กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการศึกษาอย่างเป็นองค์รวม Active Learning ครั้งที่ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์
ในวันที่ 15-16 ตุลาคม 2562 นี้ทีมวิทยากร และทีมงาน ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สำหรับโรงเรียนนำร่อง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมการจัดการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ครั้งที่ 2 ขึ้น โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้อำนวยการโรงเรียนและคุณครูได้เข้าใจกระบวนการการเรียนรู้แบบ active learning และได้เครื่องมือที่ผู้อำนวยการและครูจะสามารถนำมาช่วยกันวิพากษ์เพื่อพัฒนาแผนการสอนในห้องเรียน ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในห้องเรียน พร้อมทั้งสามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้และแผนการขับเคลื่อนโรงเรียนตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบองค์รวม (Holistic Education) ร่วมกับ Mentor และคณะทำงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ
กำหนดการและรายงานผล
09.30 - 09.45 น.
กล่าวต้อนรับ-ชี้แจงวัตถุประสงค์การ workshop ตามนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบองค์รวม
โดย รศ.ประภาภัทร นิยม
กิจกรรม Check-in
1. ด้วยโจทย์ว่า "ขอให้เราได้ตั้งคำถามกับตัวเองว่า 2 วันนี้เรามาที่นี่เพื่ออะไร เราตั้งใจจะมาทำอะไร และอะไรเป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดที่เราจะได้จากการมาอบรมครั้งนี้"
2. เขียนลงใน Post it และนำมาแปะบนกระดาน
โดย รศ.ประภาภัทร นิยม
กิจกรรม Check-in
1. ด้วยโจทย์ว่า "ขอให้เราได้ตั้งคำถามกับตัวเองว่า 2 วันนี้เรามาที่นี่เพื่ออะไร เราตั้งใจจะมาทำอะไร และอะไรเป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดที่เราจะได้จากการมาอบรมครั้งนี้"
2. เขียนลงใน Post it และนำมาแปะบนกระดาน
09.45 - 10.00 น.
ร่วมชมคลิปวิดิโอ 20 ปีโรงเรียนรุ่งอรุณ
"2 วันนี้เราจะมาร่วมกันคิด ร่วมกันฝึกฝนตัวเราเองให้มีทักษะพิเศษเพื่อจะช่วยให้เด็กนักเรียนทุกคนที่มาถึงมือเราได้รับโอกาสพิเศษนี้ทั่วถึงกันทุกๆคน เพราะฉะนัั้นสถาบันการศึกษาที่เราสร้างมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเจียระไน เด็กคนหนึ่ง ให้เติบโตไปอย่างมีคุณภาพ ขอให้เราได้ดูตัวอย่างจากคลิปนี้ ที่เราก็พยายามคิด พยายามทำสร้างสถาบันการศึกษาที่สร้างคุณค่าให้กับเด็กนักเรียน"
"2 วันนี้เราจะมาร่วมกันคิด ร่วมกันฝึกฝนตัวเราเองให้มีทักษะพิเศษเพื่อจะช่วยให้เด็กนักเรียนทุกคนที่มาถึงมือเราได้รับโอกาสพิเศษนี้ทั่วถึงกันทุกๆคน เพราะฉะนัั้นสถาบันการศึกษาที่เราสร้างมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเจียระไน เด็กคนหนึ่ง ให้เติบโตไปอย่างมีคุณภาพ ขอให้เราได้ดูตัวอย่างจากคลิปนี้ ที่เราก็พยายามคิด พยายามทำสร้างสถาบันการศึกษาที่สร้างคุณค่าให้กับเด็กนักเรียน"
10.00 - 11.45 น.
Wise Reflection
ร่วมชม คลิปวิดิโอห้องเรียน มงคลชีวิต นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรุ่งอรุณ
เบื้องหลังกว่าครูจะทำเช่นนี้ได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีขั้นตอนที่ฝึกมาแล้ว ซึ่งในวันนี้อยากพวกเรามาฝึกเข้ากระบวนการและขั้นตอนแหล่านั้น เราจะมีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นคุณภาพการคิดอย่างแยบคาย เป็นภาษาบาลี คำแปลในภาษาอังกฤษเรียกว่า Wise Reflection ให้ความหมาย Wise คือปัญญา ความฉลาด Reflection คือการสะท้อนคิด หรือให้ความหมายว่า การสะท้อนคิดด้วยปัญญา เป็นวิธีคิดที่แยบคาย 10 ประการด้วยกัน
เราจะเห็นว่าเขาจะมีสายตาที่มองได้อย่างละเอียดละออและช้อนความคิดเด็กได้ถูกจุด ถูกประเด็น ถูกเวลาและคำตอบของเด็กจะได้รับการถูกบันทึกและเด็กๆจะไม่ยอมเมื่อครูติดงานเด็กแล้วไม่พูดถึงผลงานของเขา เพราะเขาเป็นเจ้าของการเรียนรู้
วิทยากรแบ่งกลุ่มตามโรงเรียน และได้ชวนทำกระบวนการ Wise Reflection เพื่อชวนสะท้อนคิดถึงคุณค่าแท้ ของวัตถุชิ้นหนึ่งที่ในกลุ่มหยิบยกขึ้นมา
- โรงเรียนบ้านร่องสะอาด เลือก ปากกา วิทยากรกลุ่มคือ รศ.ประภาภัทร นิยม
- โรงเรียนบ้านโนนเพ็ก เลือก นาฬิกา วิทยากรกลุ่มคือ อาจารย์วรนิษฐ์ วรพรธัญพัฒน์
- โรงเรียน เมืองคง เลือก กำไล วิทยากรกลุ่มคือ อาจารย์อภิษฎา ทองสอาด
- โรงเรียนบ้านดอนข่า เลือก โทรศัพท์มือถือ วิทยากรกลุ่มคือ นางรัตนา กิติกร
- โรงเรียนเทศบาล 4 เลือก นาฬิกา วิทยากรกลุ่มคือ อาจารย์ สืบศักดิ์ น้อยดัด
วิทยากรได้ชวนผอ. และคณะครู ตั้งคำถาม ชวนสังเกตและวิเคราะห์ถึงวัตถุที่เลือกขั้นมา
ขั้นที่ 1 : ลักษณะทางกายภาพ
ขั้นที่ 2 : ที่มา และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 3 : คุณค่าแท้ และคุณค่าเทียมของวัตถุนั้นๆ
ในกระบวนการนี้ ผู้เข้าร่วมจะเข้าใจถึงความหมายของ "คุณค่าแท้" และเกิดความตระหนักรู้ว่า แท้จริงแล้ว เราเคยให้คุณค่า กับ คุณค่าแท้ของสิ่งต่างๆ จริงหรือยัง และเราควรจะใช้ชีวิตอย่างไรต่อไป เพื่อให้ชีวิตเรา มีคุณค่า มากที่สุด
ร่วมชม คลิปวิดิโอห้องเรียน มงคลชีวิต นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรุ่งอรุณ
เบื้องหลังกว่าครูจะทำเช่นนี้ได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีขั้นตอนที่ฝึกมาแล้ว ซึ่งในวันนี้อยากพวกเรามาฝึกเข้ากระบวนการและขั้นตอนแหล่านั้น เราจะมีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นคุณภาพการคิดอย่างแยบคาย เป็นภาษาบาลี คำแปลในภาษาอังกฤษเรียกว่า Wise Reflection ให้ความหมาย Wise คือปัญญา ความฉลาด Reflection คือการสะท้อนคิด หรือให้ความหมายว่า การสะท้อนคิดด้วยปัญญา เป็นวิธีคิดที่แยบคาย 10 ประการด้วยกัน
เราจะเห็นว่าเขาจะมีสายตาที่มองได้อย่างละเอียดละออและช้อนความคิดเด็กได้ถูกจุด ถูกประเด็น ถูกเวลาและคำตอบของเด็กจะได้รับการถูกบันทึกและเด็กๆจะไม่ยอมเมื่อครูติดงานเด็กแล้วไม่พูดถึงผลงานของเขา เพราะเขาเป็นเจ้าของการเรียนรู้
วิทยากรแบ่งกลุ่มตามโรงเรียน และได้ชวนทำกระบวนการ Wise Reflection เพื่อชวนสะท้อนคิดถึงคุณค่าแท้ ของวัตถุชิ้นหนึ่งที่ในกลุ่มหยิบยกขึ้นมา
- โรงเรียนบ้านร่องสะอาด เลือก ปากกา วิทยากรกลุ่มคือ รศ.ประภาภัทร นิยม
- โรงเรียนบ้านโนนเพ็ก เลือก นาฬิกา วิทยากรกลุ่มคือ อาจารย์วรนิษฐ์ วรพรธัญพัฒน์
- โรงเรียน เมืองคง เลือก กำไล วิทยากรกลุ่มคือ อาจารย์อภิษฎา ทองสอาด
- โรงเรียนบ้านดอนข่า เลือก โทรศัพท์มือถือ วิทยากรกลุ่มคือ นางรัตนา กิติกร
- โรงเรียนเทศบาล 4 เลือก นาฬิกา วิทยากรกลุ่มคือ อาจารย์ สืบศักดิ์ น้อยดัด
วิทยากรได้ชวนผอ. และคณะครู ตั้งคำถาม ชวนสังเกตและวิเคราะห์ถึงวัตถุที่เลือกขั้นมา
ขั้นที่ 1 : ลักษณะทางกายภาพ
ขั้นที่ 2 : ที่มา และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 3 : คุณค่าแท้ และคุณค่าเทียมของวัตถุนั้นๆ
ในกระบวนการนี้ ผู้เข้าร่วมจะเข้าใจถึงความหมายของ "คุณค่าแท้" และเกิดความตระหนักรู้ว่า แท้จริงแล้ว เราเคยให้คุณค่า กับ คุณค่าแท้ของสิ่งต่างๆ จริงหรือยัง และเราควรจะใช้ชีวิตอย่างไรต่อไป เพื่อให้ชีวิตเรา มีคุณค่า มากที่สุด
11.45 - 12.30 น.
สะท้อนผลการเรียนรู้ จากกิจกรรม
"จากกิจกรรมที่ได้ทำมันทำให้ตัวเองรู้สึกว่าของทุกสิ่งมันมีคุณค่าในตัวของมันเอง แล้วเราจะทำยังไงถึงจะนำสิ่งที่เราคิดว่ามันมีคุณค่าไปสู่ตัวเด็กได้ "
"จากการทำกิจกรรมได้รู้ถึงกระบวนการ เราได้เห็นถึงคุณค่าแท้ แม้แต่ปากกาด้ามเดียวเล็กๆ เพราะกระบวนการซึ่งการได้มามันยาก จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้พวกเราใช้มันให้เกิดประโยชน์สูงสุด"
"เห็นกระบวนการช่วยกันคิด ช่วยกันทำและช่วยกันวิเคราะห์ การนำไปสู่การที่จะไปใช้กับเด็กให้เกิดจิตสำนึกและสามัญสำนึก ถ้าเด็กได้เรียนรู้ในลักษณะนี้ จิตสำนึกในการรักของใช้สิ่งของก็น่าจะดีขึ้น"
"กิจกรรมนี้ทำให้เปลี่ยนความคิดให้เราหันมาเห็นคุณค่าของปากกา ว่าแต่ละด้ามมีความสำคัญอย่างไร ถ้านำกระบวนการนี้ไปทำกับนักเรียน สิ่งเล็กๆน้อยๆที่เราเก็บรวบรวมมาตั้งแต่ต้นจนทำให้เราเห็นคุณค่า เราจะเปิดโอกาสแบบนี้ให้เด็กได้เห็นคุณค่าและเกิดจิตสำนึก"
"ก่อนที่ครูจะสอนนักเรียนครูต้องตั้งสติก่อนว่าจะสอนอะไรและสอนเด็กอย่างไรและสอนไปแล้วเห็นคุณค่าในสิ่งนั้นหรือไม่ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปก็จะกลับไปทำ ผอ.จะพาครูทำให้ได้และน่าจะทำได้ค่ะ"
"จากกิจกรรมที่ได้ทำมันทำให้ตัวเองรู้สึกว่าของทุกสิ่งมันมีคุณค่าในตัวของมันเอง แล้วเราจะทำยังไงถึงจะนำสิ่งที่เราคิดว่ามันมีคุณค่าไปสู่ตัวเด็กได้ "
"จากการทำกิจกรรมได้รู้ถึงกระบวนการ เราได้เห็นถึงคุณค่าแท้ แม้แต่ปากกาด้ามเดียวเล็กๆ เพราะกระบวนการซึ่งการได้มามันยาก จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้พวกเราใช้มันให้เกิดประโยชน์สูงสุด"
"เห็นกระบวนการช่วยกันคิด ช่วยกันทำและช่วยกันวิเคราะห์ การนำไปสู่การที่จะไปใช้กับเด็กให้เกิดจิตสำนึกและสามัญสำนึก ถ้าเด็กได้เรียนรู้ในลักษณะนี้ จิตสำนึกในการรักของใช้สิ่งของก็น่าจะดีขึ้น"
"กิจกรรมนี้ทำให้เปลี่ยนความคิดให้เราหันมาเห็นคุณค่าของปากกา ว่าแต่ละด้ามมีความสำคัญอย่างไร ถ้านำกระบวนการนี้ไปทำกับนักเรียน สิ่งเล็กๆน้อยๆที่เราเก็บรวบรวมมาตั้งแต่ต้นจนทำให้เราเห็นคุณค่า เราจะเปิดโอกาสแบบนี้ให้เด็กได้เห็นคุณค่าและเกิดจิตสำนึก"
"ก่อนที่ครูจะสอนนักเรียนครูต้องตั้งสติก่อนว่าจะสอนอะไรและสอนเด็กอย่างไรและสอนไปแล้วเห็นคุณค่าในสิ่งนั้นหรือไม่ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปก็จะกลับไปทำ ผอ.จะพาครูทำให้ได้และน่าจะทำได้ค่ะ"
13.30 - 14.00 น.
Core Reflection การสะท้อนคิดจากแก่น และกระจกสี่ด้าน
รอบที่ 1
1. ให้ทุกคนจับคู่ แล้วให้หันหน้าเข้าหากัน ให้เข่าชนกันแล้วมองไปที่ดวงตาซ้ายของคนที่นั่งคู่อยู่กับเรา ใช้เวลามองประมาณไม่เกิน 2 นาที
2. เล่าเรื่องราวชีวิตที่ทำให้เราเป็นเราจนถึงทุกวันนี้ และให้คนฟัง ฟังด้วยหัวใจ ฟังให้เข้าไปซึมซับรับรู้ถึงข้างในโดยที่ไม่ตัดสินหรือวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ได้ฟัง...
สะท้อนผล
"ความรู้สึกตอนแรกก็เห็นความตั้งใจในแววตาคู่เรา ตั้งใจในการทำตามคำสั่งของท่านวิทยากร แต่พอเราจ้องไปสักพักก็ว่างเปล่าเพราะเราไม่รู้จักกันและไม่รู้เรื่องราวของกันและกันว่าเป็นมายังไง "
"นอกจากจะเห็นภาพภายนอกยังเห็นภาพภายในที่อยู่ในแววตาของเขา เห็นว่าเขารู้สึกกังวลเพราะแววตาบอกว่าวิตกและกังวล เป็นความรู้สึกที่ใจเราจับได้ ใจเราก็พยายามนิ่งเพื่อเห็นความเคลื่อนไหวในแววตาของเขาว่าใจสื่อออกมาทางแววตาอย่างไร ฟังด้วยหัวใจจากแววตา เราก็พยายามที่จะประคองความรู้สึกเราเพื่อรับรู้ความรู้สึกเขา"
"เราพยายามจะค้นหาว่าแววตาเพื่อนเขารู้สึกอะไรหรือเปล่าและเพื่อนกำลังคิดอะไรอยู่แต่เขาไม่ได้เศร้าแต่สายตามันสื่อ เลยกลับมามองตัวเองว่าทำยังไงเราจะรู้สึกถึงความรู้สึกของเขาที่แววตาของเขาว่าเขาคิดอะไรอยู่หรือเปล่า ดูเหมือนว่าเขากำลังคิดทบทวนอะไรอยู่ตลอดและเราก็พยายามเอาตัวเองไปใส่ใจเขามากที่สุด"
รอบที่ 2
1. กลับมาที่ตัวเองว่าเราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองบ้าง เมื่อเราเล่าเรื่องของเราเองแล้วให้อีกฝ่ายเป็นผู้ฟัง ผู้ฟังรับรู้เรื่องของเขาล้วนๆ ไม่เอาความคิดของเราไปปรุงแต่งหรือตัดสิน รับรู้ตามที่เข้าเล่าแต่ว่ารู้ให้ลึกซึ้ง
2. ผลัดกันเล่าคนละไม่เกิน 5 นาที ไม่ต้องวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เขาพูด..
กระบวนการนี้ทำให้ครูได้ฝึกเป็นผู้ฟังที่แท้จริงของนักเรียน
บางครั้ง สิ่งที่นักเรียนพูดมาเขาอาจจะเล่าไม่ครบถ้วนหรือสมบูรณ์ อาจด้วยเพราะชุดภาษาเขายังไม่มีเยอะแต่เราก็สามารถฟังเรื่องของเขาได้เช่นกัน เพื่อเรียนรู้จักและรับรู้ตัวตนของนักเรียนอย่างแท้จริง
รอบที่ 1
1. ให้ทุกคนจับคู่ แล้วให้หันหน้าเข้าหากัน ให้เข่าชนกันแล้วมองไปที่ดวงตาซ้ายของคนที่นั่งคู่อยู่กับเรา ใช้เวลามองประมาณไม่เกิน 2 นาที
2. เล่าเรื่องราวชีวิตที่ทำให้เราเป็นเราจนถึงทุกวันนี้ และให้คนฟัง ฟังด้วยหัวใจ ฟังให้เข้าไปซึมซับรับรู้ถึงข้างในโดยที่ไม่ตัดสินหรือวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ได้ฟัง...
สะท้อนผล
"ความรู้สึกตอนแรกก็เห็นความตั้งใจในแววตาคู่เรา ตั้งใจในการทำตามคำสั่งของท่านวิทยากร แต่พอเราจ้องไปสักพักก็ว่างเปล่าเพราะเราไม่รู้จักกันและไม่รู้เรื่องราวของกันและกันว่าเป็นมายังไง "
"นอกจากจะเห็นภาพภายนอกยังเห็นภาพภายในที่อยู่ในแววตาของเขา เห็นว่าเขารู้สึกกังวลเพราะแววตาบอกว่าวิตกและกังวล เป็นความรู้สึกที่ใจเราจับได้ ใจเราก็พยายามนิ่งเพื่อเห็นความเคลื่อนไหวในแววตาของเขาว่าใจสื่อออกมาทางแววตาอย่างไร ฟังด้วยหัวใจจากแววตา เราก็พยายามที่จะประคองความรู้สึกเราเพื่อรับรู้ความรู้สึกเขา"
"เราพยายามจะค้นหาว่าแววตาเพื่อนเขารู้สึกอะไรหรือเปล่าและเพื่อนกำลังคิดอะไรอยู่แต่เขาไม่ได้เศร้าแต่สายตามันสื่อ เลยกลับมามองตัวเองว่าทำยังไงเราจะรู้สึกถึงความรู้สึกของเขาที่แววตาของเขาว่าเขาคิดอะไรอยู่หรือเปล่า ดูเหมือนว่าเขากำลังคิดทบทวนอะไรอยู่ตลอดและเราก็พยายามเอาตัวเองไปใส่ใจเขามากที่สุด"
รอบที่ 2
1. กลับมาที่ตัวเองว่าเราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองบ้าง เมื่อเราเล่าเรื่องของเราเองแล้วให้อีกฝ่ายเป็นผู้ฟัง ผู้ฟังรับรู้เรื่องของเขาล้วนๆ ไม่เอาความคิดของเราไปปรุงแต่งหรือตัดสิน รับรู้ตามที่เข้าเล่าแต่ว่ารู้ให้ลึกซึ้ง
2. ผลัดกันเล่าคนละไม่เกิน 5 นาที ไม่ต้องวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เขาพูด..
กระบวนการนี้ทำให้ครูได้ฝึกเป็นผู้ฟังที่แท้จริงของนักเรียน
บางครั้ง สิ่งที่นักเรียนพูดมาเขาอาจจะเล่าไม่ครบถ้วนหรือสมบูรณ์ อาจด้วยเพราะชุดภาษาเขายังไม่มีเยอะแต่เราก็สามารถฟังเรื่องของเขาได้เช่นกัน เพื่อเรียนรู้จักและรับรู้ตัวตนของนักเรียนอย่างแท้จริง
14.30 - 15.00 น.
กระจกสี่ด้าน
1. แจกกระดาษ A4 และพับให้เป็น 4 ช่อง
2. ให้ครูรวมกันเป็นกลุ่ม 6-8 คน
กระจกแผ่นที่ 1
ให้เราเขียนถึงเพื่อนที่เล่าเรื่องให้เราฟัง เราจะเขียนจดหมายถึงเขาว่าเราได้รับรู้เรื่องของเขาแล้วเรารู้สึกอย่างไรบ้างและเราอยากจะบอกอะไรดีๆกับเขา แทนคำขอบคุณว่าเรื่องราวของเพื่อนให้คุณค่าและความหมายกับเราอย่างไรบ้าง
เมื่อเขียนเสร็จแล้วให้ส่งกลับไปที่คู่ของเราแล้วแลกกันอ่าน อ่านแล้วรู้สึกยังไง
"รู้สึกซึ้ง ปลื้มใจ มีกำลังใจในการทำงาน รู้สึกว่าเรายังมีเพื่อนที่รับรู้และรับฟังเรื่องราวของเรา เราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกและรับรู้ถึงความห่วงใยของเพื่อน"
กระจกแผ่นที่ 2
ให้เราเขียนต่อในสิ่งที่เพื่อนเขียนถึงเรา เอาของเพื่อนมาเขียนต่อว่าเราได้รับกำลังใจมาแล้ว เราอยากจะตอบ ส่งไปให้เพื่อนอ่าน
"เขาอวยพรอยากให้เราประสบแต่ความสำเร็จและรักษาความดีที่เราเคยทำเขาจะคอยเป็นกำลังใจให้เรา"
กระจกแผ่นที่ 3
ให้เราส่งเรื่องราวไปให้เพื่อนคนอื่นที่ไม่ใช่คู่เราหรือคนที่ยังไม่เคยอ่านเรื่องราวทั้ง 2 กระจก เมื่อเราอ่านเรื่องราวในกระจกทั้ง 2 แผ่นนั้นแล้ว รับรู้อะไร ให้เราเขียนในกระจกแผ่นที่ 3 มีประเด็นอยากร่วมสนทนาด้วย แสดงทัศนของเราต่อเรื่องราวที่ได้รับรู้มา เมื่ออ่านแล้วเรารู้สึกอย่างไรบ้าง
"เป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนอยู่ในระนาบเดียวกัน เพราะคนทำงานร่วมกันมักจะไม่มีโอกาสได้มานั่งคุยกัน ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสแสดงความจริงใจและแสดงทัศนะโดยไม่มีเครื่องกั้นและได้แสดงอย่างมีอิสรภาพ.."
เมื่ออ่านเรื่องราวของเพื่อนเสร็จแล้วให้ส่งกลับคืนไปให้เจ้าของที่เขียนเรื่องราวลงไปในกระจกแผ่นแรกได้อ่านในกระจกแผนที่ 2 และ 3 อ่านแล้วเป็นอย่างไร รู้สึกยังไงบ้าง..
เสียงสะท้อน
" รู้สึกดีมากๆค่ะและมีกำลังใจที่จะพัฒนาต่อไป ไม่รู้ว่าใครเขียนกลับมาแต่เขาบอกว่าจะคอยอยู่ข้างๆและก้าวไปด้วยกัน รู้สึกดีมากๆเลยค่ะ"
"จากสิ่งที่เขียนมา เขาเขียนมาว่าเขาดีใจที่ผมชอบเรื่องราวของเขาแล้วเขาก็พูดถึงเรื่องราวว่าเขาเองว่าเขาก็รักธรรมชาติเหมือนกัน เขาชอบเข้าป่าไปหาเห็ด ซึ่งเราเองยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนั้นเลย"
"เรื่องราวในกระจกแผ่นที่ 3 เป็นเหมือนเกิดเป็นมิติใหม่ เพราะจากตอนแรกที่เรารู้สึกเครียดแต่กลายเป็นหัวเราะขึ้นมาทันทีเลย รู้สึกว่าเรื่องราวตรงนี้ทำให้เราสนุกดี เป็นอีกประสบการณ์ที่เขาไปประสบพบเจอมา ถึงแม้จะไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันแต่ทำให้เราหัวเราะได้"
กระจกแผ่นที่ 4
ให้เขียนถึงตัวเองว่าเมื่อมีคนรับรู้และให้กำลังใจเราแล้ว เราเกิดหนทางใหม่ๆในการสร้างสายสัมพันธ์ใหม่ๆอย่างไร
1. แจกกระดาษ A4 และพับให้เป็น 4 ช่อง
2. ให้ครูรวมกันเป็นกลุ่ม 6-8 คน
กระจกแผ่นที่ 1
ให้เราเขียนถึงเพื่อนที่เล่าเรื่องให้เราฟัง เราจะเขียนจดหมายถึงเขาว่าเราได้รับรู้เรื่องของเขาแล้วเรารู้สึกอย่างไรบ้างและเราอยากจะบอกอะไรดีๆกับเขา แทนคำขอบคุณว่าเรื่องราวของเพื่อนให้คุณค่าและความหมายกับเราอย่างไรบ้าง
เมื่อเขียนเสร็จแล้วให้ส่งกลับไปที่คู่ของเราแล้วแลกกันอ่าน อ่านแล้วรู้สึกยังไง
"รู้สึกซึ้ง ปลื้มใจ มีกำลังใจในการทำงาน รู้สึกว่าเรายังมีเพื่อนที่รับรู้และรับฟังเรื่องราวของเรา เราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกและรับรู้ถึงความห่วงใยของเพื่อน"
กระจกแผ่นที่ 2
ให้เราเขียนต่อในสิ่งที่เพื่อนเขียนถึงเรา เอาของเพื่อนมาเขียนต่อว่าเราได้รับกำลังใจมาแล้ว เราอยากจะตอบ ส่งไปให้เพื่อนอ่าน
"เขาอวยพรอยากให้เราประสบแต่ความสำเร็จและรักษาความดีที่เราเคยทำเขาจะคอยเป็นกำลังใจให้เรา"
กระจกแผ่นที่ 3
ให้เราส่งเรื่องราวไปให้เพื่อนคนอื่นที่ไม่ใช่คู่เราหรือคนที่ยังไม่เคยอ่านเรื่องราวทั้ง 2 กระจก เมื่อเราอ่านเรื่องราวในกระจกทั้ง 2 แผ่นนั้นแล้ว รับรู้อะไร ให้เราเขียนในกระจกแผ่นที่ 3 มีประเด็นอยากร่วมสนทนาด้วย แสดงทัศนของเราต่อเรื่องราวที่ได้รับรู้มา เมื่ออ่านแล้วเรารู้สึกอย่างไรบ้าง
"เป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนอยู่ในระนาบเดียวกัน เพราะคนทำงานร่วมกันมักจะไม่มีโอกาสได้มานั่งคุยกัน ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสแสดงความจริงใจและแสดงทัศนะโดยไม่มีเครื่องกั้นและได้แสดงอย่างมีอิสรภาพ.."
เมื่ออ่านเรื่องราวของเพื่อนเสร็จแล้วให้ส่งกลับคืนไปให้เจ้าของที่เขียนเรื่องราวลงไปในกระจกแผ่นแรกได้อ่านในกระจกแผนที่ 2 และ 3 อ่านแล้วเป็นอย่างไร รู้สึกยังไงบ้าง..
เสียงสะท้อน
" รู้สึกดีมากๆค่ะและมีกำลังใจที่จะพัฒนาต่อไป ไม่รู้ว่าใครเขียนกลับมาแต่เขาบอกว่าจะคอยอยู่ข้างๆและก้าวไปด้วยกัน รู้สึกดีมากๆเลยค่ะ"
"จากสิ่งที่เขียนมา เขาเขียนมาว่าเขาดีใจที่ผมชอบเรื่องราวของเขาแล้วเขาก็พูดถึงเรื่องราวว่าเขาเองว่าเขาก็รักธรรมชาติเหมือนกัน เขาชอบเข้าป่าไปหาเห็ด ซึ่งเราเองยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนั้นเลย"
"เรื่องราวในกระจกแผ่นที่ 3 เป็นเหมือนเกิดเป็นมิติใหม่ เพราะจากตอนแรกที่เรารู้สึกเครียดแต่กลายเป็นหัวเราะขึ้นมาทันทีเลย รู้สึกว่าเรื่องราวตรงนี้ทำให้เราสนุกดี เป็นอีกประสบการณ์ที่เขาไปประสบพบเจอมา ถึงแม้จะไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันแต่ทำให้เราหัวเราะได้"
กระจกแผ่นที่ 4
ให้เขียนถึงตัวเองว่าเมื่อมีคนรับรู้และให้กำลังใจเราแล้ว เราเกิดหนทางใหม่ๆในการสร้างสายสัมพันธ์ใหม่ๆอย่างไร
15.00 - 15.50 น.
4.0 Whole School Transforming
7 Changes แห่งการเปลี่ยนแปลง
โดย รศ. ประภาภัทร นิยม
1. School Concept >> อัตลักษณ์ของโรงเรียนที่เกิดจากการระดมความคิดของบุคลากรทุกคนในโรงเรียน
2. School Leader >> ผอ.ต้องเป็น Super Coach เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้นำทางด้านวิชาการที่แม่นที่สุดในโรงเรียน เพราะผอ. จะต้องเป็นคนช่วยตรวจทานการสอนของครู เพราะฉะนั้นการเป็นผู้นำทางวิชาการมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะโรงเรียนเผชิญกับการเปลี่ยนไม่ได้หยุดเลย เด็กเข้ามาแต่ละรุ่นก็ไม่เหมือนกัน การเปลี่ยนแปลงเข้ามาทุกวัน ซึ่งคนที่จะไหวตัวได้ทันการเปลี่ยนแปลงที่คลืบคลานเข้ามา ผอ.ต้องเป็นคนที่ไวที่สุด ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. Teachers >> ส่วนครูต้องเป็น Learning Export หรือเป็นผู้เชียวชาญการเรียนรู้ ถ้าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้เราจะรู้ว่าเราจะจัดการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กได้อย่างไร เป็นเหมือนนักมายากลในห้องเรียน จะสอนอะไรก็ได้ เรียนรู้อะไรก็ได้ก็จะสนุก ครูจะมีมุก มีวิธีการสร้างสรรค์ออกแบบการเรียนรู้ที่ทันเด็ก
4. Classrooms >> ห้องเรียนต้องยืดหยุ่นได้ มีพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย ห้องเรียนที่ไม่ได้หมายถึงห้องเรียนที่เป็นพื้นที่ 4 เหลี่ยมเท่านั้น
5. Curriculum >> หลักสูตรฐานสมรรถนะ แต่ละโณงเรียนน่าจะเลือก อย่างน้อยซัก 4 ทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21
6. Pedagogy >> การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้และ Constructive หรือสร้างความรู้เองได้ ไม่ต้องรอให้ใครบัญญัติให้ เราสามารถบัญญัติเองหรือเทียบเคียงกับสิ่งที่คนอื่นบัญญัติไว้ได้
7. Evaluation >> การประเมินแบบ 360 องศา ประเมินตนเอง ให้คนอื่นประเมิน ครูประเมินเด็ก หรือเด็กประเมินคุณครู ประเมินซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาทันที
7 Changes แห่งการเปลี่ยนแปลง
โดย รศ. ประภาภัทร นิยม
1. School Concept >> อัตลักษณ์ของโรงเรียนที่เกิดจากการระดมความคิดของบุคลากรทุกคนในโรงเรียน
2. School Leader >> ผอ.ต้องเป็น Super Coach เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้นำทางด้านวิชาการที่แม่นที่สุดในโรงเรียน เพราะผอ. จะต้องเป็นคนช่วยตรวจทานการสอนของครู เพราะฉะนั้นการเป็นผู้นำทางวิชาการมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะโรงเรียนเผชิญกับการเปลี่ยนไม่ได้หยุดเลย เด็กเข้ามาแต่ละรุ่นก็ไม่เหมือนกัน การเปลี่ยนแปลงเข้ามาทุกวัน ซึ่งคนที่จะไหวตัวได้ทันการเปลี่ยนแปลงที่คลืบคลานเข้ามา ผอ.ต้องเป็นคนที่ไวที่สุด ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. Teachers >> ส่วนครูต้องเป็น Learning Export หรือเป็นผู้เชียวชาญการเรียนรู้ ถ้าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้เราจะรู้ว่าเราจะจัดการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กได้อย่างไร เป็นเหมือนนักมายากลในห้องเรียน จะสอนอะไรก็ได้ เรียนรู้อะไรก็ได้ก็จะสนุก ครูจะมีมุก มีวิธีการสร้างสรรค์ออกแบบการเรียนรู้ที่ทันเด็ก
4. Classrooms >> ห้องเรียนต้องยืดหยุ่นได้ มีพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย ห้องเรียนที่ไม่ได้หมายถึงห้องเรียนที่เป็นพื้นที่ 4 เหลี่ยมเท่านั้น
5. Curriculum >> หลักสูตรฐานสมรรถนะ แต่ละโณงเรียนน่าจะเลือก อย่างน้อยซัก 4 ทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21
6. Pedagogy >> การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้และ Constructive หรือสร้างความรู้เองได้ ไม่ต้องรอให้ใครบัญญัติให้ เราสามารถบัญญัติเองหรือเทียบเคียงกับสิ่งที่คนอื่นบัญญัติไว้ได้
7. Evaluation >> การประเมินแบบ 360 องศา ประเมินตนเอง ให้คนอื่นประเมิน ครูประเมินเด็ก หรือเด็กประเมินคุณครู ประเมินซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาทันที
15.50 - 16.00 น.
ร่วมรับชมคลิป VDO
หน่วยโครงงานบูรณาการ ชั้น ป.4 - นักสืบเมืองกรุง
"เราจะมีภาพใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม กระโดดออกจากกรอบความคิดเดิมๆ ไปสู่การเรียนรู้ในโลกของความเป็นจริงในสถานการณ์จริง จึงอยากให้ดูคลิปว่าผลที่มันไปออกในห้องเรียน โดยมีผอ.เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในความเข้าใจ ครูเองก็สามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนเองได้และนำลงไปสู่ห้องเรียนได้ แล้วหลังจากนั้นเราจะช่วยกันสร้างแผนการสอนใหม่ร่วมกัน"
วิทยากรชี้ให้เห็นว่า เบื้องหลังของแผนแต่ละแผนกว่าจะต้องผ่านการนั่งวิเคราะห์ สร้างความเข้าใจกันทั้งครูใหญ่ทั้งครูผู้สอน ที่สำคัญคือ เวลาเราออกแบบแผนเราต้องกำหนดเป้าหมายการบรรลุผลเป้าหมายของนักเรียนทั้ง 3 ด้าน ทั้งด้านทักษะ ความรู้และคุณค่า แล้วทั้งสามส่วนนี้จะออกมาเป็นสมรรถนะ พอเราได้เป้าประสงค์ที่จะให้ความรู้อย่างชัดเจนแล้วเราจะมาทำว่าเราจะทำอย่างไรให้บรรลุผล
หน่วยโครงงานบูรณาการ ชั้น ป.4 - นักสืบเมืองกรุง
"เราจะมีภาพใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม กระโดดออกจากกรอบความคิดเดิมๆ ไปสู่การเรียนรู้ในโลกของความเป็นจริงในสถานการณ์จริง จึงอยากให้ดูคลิปว่าผลที่มันไปออกในห้องเรียน โดยมีผอ.เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในความเข้าใจ ครูเองก็สามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนเองได้และนำลงไปสู่ห้องเรียนได้ แล้วหลังจากนั้นเราจะช่วยกันสร้างแผนการสอนใหม่ร่วมกัน"
วิทยากรชี้ให้เห็นว่า เบื้องหลังของแผนแต่ละแผนกว่าจะต้องผ่านการนั่งวิเคราะห์ สร้างความเข้าใจกันทั้งครูใหญ่ทั้งครูผู้สอน ที่สำคัญคือ เวลาเราออกแบบแผนเราต้องกำหนดเป้าหมายการบรรลุผลเป้าหมายของนักเรียนทั้ง 3 ด้าน ทั้งด้านทักษะ ความรู้และคุณค่า แล้วทั้งสามส่วนนี้จะออกมาเป็นสมรรถนะ พอเราได้เป้าประสงค์ที่จะให้ความรู้อย่างชัดเจนแล้วเราจะมาทำว่าเราจะทำอย่างไรให้บรรลุผล
16.00 - 17.00 น.
Workshop การเขียนแผนการสอนแบบ active learning เป็นรายโรงเรียน
1. เข้ากลุ่มรายโรงเรียน
2. ร่วมกันเลือกวิชาที่จะนำมาเขียนแผนการสอนรายคาบ 1 คาบ
โรงเรียนบ้านโนนเพ็ก -- วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง "What do you want to be?"
โรงเรียนบ้านร่องสะอาด -- วิชาบูรณาการ เรื่อง การซื้อขายผักในตลาด
โรงเรียนเมืองคง -- วิชาสังคมศึกษา เรื่อง การเล่นประทัดในวันเทศกาลลอยกระทง
โรงเรียนบ้านดอนข่า -- วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง "Health and Sickness"
โรงเรียนเทศบาล 4 -- วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว
1. เข้ากลุ่มรายโรงเรียน
2. ร่วมกันเลือกวิชาที่จะนำมาเขียนแผนการสอนรายคาบ 1 คาบ
โรงเรียนบ้านโนนเพ็ก -- วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง "What do you want to be?"
โรงเรียนบ้านร่องสะอาด -- วิชาบูรณาการ เรื่อง การซื้อขายผักในตลาด
โรงเรียนเมืองคง -- วิชาสังคมศึกษา เรื่อง การเล่นประทัดในวันเทศกาลลอยกระทง
โรงเรียนบ้านดอนข่า -- วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง "Health and Sickness"
โรงเรียนเทศบาล 4 -- วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว
09.00 - 10.30 น.
นำเสนอแผนและวิพากษ์แผน
โรงเรียนบ้านโนนเพ็ก -- วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง "What do you want to be?"
โรงเรียนบ้านร่องสะอาด -- วิชาบูรณาการ เรื่อง การซื้อขายผักในตลาด
โรงเรียนเมืองคง -- วิชาสังคมศึกษา เรื่อง การเล่นประทัดในวันเทศกาลลอยกระทง
โรงเรียนบ้านดอนข่า -- วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง "Health and sickness"
โรงเรียนเทศบาล 4 -- วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว
โรงเรียนบ้านโนนเพ็ก -- วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง "What do you want to be?"
โรงเรียนบ้านร่องสะอาด -- วิชาบูรณาการ เรื่อง การซื้อขายผักในตลาด
โรงเรียนเมืองคง -- วิชาสังคมศึกษา เรื่อง การเล่นประทัดในวันเทศกาลลอยกระทง
โรงเรียนบ้านดอนข่า -- วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง "Health and sickness"
โรงเรียนเทศบาล 4 -- วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว
10.45 - 13.00 น.
Micro Teaching
จับคู่โรงเรียน และสลับกันเป็นครูผูู้สอน (ผู้สังเกตการณ์) และนักเรียน
โดย ให้โจทย์สำหรับการสังเกตชั้นเรียนว่า จุดจ้องมองในห้องเรียนควรมีทั้งหมด 3 ข้อ
1. การสอนเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่
2. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและเด็ก เด็กและเด็กในห้องเเรียนเป็นอย่างไร
3. สภาวะการเป็นเจ้าของการเรียนรู้เกิดขึ้นหรือไม่
กลุ่มที่ 1
โรงเรียนเทศบาล 4 และโรงเรียนบ้านดอนข่า
กลุ่มที่ 2
โรงเรียนบ้านโนนแสนคำ และโรงเรียนบ้านร่องสะอาด
กลุ่มที่ 3
โรงเรียนเมืองคง และโรงเรียนบ้านโนนเพ็ก
จับคู่โรงเรียน และสลับกันเป็นครูผูู้สอน (ผู้สังเกตการณ์) และนักเรียน
โดย ให้โจทย์สำหรับการสังเกตชั้นเรียนว่า จุดจ้องมองในห้องเรียนควรมีทั้งหมด 3 ข้อ
1. การสอนเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่
2. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและเด็ก เด็กและเด็กในห้องเเรียนเป็นอย่างไร
3. สภาวะการเป็นเจ้าของการเรียนรู้เกิดขึ้นหรือไม่
กลุ่มที่ 1
โรงเรียนเทศบาล 4 และโรงเรียนบ้านดอนข่า
กลุ่มที่ 2
โรงเรียนบ้านโนนแสนคำ และโรงเรียนบ้านร่องสะอาด
กลุ่มที่ 3
โรงเรียนเมืองคง และโรงเรียนบ้านโนนเพ็ก