กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ Main Course พัฒนาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2562 นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้เชิงระบบ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา กลุ่มที่ 1
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การอบรมเชิงปฏิบัติการ Main Course

พัฒนาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2562

นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้เชิงระบบ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
(จิตศึกษา Problem Based Learning:PBL และ Profesional Leraning Community : PLC) 

กลุ่มที่ 1 : 9 โรงเรียน จำนวน 94 คน
วันที่ 7 – 11 มีนาคม 2562 ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์

วัตถุประสงค์

     เติมความรู้ ความเข้าใจนวัตกรรม และเติมทักษะการเขียนแผนจิตศึกษา PBL และการพัฒนาองค์กร/ครูด้วย PLC


ผลลัพธ์

     1.ผอ. และครู เข้าใจนวัตกรรมมากขึ้น

     2.ครู มีทักษะการออกแบบ/เขียนแผน จิตศึกษา และ PBL มากขึ้นและดีขึ้น

     3.ผอ. และครู มีความเข้าใจ มั่นใจ ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากผู้เรียนมากขึ้น

     4.ผอ. มีความมั่นใจในการเป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง”


กลุ่มเป้าหมายกลุ่มที่ 1 : 9 โรงเรียน จำนวน 94 คน

     1.โรงเรียนบ้านคูซอด

     2.โรงเรียนบ้านจำนันสายเจริญ

     3.โรงเรียนบ้านเพียนาม

     4.โรงเรียนบ้านสำโรงโคเฒ่า

     5.โรงเรียนบ้านโก

     6.โรงเรียนบ้านหว้า

    7.โรงเรียนบ้านจอก (ประชาสามัคคี)

    8.โรงเรียนบ้านกระถุน

    9.โรงเรียนบ้านระโยง

กำหนดการและรายงานผล
07
มีนาคม
2019
กิจกรรมวันแรก
07.45 - 09.30 น.
สังเกตวิถีของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

เป้าหมาย
• เพื่อเปิดรับประสบการณ์ตรงผ่านผัสสะทั้ง 5 ด้วยตนเอง ทำให้มีความเข้าใจในวิถีของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ตั้งแต่กิจกรรมหน้าเสาธง ไปจนถึงกิจกรรมจิตศึกษาในห้องเรียน

กระบวนการ
• คณะครูรวมตัวกันบริเวณหน้าเสาธง และรับโจทย์
• สังเกตวิถี โดยมีครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ค่อยให้ข้อมูลและตอบข้อสงสัย

โจทย์การสังเกตวิถี
• ชอบหรือประทับใจอะไร
• สิ่งนั้นเป็นอย่างไร
• สิ่งนั้นส่งผลต่อผู้เรียนอย่างไร
09.30 - 10.30 น.
ถอดบทเรียน : การสังเกตวิถีโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และเรียนรู้เรื่องพฤติกรรมสมอง

เป้าหมาย
• เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่ได้จากการสังเกตร่วมกัน
• เรียนรู้เรื่องพฤติกรรมสมอง ที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้ของเด็ก

กระบวนการ
• ถอดบทเรียนสิ่งที่ได้จากการสังเกตร่วมกัน
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ได้จากการสังเกต
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมสมอง

โจทย์การถอดบทเรียน
• ชอบหรือประทับใจอะไร
• สิ่งนั้นเป็นอย่างไร
• สิ่งนั้นส่งผลต่อผู้เรียนอย่างไร
10.30 - 10.45 น.
พักเบรกเช้า
10.45 - 11.30 น.
เรียนรู้การฟังอย่างลึกซึ้ง Deep Listening และ Dialogue

เป้าหมาย
• มีความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากการรับฟังอย่างลึกซึ้ง Deep Listening และ Dialogue

กระบวนการ
• นั่งล้อมวงเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 6 คน แนะนำตัวเองกับเพื่อนในกลุ่ม
• แจกเอกสารเรื่อง Emotional Awareness คนหนึ่งอ่านให้เพื่อนฟัง เพื่อนรับฟังเพื่อนอ่านอย่างตั้งใจ
• เติมเต็มความเข้าใจเรื่อง Deep Listening และ Dialogue
11.30 - 14.45 น.
ฝึกโหมดรู้ ผ่านการทำ Body Scan แบบนั่ง

เป้าหมาย
• ฝึกฝนโหมดรู้ และทำความเข้าใจการทำ Body Scan แบบนั่ง

กระบวนการ
• ทำ Body Scan ท่านอนร่วมกัน
12.30 - 13.30 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
13.30 - 14.30 น.
เรียนรู้จิตศึกษา

เป้าหมาย
• เข้าใจ “จิตศึกษา” ทั้งในด้านเป้าหมาย และกระบวนทัศน์ที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการ
• เรียนรู้จิตศึกษาทั้งในด้านเป้าหมาย และกระบวนทัศน์ที่เกี่ยวข้อง
• ชมคลิปวิดีโอรายการธรรมชาติมหานคร แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มย่อย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มใหญ่
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
• จากการดูคลิปวิดีโอ ท่านเห็นว่า โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา สร้างความเป็นชุมชนสนามพลังบวกอย่างไร / ทำอะไรบ้าง
14.30 - 15.30 น.
เรียนรู้จิตศึกษา (ต่อ)

เป้าหมาย
• เข้าใจ “จิตศึกษา” ทั้งในด้านเป้าหมาย และกระบวนทัศน์ที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการ
• เข้ากลุ่มโรงเรียนตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อย
• ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงใหญ่
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
1.ค้นหาว่าอะไรคือการเปรียบเทียบในโรงเรียน และอะไรที่โรงเรียนลดได้
2.เราสามารถวิจารณ์เด็กเพื่อให้เด็กงอกงามได้โดยที่เขาไม่รู้สึกว่าโดนตำหนิได้อย่างไร
3.มีการตัดสินอะไรบ้างในโรงเรียน เราจะลดได้อย่างไร
4.เราจะเป็นผู้รักโดยไม่เรียกร้องการเป็นผู้ถูกรักได้อย่างไร
14.45 - 12.30 น.
เรียนรู้ภาษาคำพูดและภาษากาย, Fixed Mindset และ Growth Mindset, การตัดสินผู้เรียน

เป้าหมาย
• เพื่อให้ ผอ. และครู ปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมที่ไม่เอื้อดต่อการเรียนรู้

กระบวนการ
• แจกบทความ อ่าน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
• ชมคลิปวิดีโอ
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
15.30 - 15.45 น.
พักเบรกบ่าย
15.45 - 18.00 น.
เรียนรู้จิตศึกษา (ต่อ)

เป้าหมาย
• เข้าใจ “จิตศึกษา” ทั้งในด้านเป้าหมาย และกระบวนทัศน์ที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการ
• ชมคลิปวิดีโอกิจกรรมจิตศึกษา และร่วมกันถอดขั้นตอนการทำกิจกรรมจิตศึกษา
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
• จากคลิปวิดีโอกิจกรรมจิตศึกษาที่ชม มีกระบวนการอย่างไรบ้าง ทั้งขั้นเตรียม ขั้นกิจกรรม “ชง เชื่อม ใช้” และขั้นจบ และตอบให้ได้ว่าผู้ทำกิจกรรมต้องการให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายจิตศึกษาขั้นไหน
18.00 - 00.00 น.
ให้โจทย์การบ้าน

• ให้ ผอ. ท่าน ศน. และคุณครูทุกท่านออกแบบกิจกรรมจิตศึกษา อย่างน้อย คนละ 1 กิจกรรม เป้าหมายให้ถึงเป้าหมายจิตศึกษาระดับ 2 ข้อใดข้อหนึ่งของระดับ 2 ทำลงกระดาษ A 4 เขียนชื่อตัวเองและชื่อโรงเรียนให้ด้วย
08
มีนาคม
2019
กิจกรรมวันที่ 2
07.45 - 08.30 น.
สังเกตวิถีของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

เป้าหมาย
• เพื่อเปิดรับประสบการณ์ตรงผ่านผัสสะทั้ง 5 ด้วยตนเอง ทำให้มีความเข้าใจในวิถีของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ตั้งแต่กิจกรรมหน้าเสาธง ไปจนถึงกิจกรรมจิตศึกษาในห้องเรียน

กระบวนการ
• ร่วมสังเกตวิถีหน้าเสาธง และร่วมสังเกตพิธีปัจฉิมนิเทศของนักเรียนชั้น ม.3 พอสังเขป
08.30 - 08.45 น.
ทำไมเราต้องมา Main Course 5 วันนี้ : ทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลงการศึกษา

เป้าหมาย
• เพื่อให้เกิดความตระหนกและตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการศึกษา

กระบวนการ
• ชี้แจงเหตุผลของการจัด Main Course
08.45 - 09.30 น.
Magics ที่มนุษย์มีเหนือกว่าหุ่นยนต์และ AI

เป้าหมาย
• ตระหนกและตระหนักต่อภัยคุกคามจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์และ AI ที่มีผลต่อผู้เรียนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และชี้ให้เห็นช่องทางที่มนุษย์จะสามารถเอาชนะหุ่นยนต์และ AI ได้

กระบวนการ
• ชมคลิปวิดีโอ
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
09.30 - 10.30 น.

เรียนรู้การทำโยคะและ Body Scan

เป้าหมาย
• ให้ ผอ. และครู เข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้กับผู้เรียนได้

กระบวนการ
• พาทำท่าโยคะ และ Body Scan
• แจกเอกสารเรื่องโยคะ
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
1.วาดรูปภาพท่าโยคะทุกท่าลงสมุด และแลกเปลี่ยนกันว่า “โยคะพัฒนาผู้เรียนอย่างไร”
2.ให้คนในกลุ่มอ่านเอกสารให้เพื่อนในกลุ่มฟัง แล้วให้แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจอีกครั้งว่า “โยคะพัฒนาผู้เรียนอย่างไร”
3.ออกแบบตารางเรียน โดยให้มีโยคะเป็นส่วนหนึ่งของตารางเรียน
4.ให้ทำความเข้าใจ Body Scan พัฒนาผู้เรียนอย่างไร ในหนังสือ “ทำไมต้องจิตศึกษา แล้วแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มย่อยว่า Body Scan พัฒนาผู้เรียนอย่างไร
5.ให้แต่ละคนฝึกเขียนบท Body Scan ของตัวเอง โดยอ่านและดูตัวอย่างบท Body Scan
10.30 - 10.45 น.
พักเบรกเช้า
10.45 - 12.00 น.
วิพากษ์แผนจิตศึกษาของครูแต่ละคน

เป้าหมาย
• เข้าใจและสามารถออกแบบแผนจิตศึกษาที่มีคุณภาพได้

กระบวนการ
• แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน แต่ละคนนำเสนอการบ้านแผนจิตศึกษาของตนเอง เมื่อนำเสนอเสร็จครบทุกคนแล้ว ให้ช่วยกันวิพากษ์แผนและปรับให้ได้แผนที่ดีที่สุด
• แจกเอกสารการวิพากษ์แผนจิตศึกษา
• เลือก 1 แผนที่ดีที่สุดของกลุ่มนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวงใหญ่
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
12.00 - 13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น.
ทำความเข้าใจการเรียนรู้แบบหน่วยบูรณาการ Problem Based Learning (กิจกรรมปั้นดินน้ำมัน)

เป้าหมาย
• เข้าใจการเรียนรู้แบบหน่วยบูรณาการ Problem Based Learning ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

กระบวนการ
• แบ่งกลุ่มครูเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 6 คน แยก ผอ.เป็นกรรมการไปอยู่อีกห้องหนึ่ง
• แจกดินน้ำมัน และให้โจทย์คณะครู ปั้นดินน้ำมันตามโจทย์
• กรรมการกลับมาที่ห้องเดิม ได้รับแจก Post It เดินชมงานและทายให้ถูกว่าครูปั้นดินน้ำมันเป็นอะไร
• ถอดบทเรียน และเติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
• ครูปั้นดินน้ำมันเพื่อสื่อสารชิ้นงานว่าเป็นเดือนใดเดือนหนึ่งใน 12 เดือนตามโจทย์ที่กลุ่มได้รับ โดยห้ามทำเป็นตัวอักษรและจุด
• ผอ.เป็นกรรมการเดินชมชิ้นงานและทายให้ถูกว่าชิ้นงานแต่ละชิ้นสื่อความหมายแทนเดือนใดบ้าง
14.30 - 14.45 น.
พักเบรกบ่าย
14.45 - 15.30 น.
ทำความเข้าใจการเรียนรู้แบบหน่วยบูรณาการ Problem Based Learning (ต่อ)

เป้าหมาย
• เพื่อเข้าใจการเรียนรู้แบบหน่วยบูรณาการ Problem Based Learning ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

กระบวนการ
• แบ่งกลุ่มครูเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 6 คน แยก ผอ.เป็นกรรมการไปอยู่อีกห้องหนึ่ง
• แจกดินน้ำมัน และให้โจทย์คณะครู ปั้นดินน้ำมันตามโจทย์
• กรรมการได้รับแจก Post It เดินชมงานและทายให้ถูกว่าครูปั้นดินน้ำมันเป็นอะไร
• ถอดบทเรียน และเติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
• ครูปั้นดินน้ำมันเพื่อสื่อสารชิ้นงานว่าเป็นเดือนใดเดือนหนึ่งใน 12 เดือนตามโจทย์ที่กลุ่มได้รับ โดยห้ามทำเป็นตัวอักษรและจุด
• ผอ.เป็นกรรมการเดินชมชิ้นงานและทายให้ถูกว่าชิ้นงานแต่ละชิ้นสื่อความหมายแทนเดือนใดบ้าง
15.30 - 17.00 น.
เรียนรู้การทำหน่วยบูรณาการ Problem Based Learning

เป้าหมาย
• ทดลองทำหน่วยบูรณาการของตนเอง

กระบวนการ
• มอบโจทย์การทำหน่วยบูรณาการตามระดับชั้น
• คณะครูทำงานร่วมกัน
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
• วิพากษ์ และเติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
1.เว็บเชื่อมโยง โยงสาระใดๆ ทั้งหมดว่ามันมีเนื้อหาสาระของศาสตร์ใดบ้างเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่จำกัดแค่ระดับชั้นใดชั้นหนึ่ง แต่เอาทั้งหมดที่โยงได้ ทำเป็นเว็บเชื่อมโยง เพื่อให้เห็นสาระและเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.Mindmapping เมื่อโยงเสร็จแล้ว ทำ Mindmapping แผน โดยไม่แยกเนื้อหาเป็นสาระ แต่ให้เอาเนื้อหาที่มี Concept เดียวกันไว้แขนเดียวกัน กิ่งแก้วอาจมี 3 - 4 กิ่ง ส่วนกิ่งก้อยสามารถมีกิ่งได้หลายกิ่ง
3.เป้าหมายความเข้าใจสูงสุดของหน่วย (Understanding Goal) หาให้ได้ว่าเรื่องนี้ทั้งเรื่องถ้าสร้างการเรียนรู้ไปแล้ว เด็กควรได้หัวใจคืออะไร
4.คำถามใหญ่ (Big Question) ตั้งคำถามอย่างไรเพื่อนำไปสู่การค้นหาความเข้าใจสูงสุดของ Topic (Understanding Goal)
-ควรมีไม่เกิน 2 คำถาม
-เป็นคำถามที่นำไปสู่ความเข้าใจสูงสุด และควรเป็นคำถาม Why (คำถามแต่ละแบบจะมีความลึกต่างกัน เช่น What จะตื้นมาก คำถามอะไร, ถ้าห้เด็กตอบ How ก็เริ่มลึกขึ้น โดย What กับ How สมองส่วนคิดจะทำงาน แต่ถ้า Why จะลึกที่สุด Why สมองส่วนปัญญาญาณซึ่งเป็นสมองส่วนหน้าจะทำงาน)
17.00 - 18.00 น.
แสดงตัวอย่างหน่วยบูรณาการ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ที่มา และการวิเคราะห์เชิงระบบ

เป้าหมาย
• เห็นตัวอย่างการจัดทำหน่วยบูรณาการ Problem Based Learning

กระบวนการ
• แสดงตัวอย่างหน่วยบูรณาการ Problem Based Learning ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
18.00 - 00.00 น.
ให้โจทย์การบ้าน : เพิ่มเติมจากหน่วยที่ทำมาแล้ว

• ข้อที่ 5 ทำการวิเคราะห์เชิงระบบ
• ข้อที่ 6 ทำแผนกิจกรรม 10 สัปดาห์
09
มีนาคม
2019
กิจกรรมวันที่ 3
08.30 - 09.00 น.
เรียนรู้เรื่องโหมดรู้ กายของเราเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เป้าหมาย
• เห็นความสำคัญของร่างกายซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของสติ ทำให้โหมดรู้ทำงาน

กระบวนการ
• ฟังเรื่องเล่า ฟังนิทาน ชมคลิปวิดีโอ
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
09.00 - 09.15 น.
ฝึกฝนโหมดรู้ผ่านการทำ Bodyscan

เป้าหมาย
• เพื่อฝึกฝนโหมดรู้ผ่านการทำ Bodyscan

กระบวนการ
• ฝึกทำ Body Scan ท่านอน
09.15 - 10.30 น.
นำเสนอหน่วยบูรณาการต่อเนื่อง : การวิเคราะห์เชิงระบบ และปฏิทินกิจกรรม 10 สัปดาห์

เป้าหมาย
• เพื่อวิพากษ์และเติมเต็มให้ได้หน่วยบูรณาการที่สมบูรณ์

กระบวนการ
• นำเสนอหน่วยบูรณาการต่อเนื่อง ในข้อที่ 5 และ 6
• วิพากษ์และเติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
• ชมตัวอย่างหน่วยบูรณาการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
10.30 - 10.45 น.
พักเบรกเช้า
10.45 - 12.00 น.
ห้องย่อยครู

ฝึกทำหน่วยบูรณาการเพื่อนำไปใช้จริงที่โรงเรียน

เป้าหมาย
• เพื่อให้ ครู สามารถออกแบบหน่วยบูรณาการ Problem Based Learning ที่ใช้ได้จริงเป็นของโรงเรียนตัวเอง

กระบวนการ
• คณะครูแต่ละระดับชั้นพัฒนาหน่วยบูรณาการของตนเอง
• ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาช่วยเป็น Mentor

โจทย์
• จัดทำหน่วยบูรณาการเพื่อนำไปใช้จริงที่โรงเรียน
หมายเหตุ แยกห้องย่อย ผอ.
•ชวน ผอ.พูดคุยร่วมกัน และคลี่คลายความเข้าใจ
12.00 - 13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.30 น.
ห้องย่อยครู
• ฝึกทำหน่วยบูรณาการเพื่อนำไปใช้จริงที่โรงเรียน (ต่อ)

เป้าหมาย
• สามารถออกแบบหน่วยบูรณาการ Problem Based Learning ที่ใช้ได้จริงของโรงเรียนตนเอง

กระบวนการ
- คณะครูแต่ละระดับชั้นพัฒนาหน่วยบูรณาการของตนเอง
- ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาช่วยเป็น Mentor

โจทย์
• โรงเรียนจัดทำหน่วยบูรณาการเพื่อนำไปใช้จริงที่โรงเรียน
15.30 - 15.45 น.
พักเบรกบ่าย
15.45 - 18.00 น.
ห้องย่อยครู

ฝึกทำหน่วยบูรณาการเพื่อนำไปใช้จริงที่โรงเรียน (ต่อ)

เป้าหมาย
• ครู สามารถออกแบบหน่วยบูรณาการ Problem Based Learning ที่ใช้ได้จริงของโรงเรียนตนเอง

กระบวนการ
- คณะครูแต่ละระดับชั้นพัฒนาหน่วยบูรณาการของตนเอง
- ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาช่วยเป็น Mentor

โจทย์
• โรงเรียนจัดทำหน่วยบูรณาการเพื่อนำไปใช้จริงที่โรงเรียน
18.00 - 00.00 น.
ให้โจทย์การบ้าน ให้แต่ละโรงเรียน PLC

1.ให้ ผอ.และครู PLC โดยทำแผนจิตศึกษาที่ดี 1 แผ่น ใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที แล้ววันรุ่งขึ้นส่งตัวแทน 1 คนนำไปกิจกรรมจิตศึกษาให้กับโรงเรียนที่กำหนดให้ โดยจะมีครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตามไปถ่ายคลิปวิดีโอทุกห้อง ในเวลา 08.30 - 08.50 น. เพื่อนำคลิปวิดีโอกลับมาวิพากษ์ร่วมกันที่ห้องประชุมรวม
2.ให้ ผอ.และครู PLC เรื่องแนวปฏิบัติร่วมกัน (วิถี ตารางเรียน)
10
มีนาคม
2019
กิจกรรมวันที่ 4
08.30 - 08.50 น.
คุณครูที่ได้รับมอบหมายแยกย้ายกันไปทำกิจกรรมจิตศึกษาให้โรงเรียนเพื่อน

เป้าหมาย
• ฝึกฝนการทำกิจกรรมจิตศึกษา

กระบวนการ
• คุณครูที่ได้รับมอบหมายแยกย้ายกันไปทำกิจกรรมจิตศึกษาให้โรงเรียนเพื่อน
• ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาถ่ายคลิปวิดีโอเพื่อนำกลับมาวิพากษ์กัน

โจทย์
• ทำกิจกรรมจิตศึกษาที่ไปถึงเป้าหมายระดับที่ 3 ให้แก่เพื่อน
08.50 - 09.30 น.
เรียนรู้จิตศึกษาผ่าน Performance Art

เป้าหมาย
• รู้จัก Performance Art ในฐานะเครื่องมือสร้างประสบการณ์ใหม่ และมีพลังกระทบอารมณ์ความรู้สึกให้แก่ผู้เรียน

กระบวนการ
• ชมการแสดง Performance Art โดยครูพี่เลี้ยงโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มย่อย
• ถอดบทเรียนร่วมกันในวงใหญ่
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
• แต่ละท่านรู้สึกอย่างไร ตีความว่าอย่างไร / เขาต้องการสื่ออะไรกับเรา แชร์กันและรับฟังกันอย่างตั้งใจ
09.30 - 10.30 น.
เราอยากเห็นและอยากสร้าง “เด็กแบบใหม่” ให้เป็นอย่างไร

เป้าหมาย
• เพื่อให้เห็นภาพว่าการศึกษาไทยควรพัฒนาผู้เรียนให้มี ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเป็นอย่างไร

กระบวนการ
• เขียนลงกระดาษแล้วเก็บรวบรวม
• ชมคลิปวิดีโอแสดงความก้าวหน้าด้านหุ่นยนต์ และ AI
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
• เราอยากเห็นและอยากสร้าง “เด็กแบบใหม่” ให้เป็นอย่างไร จะทำให้เขามีคุณลักษณะเป็นแบบไหน เขียนลงกระดาษ ให้เวลาทำ 10 นาที เสร็จแล้วเก็บรวบรวม ให้วิทยากรเติมเต็ม
10.30 - 10.45 น.
พักเบรกเช้า
10.45 - 11.00 น.
ชมตัวอย่างศิษย์เก่าโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่จบการศึกษาแล้ว

เป้าหมาย
• เพื่อให้ครูได้เห็นผลสัมฤทธิ์ จากการใช้ 3 นวัตกรรม ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ที่ส่งผลต่อการพัฒนาและหล่อหลอม Competency ผู้เรียน

กระบวนการ
• เล่าเรื่องและชมคลิปวิดีโอ, Post Facebook, ภาพถ่าย ฯลฯ
11.00 - 11.30 น.

ชมคลิปวิดีโอกิจกรรมจิตศึกษา วิพากษ์ และเติมเต็มร่วมกัน

เป้าหมาย
• เข้าใจและสามารถออกแบบและทำกิจกรรมจิตศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่ผู้เรียนได้

กระบวนการ
• ชมคลิปวิดีโอจิตศึกษา วิพากษ์ และเติมเต็มร่วมกัน
11.30 - 12.00 น.
ทบทวนความหมาย ขั้นตอน และเป้าหมายของจิตศึกษา

เป้าหมาย
• มีความเข้าใจจิตศึกษาอย่างชัดเจนมากขึ้น

กระบวนการ
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
12.00 - 13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 13.15 น.
ทบทวนการทำ Body Scan ผ่านการรับประสบการณ์ตรง

เป้าหมาย
• เพื่อฝึกฝนโหมดรู้ผ่านการทำ Body Scan

กระบวนการ
• ฝึกทำ Body Scan ท่านอน
13.15 - 15.30 น.
การทำวง PLC ให้มีคุณภาพ

เป้าหมาย
• เข้าใจและสามารถทำวง PLC ให้มีคุณภาพ

กระบวนการ
• ชมคลิปวิดีโอ
• แจกเอกสาร “ขั้นตอน PLC”
• แต่ละโรงเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นตามโจทย์ที่มอบให้
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวงใหญ่
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์ : เราจะทำอย่างไร
• ให้ PLC มีคุณภาพ
• ให้ทุกคนรู้สึกดีเมื่อเข้าวง PLC
• ให้ทุกคนได้เรียนรู้ใหม่เสมอเมื่อ PLC
15.30 - 15.45 น.
พักเบรกบ่าย
15.45 - 18.00 น.
รับประสบการณ์ตรง ทำไมต้อง Problem Based Learning และวิธีการวัดประเมินผู้เรียน

เป้าหมาย
• ทบทวนความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบ Problem Based Learning ตลอดจนวิธีการวัดประเมินผลผู้เรียน

กระบวนการ
• แบ่งครูตามระดับชั้น ทำโจทย์จากอุปกรณ์ที่มอบให้
• ถอดบทเรียน และเติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์ ช่วงที่ 1
1.นึกถึงกระดาษ A4 ที่เราไม่ใช้แล้ว อาจมี A4 หลายแผ่นรวมกัน ท่านคิดว่าจะเอากระดาษนั้นมาทำตะกร้าได้อย่างไร ตะกร้าที่มีฐานขนาดเท่ากระดาษ A4 ที่ใช้ได้จริง รับน้ำหนักขวดน้ำขนาด 600 ml. จำนวน 2 ขวด และมีหูหิ้วด้วย
2.แจกกระดาษและให้เวลาครูทำงาน 20 นาที
3.ในกระบวนการ Active Learning ที่ได้ทำไป มี “ชง เชื่อม ใช้” อย่างไรบ้าง ไล่เรียงกระบวนการออกมา
4.อุปกรณ์ที่แต่ละกลุ่มได้รับ : กระดาษ A4 ใช้แล้วจำนวนหนึ่ง และกระดาษกาว 1 เส้น

โจทย์ ช่วงที่ 2
• จากชิ้นงาน คุณครู จะให้คะแนน K S A คือ ความรู้ ทักษะ เจตคติ อย่างไรบ้าง โดยให้พิจารณาว่า มีวิชาอะไรบ้าง แต่ละวิชาเชื่อมโยงกับเรื่องอะไร / ทักษะอะไรที่เกี่ยวข้อง / คุณลักษณะอะไรที่เกิดขึ้น

หมายเหตุ
• แจกเอกสารการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
18.00 - 00.00 น.

โจทย์การบ้าน

• ในซองกระดาษที่ทุกโรงเรียนได้รับจะมีชิ้นงานประเภทต่างๆ ของเด็กที่ไม่เหมือนกัน มีเอกสารระบุรายละเอียดกระบวนการเล็กน้อย มีรูปกิจกรรม โดยจากชิ้นงานที่นักเรียนทำมาในซอง ให้แต่ละโรงเรียนออกแบบการประเมิน K S A ว่าควรเป็นอย่างไร
11
มีนาคม
2019
กิจกรรมวันที่ 5
08.30 - 09.30 น.
ขอบคุณ – ขอโทษ และการโอบกอด

เป้าหมาย
• สร้างสนามพลังบวกและสัมพันธภาพที่ดีภายในโรงเรียน

กระบวนการ
• ใช้กระบวนการกลุ่มเปิดโอกาสให้คุณครูในโรงเรียนมีโอกาสกล่าวขอบคุณและขอโทษ รวมถึงการโอบกอดซึ่งกันและกัน

โจทย์
• วาดรูปฝ่ามือของเราบนกระดาษ เขียนชื่อคุณครูที่อยากขอบคุณและชื่อของคุณครูที่เราอยากขอโทษลงไปบนนิ้วแต่ละนิ้ว 1 นิ้วเขียนชื่อได้ 1 คน นึกถึงเหตุการณ์ที่เราอยากขอบคุณเขาหรือเหตุการณ์ที่เราอยากขอโทษเขา เขียนชื่อและวงเล็บข้างท้ายไว้ด้วยว่าคนๆ นั้นเราอยากขอบคุณหรือเราอยากขอโทษเขา(อยากจะขอบคุณกี่คนหรือขอโทษกี่คนก็ได้ แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 5 คน) จากนั้นเลือก 1 คนที่เราอยากขอโทษที่สุด แชร์กันในกลุ่มโรงเรียนของเรา บอกเหตุผลด้วยว่าทำไมจึงอยากขอโทษคนๆ นี้
09.30 - 10.00 น.
การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยแบบ Active Learning

เป้าหมาย
• เพื่อให้เห็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

กระบวนการ
• สาธิตการจัดการเรียนรู้ และเติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
10.00 - 10.30 น.
การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์แบบ Active Learning

เป้าหมาย
• เพื่อให้เห็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

กระบวนการ
• สาธิตการจัดการเรียนรู้ และเติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
10.30 - 10.45 น.
วง PLC ที่มีคุณภาพ

เป้าหมาย
• เข้าใจและสามารถทำวง PLC ได้อย่างมีคุณภาพ

กระบวนการ
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
10.45 - 11.00 น.
พักเบรกเช้า
11.00 - 12.00 น.

ข้อบ่งชี้การเป็นโรงเรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ

เป้าหมาย
• โรงเรียนมีเครื่องมือสำรวจความก้าวหน้าของตนเอง

กระบวนการ
• แจกเอกสาร “ข้อบ่งชี้การเป็นโรงเรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ”
• ระดมความคิดเห็นในโรงเรียน
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวงใหญ่
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
• ให้แต่ละโรงเรียนระดมกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ไปถึงข้อบ่งชี้นั้น
12.00 - 12.15 น.
ทบทวนการวิเคราะห์เชิงระบบ

เป้าหมาย
• ทบทวน ทำให้เข้าใจการวิเคราะห์เชิงระบบชัดเจนขึ้น

กระบวนการ
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
12.15 - 12.30 น.
ตัวอย่างการพัฒนาการศึกษาชาติของสิงคโปร์

เป้าหมาย
• เห็นตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน

กระบวนการ
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ
12.30 - 13.00 น.
กรอบคิดเรื่องเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ความหวังการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่

เป้าหมาย
• เข้าใจหลักคิด ความเป็นมา และความสำคัญของเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ

กระบวนการ
• ชี้แจง ทำความเข้าใจ
13.00 - 14.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
14.00 - 15.00 น.
Timeline “เส้นทางสู่การเปลี่ยนใหญ่ Big Change”

เป้าหมาย
• เพื่อให้ได้ Timeline การขับเคลื่อนที่ชัดเจน และเป็นที่รับรู้ร่วมกันของบุคลากรในโรงเรียน

กระบวนการ
• ระดมความคิดเห็นกันในกลุ่มโรงเรียน
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวงใหญ่
• เติมเต็มความรู้ความเข้าใจ

โจทย์
• ให้โรงเรียนทำ Timeline “เส้นทางสู่การเปลี่ยนใหญ่ Big Change”
15.00 - 16.00 น.
Reflection สะท้อนผลการเรียนรู้ร่วมกัน

เป้าหมาย
• แบ่งปันแง่มุมการเรียนรู้ร่วมกัน

กระบวนการ
• ผอ.โรงเรียนสะท้อนผลการเรียนรู้
• คุณครูสะท้อนผลการเรียนรู้
• SP สะท้อนผลการเรียนรู้
• ตัวแทน TDRI สะท้อนผลการเรียนรู้
• ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาสะท้อนผลการเรียนรู้
16.00 - 00.00 น.
บันทึกภาพร่วมกันและปิดการประชุมปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ