
หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนตามปกติ ทั้งจากมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดและมาตรการอื่นๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค ทำให้โรงเรียนต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในหลายรูปแบบตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ 1. On-site เรียนที่โรงเรียน โดยมีมาตรการเฝ้าระวังตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) 2.On-air เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ DLTV 3.On-demand เรียนผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ 4.On-line เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต และ 5.On-hand เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร เช่น หนังสือ แบบฝึกหัดใบงาน ในรูปแบบผสมผสาน หรืออาจใช้วิธีอื่นๆ เช่น วิทยุ เป็นต้น
ทว่าด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนพื้นฐานความพร้อมของนักเรียนที่แตกต่างกัน ทำให้การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ได้ทั้งความรู้เชิงวิชาการและทักษะที่เหมาะสมเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้ ประสบการณ์และการออกแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่ามีโรงเรียนต้นแบบในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่องหลายแห่งดำเนินการได้เป็นอย่างดี สามารถนำเสนอเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้โรงเรียนอื่นๆ นำไปปรับใช้อย่างสอดคล้องกับพื้นที่และสถานการณ์
โอกาสนี้ คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม ในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ร่วมกับสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จึงได้จัดการเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ 'ล็อกดาวน์' ไม่ล็อกการเรียนรู้ : บทเรียนการจัดการเรียนรู้จาก 3 กรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารให้ ผู้บริหาร ครูบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนสื่อมวลชน ได้เห็นถึง แนวทางและตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 โดยกำหนดการจัดเสวนาขึ้น 3 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ 1: วันที่ 22 ส.ค. 2564 กรณีศึกษา โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาและเครือข่ายโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดศรีสะเกษ
- ครั้งที่ 2: วันที่ 29 ส.ค. 2564 กรณีศึกษา โรงเรียนรุ่งอรุณและเครือข่ายโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดระยอง
- ครั้งที่ 3: วันที่ 5 กันยายน 2564 กรณีศึกษา เครือข่ายโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดสตูล
วัตถุประสงค์
1.เพื่อนำเสนอแนวคิดและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
2.เพื่อให้ผู้บริหาร ครู บุคคลากรด้านการศึกษา และคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้เห็นตัวอย่าง และนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและพื้นที่
3.เพื่อสื่อสารให้สังคมได้เห็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและมีประสิทธิภาพในสถานการณ์โควิด-19
“พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ปลดล็อกข้อจำกัด สร้างโอกาสการเรียนรู้”
โดย คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ประธานคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม ในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
กรณีศึกษา โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
โดย ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์
1. แนวคิดการออกแบบการเรียนรู้
1. การเตรียมความพร้อมครู
2. การเตรียมความพร้อมผู้เรียน
3. การเตรียมความพร้อมผู้ปกครอง และชุมชน
Good Practice การจัดการเรียนรู้ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ตามแนวคิด “เปลี่ยน Living เป็น Learning “ จากคุณครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
1. ครูสุกัญญา แสนลาด การจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย
2. ครูสิริมา โพธิจักร การจัดการเรียนรู้ระดับประถม
3. ครูพรรณี แซ่ซือ การจัดการเรียนรู้ระดับมัธยม
• ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล
• ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ
ประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาสังคม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
• รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี
ประธานคณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารวิชาการ ในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
• ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน
ผอ.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
• รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์
อนุกรรมการด้านบริหารงานวิชาการ ในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา