให้เด็กเกิดกระบวนการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรายวิชาต่างๆ ได้


เครื่องมือที่ได้ คือ

1. จิตศึกษา กระบวนการในการนำไปสู่จิตวิทยาเชิงบวก ปัญหาภายใน และปัญญาภายนอก

1.1 Brain Gym การพัฒนากระบวนการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวา

1.2 เรื่องเล่า ได้แก่ การเล่นนิทาน การเล่าประสบการณ์และวรรณกรรม

1.3 คำขอบคุณ ได้แก่ การกล่าวขอบคุณในประโยชน์ในสรรพสิ่งต่าง เพื่อให้เห็นคุณค่าและความงาม

1.4 Empower ได้แก่ การยิ้ม สบตา สัมผัส กอด และกล่าวคำชม

1.5 การกำกับสติด้วยการเดิน การแตะสัมผัส และการเล่นกับอุปกรณ์ต่างๆ

1.6 การฝึกโยคะสมาธิ เพื่อเตรียมร่างกายให้มีความพร้อมในการเรียนรู้

1.7 การปลีกวิเวก คือ การฝึกสมาธิ อยู่กับตนเองอย่างมีสติ


2. เครื่องมือการคิด  เป็นเครื่องมือที่ใช้ออกแบบหน่วยการเรียนการสอนอย่างบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทิภาพ

2.1 Key Question คือ คำถามชวนคิด

2.2 Think Pair Share คือ การคิดเพียงลำพัง การจับคู่คิด และการรวมกลุ่มคิด

2.3 Place Map คือ การแชร์ความคิดในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม

2.4 Mind Mapping คือ ผังความคิด แบบ โทนี่ บูซาน

2.5 ผังความคิด แบบ WEB

2.6 Round Table คือ การระดมความคิดแบบกลุ่มหรือรอบโต๊ะ

2.7 Round Robin คือ การล้อมวงแสดงความเห็นทีละคน

2.8 Card and Chart คือ การบวนการต่างคน ต่างคิด ต่างเขียน และนำไสู่การจัดหมวดหมู่จากสิ่งที่ทุกคนคิดได้ทั้งหมด

2.9 การสร้างวิถีชุมชนตามหลักของปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน และเข้าใจในอัตลักษณ์ของโรงเรียนตนเอง

  • กิจกรรมการออกแบบหน่วยการเรียนการสอน แต่ละโรงเรียนสามารถออกแบบหน่วยการเรียนการสอนแบบบูรณาการในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน และได้ตัวอย่างแผนการเรียนการสอนเชิงบูรณาการของแต่ละโรงเรียน

  • กิจกรรมการนำเสนอแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามกลุ่มสาระ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและครูแกนนำแต่ละโรงเรียน เพื่อเป็นการพัฒนาแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามกลุ่มสาระและกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ตัวอย่างความสำเร็จ

สถานการณ์เดิมที่เป็นข้อเท็จจริงของกลุ่มโรงเรียนในภาคตะวันออก ทั้ง 22 แห่ง มีโรงเรียนที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ 2 แห่ง คือ โรงเรียนลาซาล (มารดาพิทักษ์) และโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จังหวัดจันทบุรี ในส่วนโรงเรียนอีก 20 แห่ง มีทั้งที่เป็นสถานศึกษาพอเพียงและยังไม่ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง แต่ทุกโรงเรียนมีศักยภาพในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนนักเรียนตามศักยภาพความรู้ ความสามารถและบริบทของตนเอง เป็นต้น โดยทั้งนี้จากบทสรุปเมื่อดำเนินกิจกรรมปรากฏว่าโรงเรียนต่างๆ ทั้งหมดที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบหน่วยการเรียนการสอนในรูปแบบ Backsword Design ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น ดังตัวอย่าง เช่น โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จ.จันทบุรี เป็นศูนย์การเรียนรู้ เป็นโรงเรียนที่ออกแบบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโรงเรียนมีครูแกนนำที่ทำงานเป็นทีมในแต่ละช่วงชั้น สามารถออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี

เมื่อครูแกนนำของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ได้เข้าร่วมในการฝึกอบรมในครั้งนี้ทำให้ครูแกนนำของโรงเรียนมีความรู้และความเข้าใจในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีความรู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพราะการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการและหรือการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบ Backsword Design ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สามารถทำได้อย่างไร ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนตนเอง และมีเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและเพื่อการประเมินผลมากมาย เช่น การตั้งชุดคำถาม Think Pair Share, Mind mapping, Round table ฯลฯ เป็นต้น

ส่วนในโรงเรียนอื่นๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมครูแกนนำของโรงเรียนนั้นๆ ต่างก็มีความรู้ความเข้าใจในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปออกแบบการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนตนเองมายิ่งขึ้น เช่น โรงเรียนคลองกิ่วยิ่งวิทยา โรงเรียนบุญสมวิทยา โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย เป็นต้น

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ