
ความเป็นมา
การจัดการเรียนรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียน จากการจัดการเรียนการสอนรูปแบบเดิม มุ่งสู่การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning ครูผู้สอนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างความเข้าใจ องค์ความรู้ และวิธีการในการจัดการเรียนการสอนโดยอาศัยนวัตกรรมจิตศึกษา และ PBL ซึ่งในส่วนของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยอาศัยปัญหาเป็นพื้นฐานในการสร้างการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน(Problem–based Learning : PBL) คือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาที่ใกล้ตัวและพบเจอในชีวิตประจำวันเป็นตัวนำหรือเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมาสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้แตกต่างจากระบบเดิม ที่ใช้ความรู้เป็นตัวนำ คือครูเป็นผู้สอนความรู้ให้ผู้เรียนจดจำ แล้วจึงยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบ เพราะครูผู้สอนจะสามารถเข้าใจและเข้าถึงผู้เรียนได้ง่ายขึ้น ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้กระบวนการทำงานแบบกลุ่ม เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้สถานการณ์ของปัญหาที่ท้าทายคือจุดสำคัญของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานนั้น ประกอบด้วย
1. ต้องมีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและใช้ปัญหานั้นมาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
2. ปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมาจากสิ่งใกล้ตัวผู้เรียน และผู้เรียนมีโอกาสพบเจอ
3. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเลือกวิธีการในการแก้ไขปัญหาพร้อมประเมินผลได้ด้วยตัวเอง
4. เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เพื่อประโยชน์ในการค้นหาความรู้ และรับส่งข้อมูลร่วมกัน
5. เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
6. ผู้เรียนเกิดทักษะที่สอดคล้องต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
7. ใช้การประเมินผลตามสภาพจริง โดยพิจารณาความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของผู้เรียน
มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรม และคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้ดำเนินการจัดการอบรมหลักสูตร PBL Classic ขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2564 โดยมีคณะครูโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมเชิงระบบ รุ่นที่ 2 จำนวน 16 โรงเรียน ผู้เข้าร่วมจำนวน 231 คน เข้าร่วมเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์
วัตถุประสงค์
- 1.เพื่อให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning ได้
- 2.เพื่อครูสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้Problem–based Learning (PBL) ต่อการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนของตัวเองได้
- 3.เพื่อให้ครูสามารถเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้ Problem–based Learning (PBL) ต่อสมรรถนะของผู้เรียนได้
กลุ่มเป้าหมายหลัก : โรงเรียนนำร่องเชิงระบบรุ่นที่ 2 เข้าร่วมในเวลา 08.00-08.30 น.
กลุ่มเป้าหมายร่วม : โรงเรียนนำร่องเชิงระบบรุ่นที่ 1 เข้าร่วมในเวลา 08.30-08.45 น.
หมายเหตุ : ผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมระบบ Zoom สามารถเรียนรู้ได้ผ่านช่องทาง YouTube
“หลักการและกระบวนการของโรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL PLC”
“มนุษย์เรียนรู้อย่างไร และกระบวนการ Active Learning”
วิทยากร : ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง
“กระบวนการออกแบบการเรียนรู้บูรณาการโดย PBL ฐานสมรรถนะ” วิทยากร : ครูต๋อย/ครูยิ้ม
(โดยคุณครูทำการดาวน์โหลดเอกสารหน่วยการเรียนรู้ PBL ตามระดับชั้นของตัวเองเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ในห้องย่อย)
G1 ห้องเรียน อนุบาล 2-3 : วิทยากร ครูกลอย วีถีและการพัฒนาอนุบาลอบบองค์รวม
G2 ห้องเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 : วิทยากร ครูแป้ง หน่วยปั้น
G3 ห้องเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 : วิทยากร ครูฝน หน่วยDIY
G4 ห้องเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 : วิทยากร ครูแดง หน่วยหนอนไหม
G5 ห้องเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 : วิทยากร ครูแตง หน่วยวันแรกบ้านนอก
G6 ห้องเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 : วิทยากร ครูน้ำ หน่วย FLY
G7 ห้องเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 : วิทยากร ครูยิ้ม หน่วย ป่า
G8 ห้องเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 : วิทยากร ครูณี (เรียนรวม) หน่วย สื่อ
G9 ห้องเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 : วิทยากร ครูฟ้า หน่วยแกะรอยแผนการพระเจ้า
หมายเหตุ : ผู้อำนวยการและศึกษานิเทศน์ สามารถเลือกเข้าห้องย่อยได้ตามความสนใจ โดยระบุรหัสตามกติกาข้างต้น
วิทยากร : ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง
กลุ่มเป้าหมายหลัก : โรงเรียนนำร่องเชิงระบบรุ่นที่ 2 เข้าร่วมในเวลา 08.00-08.30 น.
กลุ่มเป้าหมายร่วม : โรงเรียนนำร่องเชิงระบบรุ่นที่ 1 เข้าร่วมในเวลา 08.30-08.45 น.
หมายเหตุ : ผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมระบบ Zoom สามารถเรียนรู้ได้ผ่านช่องทาง YouTube
“สมองกับการเรียนรู้ มนุษย์เรียนรู้อย่างไร การวิเคราะห์เชิงระบบ”
วิทยากร : ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง
(คุณครูดาวน์โหลดเอกสารหน่วยการเรียนรู้ PBL ตามระดับชั้น)
G1 ชั้นอนุบาล 2-3 : วิทยากรครูกลอย ต่อ...วีถีและการพัฒนาอนุบาลแบบองค์รวม
G2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 : วิทยากร ครูแป้ง งอกไม่งอก
G3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 : วิทยากร ครูฝน ข้าวเหนียวหมูปิ้ง
G4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 : วิทยากร ครูแดง ผ้า
G5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 : วิทยากร ครูฟ้า Animation
G6 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 : วิทยากร ครูน้ำ หนังสั้น
G7 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : วิทยากร ครูยิ้ม เส้น
G8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 : วิทยากร ครูแตง เน่าไม่เน่า
หมายเหตุ : ผู้อำนวยการและศึกษานิเทศน์ สามารถเลือกเข้าห้องย่อยได้ตามความสนใจ โดยระบุรหัสตามกติกาข้างต้น
G1 ห้องย่อยที่ 1: กลุ่มโรงเรียนบ้านหญ้าปล้อง สพป.ศก. เขต 1
G2 ห้องย่อยที่ 2: กลุ่มโรงเรียนบ้านกระถุน สพป.ศก. เขต 1
G3 ห้องย่อยที่ 3: กลุ่มโรงเรียนบ้านโก สพป.ศก. เขต 2
G4 ห้องย่อยที่ 4: กลุ่มโรงเรียนบ้านพรหมเจริญ สพป.ศก. เขต 3
G5 ห้องย่อยที่ 5: กลุ่มโรงเรียนบ้านตะเคียนราม สพป.ศก. เขต 3
G6 ห้องย่อยที่ 6: กลุ่มโรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ อบจ./ สพม. /อปท.
G7 ห้องย่อยที่ 7: กลุ่มโรงเรียนบ้านปะทาย สพป.ศก. เขต 4
G8 ห้องย่อยที่ 8: กลุ่มโรงเรียนบ้านนาขนวน สพป.ศก. เขต 4
G9 ห้องย่อยที่ 9: กลุ่มโรงเรียนบ้านโนนจิก สพป.ศก. เขต 4
หมายเหตุ : การแบ่งกลุ่มโรงเรียน Node สามารถดูได้จากเอกสารประกอบ
ผู้บริหารโรงเรียน Node ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในแต่ละห้องย่อย
วิทยากร : ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง