กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนนำร่องการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ ครั้งที่ 2 (Learning Space Learning Vision)-รุ่นที่ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์


เป้าหมาย

  • เพื่อเสริมศักยภาพความเป็นผู้นำทางวิชาการให้ผู้บริหาร และครูแกนนำของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ 50 โรงเรียน สามารถสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่สร้างการเรียนรู้คุณภาพ ให้กับผู้เรียนบนฐานทุนทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน โดยโรงเรียนสามารถทำได้ทันทีด้วยตัวเอง และสามารถนำไปออกแบบเชื่อมโยงสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในนวัตกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ อีกทั้งสร้างสรรค์ต่อยอดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้ผู้บริหารและครูแกนนำ สามารถจัดทำวิสัยทัศน์ และจัดทำแผนงาน ที่นำสู่การจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน ห้องเรียน ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนได้จริง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • สามารถสร้างพื้นที่การเรียนรู้คุณภาพ ให้กับผู้เรียนบนฐานทุนทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน โดยโรงเรียนสามารถทำได้ทันทีด้วยตัวเอง และสามารถนำไปออกแบบเชื่อมโยง สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในนวัตกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ อีกทั้งสร้างสรรค์ต่อยอดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง
  • โรงเรียนสามารถจัดทำวิสัยทัศน์ ที่สอดคล้องกับความต้องการและฐานทุนของโรงเรียนที่ชัดเจน อีกทั้งสามารถจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนอย่างมีทิศทาง และนำสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายได้

กลุ่มเป้าหมายทั้งโครงการ 280 คน

  • ผู้บริหารและครูแกนนำ โรงเรียนนำร่องในพื้นที่โครงการนวัตกรรมการศึกษา 50 โรงเรียน พร้อมจำนวน โรงเรียนละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 250 คน
  • ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมืองศรีสะเกษ รวม 10 คน
  • วิทยากรกระบวนการ สถาบันอาศรมศิลป์ 8 คน
  • คณะทำงาน มูลนิธิสยามกัมมาจล 8 คน
  • คณะทำงาน SCB Connext ED และ School Partner 9 คน

โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในรุ่นที่ 2

  • จำนวน 15 โรงเรียน จำนวนผู้อำนวยการ และคุณครูแกนนำ ทั้งหมด 75 คน

1. โรงเรียนบ้านกระถุน

2. โรงเรียนบ้านสำโรงโคเฒ่า

3. โรงเรียนบ้านคูซอด

4. โรงเรียนบ้านหญ้าปล้อง

5. โรงเรียนบ้านคลองเพชรสวาย

6. โรงเรียนบ้านตะเคียนราม

7. โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ

8. โรงเรียนบ้านธาตุพิทยาคม

9. โรงเรียนบ้านเพียนาม

10. โรงเรียนนิคม 2 (ตชด. สงเคราะห์)

11. โรงเรียนบ้านอาวอย

12. โรงเรียนบ้านโนนสูง

13. โรงเรียนอนุบาลเบญจลักษ์

14. โรงเรียนบ้านโนนคูณ

15. โรงเรียนบ้านโนนแสนคำ (หนองศาลาศรีสะอาด) 

กำหนดการและรายงานผล
24
เมษายน
2019
กำหนดการวันที่ 24 เมษายน 2562
13.00 - 13.30 น.
ลงทะเบียน ณ โรงเรียนบ้านอาวอย อำเภอ ขุขันธ์
13.30 - 13.55 น.
กล่าวต้อนรับคณะครู และผอ. ทั้ง 15 โรงเรียน โดย รศ.ประภาภัทร นิยม และ คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร
13.55 - 14.10 น.
กระบวนการ ขั้นที่ 1: นำกระบวนการ Check in โดย คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร และขอตัวแทนคุณครู และผอ. ได้แลกเปลี่ยน

โจทย์ Check in : "ท่านมีความคาดหวังอะไร คาดหวังอย่างไร และอยากได้อะไรกลับไปใช้กับโรงเรียนของท่าน"
14.10 - 18.00 น.
กระบวนการ ขั้นที่ 2 : รวมทีมโรงเรียนตนเอง (Dream-Team) และให้ลงมือปฏิบัติจริง สร้าง Learning Space

แนวคิดของโจทย์ : ชวนกลับไปมองสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเด็ก เมื่อเด็กเดินเข้ามาในโรงเรียนเขาเจออะไรบ้าง โดยให้คุณครูทุกคนสมมติว่าตนเองเป็นเด็ก “ความเป็นเด็ก” การที่เด็กไม่อยู่กับที่ คืออาการที่เด็กอยากรู้อยากเห็น อยากรู้ว่าตัวเองทำอะไรได้แค่ไหน เขาอยากรู้พิกัดตัวเอง เพราะฉะนั้นคุณครูจะทำอย่างไรให้สิ่งที่เด็กอยากจะเล่น อยากรู้อยากเห็นกลายเป็นการเรียน และจะทำอย่างไรเพื่อเป็นการดึงความสนใจให้เด็กได้คิดและได้โต้ตอบกับสิ่งนั้นๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเขา


เป้าหมายหลักของโจทย์ : มี 2 ข้อ
1. เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน Dream-Team
เป้าหมายย่อย :
a. เพื่อให้ผู้อำนวยการเห็นบทบาทในการสนับสนุนครูของตัวเอง
b. เพื่อให้ครูและผู้อำนวยการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

2. เพื่อให้เข้าใจวิธีการสร้าง Learning Space โดยเริ่มมองจาก 'ทุน' ที่ตัวเองมี
เป้าหมายย่อย :


โจทย์ที่ 1 : ให้คุณครูและผอ.ทุกท่านไปถ่ายภาพมาคนละ 1 ภาพ โดยมองจากสายตาที่เป็นเด็ก
โจทย์ที่ 2 : ทุกคนนำภาพที่ได้กลับมาปรึกษาหารือกับคณะครูและผอ.ในกลุ่มว่าเห็นอะไรอยู่ในรูปนั้น มีองค์ประกอบอะไรอยู่ในนั้นบ้างที่มันดึงดูดให้เราเกิดจินตนาการกับการเล่นหรือการเรียนรู้ขึ้นมา (ให้เวลาในการทำกิจกรรม 15 นาที) เมื่อปรึกษาหารือกับคณะครูและผอ.ภายในโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว ให้เลือกมาเพียง 1 ภาพเท่านั้น
โจทย์ที่ 3 : ให้คณะครูและผอ.ในโรงเรียนนำภาพที่เลือกไว้มานำเสนอและออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน
โจทย์ที่ 4 : ลงมือปฏิบัติจริง ร่วมกันสร้าง Learning Space กับสถานที่จริง
โจทย์ที่ 5 : นำเสนอผลงานการจัดการพื้นที่การเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม Before และ After Learning Space
18.00 - 19.00 น.
นำเสนอ Learning Space ของแต่ละโรงเรียน จากการไปลงมือทำ
19.00 - 00.00 น.
พักผ่อนตามอัธยาศัย
25
เมษายน
2019
กำหนดการวันที่ 25 เมษายน 2562
09.00 - 09.50 น.
1. กิจกรรม AAR Reflection ในหัวข้อ Learning Space และ Dream Team โดยการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 8 กลุ่ม
09.50 - 12.00 น.
2. ระดมความคิดสะท้อนการเรียนรู้ 3 โจทย์

เป้าหมายของโจทย์ :
1. ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างทีม การแบ่งบทบาทการทำงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกคนภายในทีม และเพื่อให้ทีมเห็นเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน
2. สร้างความเข้าใจเรื่อง Learning space เพื่อให้ได้ทบทวนนิยามหรือความหมายของคำว่า Learning space จากการได้ลงมือปฎิบัติงานจริง ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการกลับไปพัฒนาโรงเรียนต่อไป
3. เพื่อสร้างแรงบันดาลใจเพื่อกลับไปพัฒนางานต่อ

โจทย์ที่ 1 : Team Work เกิดขึ้นอย่างไร
โจทย์ย่อย : ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกันภายในทีมอะไรบ้าง/อย่างไร (บทบาท ผอ. / บทบาทครู / การจัดบทบาทความเป็นทีม - การทำให้ทีมมีเป้าหมายเดียวกัน / ใช้ศักยภาพแต่ละคนเข้ามามีส่วนร่วม โดยไม่ใช่การสั่งการ)

โจทย์ที่ 2 : สิ่งที่ทำ (ลงมือปฏิบัติจริง) สอดคล้องกับความเข้าใจเรื่อง Learning Space หรือไม่อย่างไร จะนำไปพัฒนาต่ออย่างไร
โจทย์ย่อย : ท่านมีความเข้าใจใหม่ เกี่ยวกับ Learning space อย่างไร (ความหมายของ Learning space ในหลายระดับ)

โจทย์ที่ 3 : กระบวนการที่ทำไปเมื่อวาน ได้สร้างแรงบันดาลใจ หรือจุดประกายความคิดให้ท่านอย่างไร
โจทย์ย่อย : ได้แรงบันดาลใจอะไรบ้าง (สิ่งที่อยากจะกลับไปทำต่อ)


12.00 - 13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
15.00 - 18.00 น.
4. ระดมความคิดทำ Learning Vision ของโรงเรียนตนเอง พร้อมทั้งนำเสนอ และได้รับการเติมเต็มจากสถาบันอาศรมศิลป์ และมูลนิธิสยามกัมมาจล

เป้าหมายของโจทย์
1. เพื่อให้ทบทวนทุนเดิมและทรัพยากรของโรงเรียนที่มีอยู่ ในการสร้างเป็น Learning Space
2. เพื่อให้เห็นถึงเป้าหมายของการสร้าง Learning Space ว่าเราอยากให้เด็กได้เรียนรู้อะไร
3. เพื่อให้เห็นแผนการทำงานอย่างชัดเจน ตรงตามเป้าหมายของการสร้าง Learning Space

โจทย์ที่ 1 : วิเคราะห์โรงเรียนว่าอะไรคือต้นทุนที่จะนำมาสร้างเป็น Learning Space
โจทย์ที่ 2 : กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เด็กได้เรียนรู้
โจทย์ที่ 3 : ช่วยกันวางแผนและออกแบบ Learning Space ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโจทย์ที่ 2

ทิ้งทายการบ้านสำหรับวันพรุ่งนี้แต่ละโรงเรียนในโจทย์ "ท่านมีเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ให้เด็กในโรงเรียนอย่างไร อยากให้เด็กมีบุคลิก หรือทักษะอย่างไร"
26
เมษายน
2019
กำหนดการวันที่ 26 เมษายน 2562
09.00 - 12.00 น.
1. นำเสนอ “เป้าหมาย” ในการจัดการศึกษาให้เด็กในโรงเรียน” และได้รับการเติมเต็มจากทีมวิชาการกลาง และจากโรงเรียนที่เข้าร่วมอบรม

เป้าหมายของโจทย์ : เพื่อให้คุณครูสร้างลักษณะของเด็กให้ชัด เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการสร้าง Learning Space ของโรงเรียน
12.00 - 13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น.
2. ชวนคิดต่อสิ่งที่จะกลับไป ‘ทำทันที’ ที่โรงเรียนของตนเอง ให้เชื่อมโยงกับ ‘เป้าหมาย’ ต่อเด็ก

เป้าหมายของโจทย์ :
เพื่อเลือกพื้นที่ในการสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และจัดทำแผนการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของโรงเรียน


โจทย์ที่ 1 : สำรวจพื้นที่ที่สามารถเป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
โจทย์ที่ 2 : เลือกพื้นที่ในโรงเรียนท่าน จุดไหนที่จะทำได้ง่าย และเร็วที่สุด (ท่านจะทำอะไร ทำอย่างไร ได้อะไร)
โจทย์ที่ 3 : วางแผนการดำเนินงาน และ Timeline
14.30 - 16.00 น.
3. นำเสนอ 2 โจทย์ 1. เป้าหมายต่อเด็ก 2. การเลือกพื้นที่ Learning Space ทำทันที
16.00 - 16.10 น.
กล่าวปิดงาน และขอบคุณ โดยผอ. สมรักษ์ จากโรงเรียนบ้านโนนแสนคำ (หนองศาลาศรีสะอาด)