การอบรมเชิงปฏิบัติการ Super Coach & Master Teachers
โรงเรียนนาร่องพื้นที่นวัตกรรมศรีสะเกษ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงระบบ
ด้วยนวัตกรรม จิตศึกษา Problem based Learning (PBL) และ Professional Learning Community (PLC)
วันที่ 29-31 กรกฎาคม 2562
ณ โรงเรียนลาปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหารโรงเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจในนวัตกรรม ฝึกปฏิบัติให้มีทักษะการเป็นผู้นาองค์กรและผู้นาทางวิชาการในระดับที่สามารถนาไปใช้ในการพัฒนาองค์กร ให้คำแนะนำครูได้ ทั้งในการวิพากษ์แผน การนิเทศน์ห้องเรียน และการแลกเปลี่ยนในวง PLC เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูทั้งโรงเรียนได้
2) เพื่อพัฒนาศักยภาพครูแกนนำ 24 โรงเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความแม่นยาในการนำนวัตกรรมไปใช้ในทุกขั้นตอน และสามารถถ่ายทอด ให้คำแนะนาต่อครูในโรงเรียน หรือโรงเรียนเครือข่ายได้
- มีความสามารถในการออกแบบกิจกรรมจิตศึกษาในระดับ 2 และ 3 และประเมินผลที่เกิดกับผู้เรียนได้
- มีความสามารถในการออกแบบหน่วย PBL การนำสู่การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนในรูปแบบ Active Learning ได้อย่างแท้จริง
- มีความสามารถประเมินผลการจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนได้
- มีความสามารถในการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของตัวเอง เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตัวเองได้
กลุ่มเป้าหมาย (จำนวน 77 คน)
1) ผู้บริหารโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงระบบ จำนวน 24 คน
2) ครูแกนนำโรงเรียนนาร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงระบบ จำนวน 31 คน
3) ศึกษานิเทศก์ นวัตกรรม จำนวน 6 คน
4) เจ้าหน้าที่ธนาคาร โครงการ SCB Conext Ed จำนวน 10 คน
5) เจ้าหน้าที่มูลนิธิสยามกัมมาจล และทีมสื่อสาร จำนวน 7 คน
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
1) มีความรู้ ความเข้าใจในนวัตกรรม ฝึกปฏิบัติให้มีทักษะการเป็นผู้นำองค์กร และเป็นผู้นำวิชาการในระดับที่สามารถนาไปใช้ในการให้คำแนะนาครูได้ ทั้งในการวิพากษ์แผน การนิเทศน์ห้องเรียน และการแลกเปลี่ยนในวง PLC เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูทั้งโรงเรียน และยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทั้ง 3 ด้านได้
2) ครูแกนนำ มีทักษะในการออกแบบกิจกรรมจิตศึกษา มีทักษะในการออกแบบหน่วย PBL และนาสู่การจัดการเรียนรู้ให้เป็น Active Learning ได้จริง รวมทั้งสามารถประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของตัวเอง เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3) ครูแกนนำจำนวนหนึ่ง (อย่างน้อย 4 โรงเรียน) มีทักษะในการออกแบบและจัดกิจกรรมจิตศึกษาในระดับที่ 2-3 ได้อย่างชานาญ มีทักษะในการออกแบบหน่วย PBL ที่สร้างคุณภาพการเรียนรู้ได้สูง และนาสู่การจัดการเรียนรู้ให้เป็น Active Learning ได้จริงและเกิดผลกับผู้เรียนเป็นรูปธรรม รวมทั้งสามารถถ่ายทอดนวัตกรรมและเป็นพี่เลี้ยงให้กับเพื่อนครูในโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่ายได้
-