
สืบเนื่องจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพโรงเรียนและสถานศึกษา ที่มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ทางมูลนิธิสยามกัมมาจลฯ จึงได้ร่วมกับบริษัท คลับ ครีเอทีฟ จำกัด ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ "ปลูกความคิด สาธิตผ่านศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงฯ" เฟส 2 ขึ้น เพื่อเป็นการสนันสนุน ต่อยอดแนวคิด และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับครู นักเรียน ที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฎิบัติใช้ในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม โดยสอดคล้องกับบริบทของชุมชน สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และสังคมได้อย่างกลมกลืน
หลักการเหตุผล
สืบเนื่องจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพโรงเรียนและสถานศึกษา ที่มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นมูลนิธิฯ ได้ร่วมกับบริษัท คลับ ครีเอทีฟ จำกัด จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ “ปลูกความคิด สาธิตผ่านศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงฯ”ขึ้นในเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา เพื่อให้ครูในโรงเรียนได้พัฒนาแนวคิดแบบองค์รวม และนำความรู้ที่ได้ไปออกแบบจัดกระบวนการกิจกรรมการเรียนรู้ และขยายผลสู่นักเรียนได้อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
ดังนั้น จากผลความคืบหน้าของโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ซึ่งครูได้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ไปขยายผลสู่นักเรียนในโรงเรียน ทางมูลนิธิฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการให้การสนับสนุนองค์ความรู้ สู่ผู้บริหาร ครู และนักเรียนอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ“ปลูกความคิด สาธิตผ่านศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงฯ”เฟส 2 ขึ้น เพื่อเป็นการต่อยอดแนวคิด และกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับโรงเรียนที่นำไปปฎิบัติใช้อย่างเป็นรูปธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และสังคมได้อย่างกลมกลืนในแต่ละสถานศึกษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาครู นักเรียน ให้สามารถสื่อสารแนวคิดที่มาของโครงการ /ฐานการเรียนรู้ วิเคราะห์ กิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการ และผลที่ได้รับตามบริบทของตนเองอย่างชัดเจนตามหลักแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. ส่งเสริมและผลักดันครูผู้รับผิดชอบโครงการ/ ฐานการเรียนรู้ของโรงเรียนให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยนำมาบรูณาการกับสาระการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนในเครือข่ายที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. สร้างจิตสำนึกสาธารณะของการอยู่ร่วมกัน และส่งเสริมให้นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้รับไปเชื่อมโยงกับบทเรียน พร้อมนำไปปรับใช้กับตนเอง และในสถานศึกษา
กลุ่มเป้าหมาย
ครู จากโรงเรียน และสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 4 โรงเรียน (โรงเรียนแต่ละแห่ง มีครูอบรม จำนวน 4-6 คน นักเรียนยุวชน แกนนำระดับชั้น ม.2, 4, 5, 6 จำนวน 15-60 คน)
ระยะเวลาดำเนินการ
เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2555
สถานที่
- โรงเรียนโพนทองวิทยายน จ.ร้อยเอ็ด*
- โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จ.จันทบุรี*
- โรงเรียนศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
- โรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม จ.ร้อยเอ็ด
(*สรุปแนวทางการจัดอบรมเชิงปฎิบัติการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
กิจกรรม แบ่งออกเป็น 4 ช่วงคือ
1. ติดตามผลความคืบหน้าจากโรงเรียน และสถานศึกษา จำนวน 4 แห่ง
- ลงพื้นที่สำรวจความคืบหน้าโครงงาน / ฐานการเรียนรู้ของโรงเรียน
- วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับโรงเรียน เพื่อออกแบบแนวคิดการจัดอบรม และกิจกรรมของโรงเรียน
- รายงานความคืบหน้าของโรงเรียน
ระยะเวลา : วันที่ 25 พ.ค.- มิ.ย. 55
2. การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ สถานศึกษา จำนวน 2 โรงเรียน
- โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จ.จันทบุรี หัวข้อ “ถอดรหัสกำจัดขยะ”
- โรงเรียนโพนทองวิทยายน จ.ร้อยเอ็ด หัวข้อ “สร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อห้องน้ำสวยด้วยมือเรา”
- รายงานความคืบหน้าจากการจัดอบรมในสถานศึกษา
ระยะเวลา : เดือนก.ค.- วันที่ 8 ก.ย.55
3. ติดตามและประเมินผล จำนวน 4 โรงเรียน
- โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จ.จันทบุรี
- โรงเรียนโพนทองวิทยายน จ.ร้อยเอ็ด
- โรงเรียนศีขรภูมิฯ จ.สุรินทร์
- โรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม จ.ร้อยเอ็ด
ระยะเวลา : เดือนต.ค. - ธ.ค.55
ผลที่คาดจะได้รับ
1. ครู และนักรียนสามารถสื่อสารแนวคิดที่มาของโครงการ ออกแบบฐานการเรียนรู้ หรือ กิจกรรม ที่นำไปปฎิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในโรงเรียน โดยสอดคล้องกับแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. นักเรียนเกิดจิตสำนึกสาธารณะที่ดี นำไปสู่การทำประโยชน์ต่อตนเอง ที่บ้านโรงเรียน และชุมชนฯลฯ
3. เกิดการสร้างเครือข่าย ต่อยอดการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และสถานศึกษา
รุปใบประเมินการอบรม
โรงเรียน สตรีมารดาพิทักษ์ จันทบุรี
การอบรมหัวข้อ “ถอดรหัสกำจัดขยะ จากปัญหาสู่การจัดการอย่างพอเพียง และยั่งยืน”
จัดอบรม ในวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2555 เวลา 08:30 – 15:30 น.
กลุ่มเป้าหมาย :
- นักเรียน 22 คน (ระดับชั้น ม.4 จำนวน 5 คน, ม.5 จำนวน 14 คน, ม.6 จำนวน 3 คน)
- ครู 4 ท่าน (ครูแกนนำ 1คน, ครู สาระวิทย์ 1 คน, ครูศิลปะ 1 คน, ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ 1 คน)
1. นักเรียนได้รู้อะไรเพิ่มเติมจากการอบรม
- ได้รู้ถึงปัญหาของขยะ แม้จะเป็นชิ้นเล็กๆก็สามารถทำร้ายโลกและตัวเราได้มากมาย
- ได้รู้ถึงสิ่งต่างๆที่เรียนว่าขยะ เพราะในบางครั้งเราก็มองข้ามไป
- ได้รู้ถึงแนวความคิดต่างๆ มองเห็นสาเหตุต่างๆของสิ่งในชีวิตประจำวันที่เราอาจมองข้ามไป ได้เปลี่ยนแนวคิด ของเราให้ดีขึ้น
- รู้วิธีการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ , การรู้จักแตกความคิด ของตนเองในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- รู้จักวิธีค้นหาหัวข้อที่น่าสนใจในการทำงาน
- เทคนิคการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ ที่ไม่ใช่การพูดปากเปล่าๆ
- การคิด หรือการกำหนดหัวข้อด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์
- ได้รู้ว่ามนุนย์ 1 คน สามารถสร้างขยะได้ในแต่ละวันถึง 1.5 กิโลกรัม ทำให้เกิดมลพิษต่างๆมากมาย
- ได้รู้จักการลำดับขั้นตอนของการทำสารคดี หนังสั้นว่า เราควรคิดถึงปัญหา แล้วก็ตามหาสาเหตุว่าใครทำ ทำอย่างไรก่อน แล้วจึงนำมารวมเป็นสื่อนำเสนอ
- เราควรคิดชื่อเรื่องที่เราจะทำให้หลากหลาย ก่อนตัดสินใจนำชื่อเรื่องนั้นมาลงมือทำ
- ได้เรียนรู้เรื่องขยะ แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญกับชีวิตคนเรา แต่คนนี้เองที่สร้างขยะขึ้นมา เมื่อมีขยะ เราก็ต้องรู้จักวิธีในการแยกขยะให้ถูกต้อง เพื่อจะได้กำจัดอย่างถูกวิธี
- การที่เราทิ้งขยะเพียงเล็กน้อย หรือละเลยการคำนึงถึงผลเสียของขยะจะสามารถทำให้เกิดผลเสียตามมาเยอะมากกว่าที่คิด
- ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานของครีเอทีฟ
- ได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะกระบวนการคิดให้ ถูกวิธีเข้าใจง่ายและมีเหตุผล และรู้ว่า ครีเอทีฟนั้นคิดอย่างไรกับงานต่างๆ โดยให้เรานำความคิดเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับงานของเราเพื่อจะให้งานนั้น สมบูรณ์ที่สุด
- การที่คนเราสร้างขยะมากเท่าใด ก็จะมีผลกระทบกลับมาเท่านั้น แค่ขยะชิ้นเดียวก็อาจเป็นสาเหตุของขยะล้นได้ ถ้าทุกคนคิดว่าขยะแค่ชิ้นเดียวไม่เป็นปัญหากับตัวเราและโลก
- ได้ประสบการณ์เพิ่ม ได้ความรู้ใหม่จากเรื่องราวของขยะ (Junks) ในแง่มุมมองที่ไม่มีใครสังเกตหรือไม่รู้มาก่อน ทำให้เราเข้าใจขยะยิ่งขึ้น และนำไปบอกต่อ หรืออธิบายให้แก่ผู้ที่สนใจ หรือรับฟังไปเก็บ ไปบอกต่อผู้อื่นได้ และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้ขยะล้นโลก หรือโลกร้อน ทรัพยากรเสื่อมสลาย
- หลักกระบวนการคิดเรียบเรียงเรื่องราวต่างๆ เริ่มจากจุดเล็กหา สาเหตุ เมื่อเกิดแล้วมีผลอะไรบ้าง วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ หาวิธีการแก้ไข บอกต่อ และการต่อยอด
- การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดต่อยอดจากความคิดเดิม ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “Creative” ถ้าเราไม่ได้รับความรู้พื้นฐานก็ไม่สามารถคิดไปไกลได้แบบนี้
- ได้รับรู้กระบวนการทำงานต่างๆในการอบรมและ ความรู้ใหม่ๆในการทำงาน ได้รู้ถึงว่าCreativeและกระบวนการคิด Keywordsในการทำหนังสั้น และได้รู้จักพี่ทีมงานและมีประสบการณ์โดยตรงมาสอนให้ ทำให้มีสังคมที่กว่างขวางมากขึ้น
- กระบวนการทำงาน แนวคิด ขั้นตอนการทำ ให้เรามองจากสิ่งเล็กๆรอบตัว นำมาต่อยอด ความรู้กี่ยวกับขยะ สาเหตุ ผลกระทบ (โรค) ประเภทขยะ วัหนึ่งเราทำขยะเท่าไร ผลเสีย
- รู้ถึงปัญหาต่างๆที่ตามมาของการที่เราไม่คิดก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
- มีความรู้ ความเข้าใจในการที่จะเลือกบริโภคมากขึ้น
- รู้เทคนิคการคิดแบบให้ลึก และกว้าง และคิดไปถึงผลกระทบที่ตามมามากขึ้น
นานาทัศนะของเด็กนักเรียนโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จ.จันทบุรี
ที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฎิบัติการ “ถอดรหัสกำจัดขยะ จากปัญหา...สู่การจัดการอย่างพอเพียง และยั่งยืน”
นางสาวชวนา สุทธินราธร (ม.4/1)
“หนูรู้สึกสนุก เพื่อนๆช่วยกันแบ่งปันความคิดในตอนทำงานกลุ่ม วิทยากรสอนสนุก
เป็นกันเอง มีสื่อที่หลากหลาย
และมีคำถามกระตุ้นให้เราคิดตลอดในระหว่างการอบรม
ทำให้ได้แนวคิดใหม่ๆทั้งการแยกแยะการเลือกที่จะใช้สินค้าต่างๆ
นำวิธีแยกขยะมาปรับใช้กับชีวิตของตนเอง ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ทรัพยากร เพื่อลดการก่อขยะ
และนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ผู้อื่น”
นางสาวสุปราณี อุทัยเสวก ( ม.6/4)
“ทำ
ให้เราได้รู้จักปัญหาที่ตามมาของการที่เราไม่คิดก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ส่งผลทำให้ขยะมีมากขึ้น ...เกิดความคิดที่จะแก้ไขปัญหาของขยะ
ซึ่งความรู้ที่ได้รับจะไปปรับเปลี่ยนนิสัยการบริโภคของตัวเอง
และร่วมกันรณรงค์ให้กับเพื่อนๆในโรงเรียน และบุคคลรอบข้าง ”