หลักการ ความเป็นมาของโครงการ
เยาวชนไทยในชนบทไทยหรือแม้แต่เด็กที่อยู่ในชุมชนเมืองแต่กลายเป็นเด็กชายขอบของสังคม เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปที่ทำให้พวกเขาขาดโอกาสที่จะเข้าถึงระบบการศึกษาที่ดีและขาดครูที่สามารถนำทางพวกเขาได้ เยาวชนกลุ่มนี้กำลังเผชิญกับปัญหาหนักหน่วงหลายประการ ที่เห็นชัดได้แก่ เด็กไม่มีความสุขในการเรียน ไม่มีแรงบันดาลใจในการเรียน หรือขาดเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง เนื่องมาจากระบบการศึกษาที่ไม่ได้ให้คุณค่ากับกระบวนการเติบโตอย่างสมดุล และการศึกษาที่ไม่ได้ให้คุณค่ากับการเติบโตของปัจเจกภาพ ขาดการเชื่อมโยงกับสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เยาวชนส่วนหนึ่งที่อยู่ในระบบการศึกษาแบบนี้ไม่ได้ พวกเขาจึงหลุดออกจากระบบมาอย่างผู้พ่ายแพ้ พวกเขาถูกตอกย้ำด้วยความผิดหวัง เสียใจและสิ้นหวังของครอบครัวและชุมชน สังคมและรัฐเองก็ขาดระบบรองรับให้ความเป็นมนุษย์ของพวกเขาได้เติบโต การศึกษานอกระบบก็ทำได้เพียงการให้วุฒิการศึกษาเพื่อไปสมัครงานในโรงงานหรือการไปเป็นลูกจ้างเท่านั้น ในขณะที่พัฒนาการของช่วงวัยรุ่น การได้รับการยอมรับ/การมีตัวตนว่าเขาเป็นใครในครอบครัวหรือในสังคมเป็นเรื่องสำคัญ
ปัญหาที่กำลังรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ เด็กเยาวชนที่หลุดออกมาจากการศึกษาในระบบ และไม่สามารถเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา หรือการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การไม่มีความสุขกับการเรียน การศึกษาไม่ตอบโจทย์ชีวิตของเขาได้ หรือแม้แต่การหลงผิดไปตามเพื่อนและตามกระแสสังคมที่รุมเร้า สำหรับเด็กเยาวชนที่ออกจากระบบเพราะรู้ความต้องการที่แท้จริงของตนเองก็จะสามารถเดินตามฝันของตนเองได้อย่างเต็มกำลัง แต่สำหรับเยาวชนที่ออกมาโดยยังไม่ความต้องการที่แท้จริงของตนเอง การออกนอกระบบทำให้พวกเขามีเวลาว่างมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ผลักดันให้เยาวชนใช้เวลาว่างที่พวกเขามีอย่างมากมายไปกับการแสวงหาและสร้างการยอมรับอย่างไร้ทิศทางและนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาอีกมากมาย
รากของปัญหาไม่ใช่เพียงระบบการศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องราวอื่นๆ อีกมากมายที่ฉุดกระชากให้เยาวชนต้องหลุดไปจากเส้นทาง ทั้งความแตกแยกภายในครอบครัว เด็กอยู่กับปู่ย่าตายาย และการขาดการสื่อสารที่ดีในครอบครัวทำให้เกิดความแตกแยกแม้ทุกคนจะอยู่ด้วยกัน ปัญหายาเสพติดที่ระบาดทั่วไปโดยมีเยาวชนวัยรุ่นเป็นเหยื่อสำคัญ ปัญหาพฤติกรรมทางศีลธรรมจรรยาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งข่าวคราวการทะเลาะเบาะแว้ง ยกพวกตีกันระหว่างโรงเรียนของนักเรียนบางกลุ่ม และเด็กติดเกมส์คอมพิวเตอร์ทั้งหลายก็เป็นปัญหากระจายตัวอย่างน่าเป็นห่วง ปัญหาชุมชนและสังคมขาดต้นแบบที่จะช่วยหล่อหลอม หรือเป็นแรงบันดาลใจที่จะสร้างไฟฝันหรือสร้างเป้าหมายชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนที่จะเดินไปสู่ความสุขที่แท้จริงมากกว่าความสุขชั่วครั้งชั่วคราว
ปัญหาดังกล่าว มีความสลับซับซ้อนอย่างยิ่ง การจะแก้ปัญหาเหล่านั้นเฉพาะปรากฏการณ์ที่มองเห็นเท่านั้นไม่เพียงพอ สาเหตุหลักอันหนึ่งคือ ระบบการศึกษา ระบบสังคม ระบบเศรษฐกิจที่ผิดเพี้ยน ส่งผลให้คนรู้สึกด้อย ไม่เคารพตนเอง รู้สึกตนเองไม่ดีพอ ผลของสิ่งเหล่านี้แสดงออกมาในหลากหลายรูปแบบดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องกลับมาที่การเรียนรู้แบบใหม่ที่จะนำไปสู่การรื้อฟื้นความเคารพตนเอง เคารพผู้อื่น เคารพธรรมชาติ เด็กและเยาวชนจะต้องได้รับการศึกษาที่เป็นองค์รวมของชีวิต เพื่อจะได้เห็นความสัมพันธ์และโยงใยของตนเองกับสรรพสิ่ง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผ่านประสบการณ์ ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ผ่านมือ ผ่านหัวใจ และผ่านสมองอย่างสมดุล ทั้งผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ไปด้วยกัน ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่นำไปสู่การเห็นคุณค่าในตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอก คือ ทรัพย์ อำนาจ และสถานะ แต่มุ่งบ่มเพาะอริยทรัพย์ภายในให้งอกงาม
ในช่วงระยะเวลา 12 ปี สถาบันยุวโพธิชน ภายใต้ชุมชนนิเวศเอเชีย ได้จัดค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชนขึ้นมากมายหลายครั้ง และพบว่า ค่ายที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับผู้เข้าร่วมในระยะยาวมากที่สุด คือ ค่ายยุวโพธิชน หรือค่ายฤดูร้อน ที่ใช้ระยะเวลาถึง 21 วัน นอกจากพวกเขาจะได้แรงบันดาลใจและแนวทางแล้ว พวกเขายังมีเวลามากพอที่จะบ่มเพาะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองไปทางบวกทั้งในด้านความเป็นผู้นำ การทำงานแบบมีส่วนร่วม ใฝ่เรียนรู้ การรักในการฝึกฝนตนเองผ่านการภาวนา และการมีจิตใจอาสารับใช้สังคม เป็นต้น
นอกจากกระบวนการเรียนรู้ตลอด 21 วัน สถาบันยุวโพธิชน ร่วมกับสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ยังได้จัดระบบการสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและชุมชนท้องถิ่นผ่านโครงงานสร้างสรรค์ชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายที่ปัญหาของชุมชนได้รับการแก้ไข โดยเด็กเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม และกระบวนการมีส่วนร่วมนั้น ทำให้พวกเขามีความสามารถมากขึ้น และมีจิตใจอาสารักการทำเพื่อผู้อื่นและชุมชนท้องถิ่นของตนเอง เพราะการได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำอย่างเป็นระบบนั้นจะทำให้
พวกเขาได้พัฒนาทักษะที่สำคัญของประชาชนในศตวรรษที่ 21 ที่จะทำให้พวกเขาเติบใหญ่ในสังคมนี้อย่างมีความสุข และได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มภาคภูมิ โดยมีองค์กรในท้องถิ่นเป็นกลไกสนับสนุนทั้งงบประมาณและการติดตาม
“โครงการสร้างเครือข่ายและพัฒนาภาวะการนำของแกนนำเด็กและเยาวชน : สร้างไฟฝันปั้นอุดมคติให้เบ่งบาน” เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมเด็กเยาวชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชนตนเองร่วมกับผู้ใหญ่ในชุมชนนั้น ด้วยความสมัครใจที่จะเข้าร่วมอย่างเต็มกำลัง มีส่วนร่วมคิด ตัดสินใจ และลงมือทำเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ใหญ่ในชุมชน เห็นงานที่ทำเป็นการบ่มเพาะความเชื่อมั่นในตนเองอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งนำไปสู่ความเคารพในตนเอง เคารพผู้อื่น และเคารพธรรมชาติ
วัตถุประสงค์โครงการ
1.พัฒนาภาวะการนำของแกนนำเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีแรงบันดาลใจ และเครื่องมือในการฝึกฝนตนเอง สามารถนำหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีจิตอาสารับใช้สังคม รวมถึงการเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะคุณค่าแท้คุณค่าเทียมได้ และนำไปสู่การตัดสินใจเลือกการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม
2.จัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับแกนนำเด็กและเยาวชนเพื่อให้เกิดความรักและเห็นคุณค่าของชุมชนท้องถิ่น มีแรงบันดาลใจที่จะลุกขึ้นมาปฏิบัติการเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
3.เสริมทักษะการสืบค้นและจัดเก็บข้อมูลรวมถึงการบริหารจัดการโครงการอย่างมีส่วนร่วมสำหรับแกนนำเยาวชน เพื่อให้สามารถสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นร่วมกับผู้ใหญ่ในชุมชนของตนเองได้
ทีมกระบวนกรหลัก
- 1.นางสาววราภรณ์ หลวงมณี
- 2.นายจรายุทธ สุวรรณชนะ
- 3.นางสาวศิริพร ฉัตรหิรัญมงคล
- 4.นางสาวพรพิมล สันทัดอนุวัตร
- 5.พระสนั่น โฆสณาโม
วิทยากรเชิญตามประเด็น
- 1.นางสาวนฤมล ไพบูลย์สิทธิคุณ ประเด็น climate change และสำนึกสิ่งแวดล้อม
- 2.นายประชา หุตานุวัตร ประเด็นการรู้จักสังคม
- 3.นายชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญโญ ประเด็นการสื่อสารอย่างสันติและซาเทียร์
- 4.นายมาร์ติน วีลเลอร์ ประเด็น ระบบเกษตรนิเวศ
- 5.ละครชุมชน
- 6.เครื่องมือวิจัยแบบมีส่วนร่วม
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาววราภรณ์ หลวงมณี ผู้อำนวยการสถาบันยุวโพธิชน
เวลา 06.00-07.30 น.
-สวดมนต์ ภาวนา
-ออกกำลังกายด้วยโยคะ หรือปัญจลีลา
-ทำอาหารเฉพาะมื้อเย็น (ตามกลุ่มฐาน)
-ทำความสะอาดสถานที่เฉพาะช่วงเย็น (ตามกลุ่มฐาน)
การรับประทานอาหารอย่างมีสติ
-พิจารณาอาหารและรับประทานอาหาร
เตรียมความพร้อมในการเรียนรู้
-ร้องเพลงบทเพลงที่สร้างสรรค์
-ภาวนา
-สันทนาการ
การพักผ่อนอย่างสมบูรณ์
-ผ่อนพักตระหนักรู้
บันทึกการเรียนรู้ก่อนนอน
- ฝึกการคิดใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง
- ฝึกการเขียนบันทึก
รายละเอียดกระบวนการ
เพื่อนคู่หู
-กิจกรรมผ่านประสบการณ์เพื่อสร้างพลังกลุ่มฐาน
-กิจกรรมผ่านประสบการณ์ท้าทายกลุ่มใหญ่
หมายเหตุ : ทุกกิจกรรมจะใช้วงจรการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ คือ
(1.) กิจกรรมผ่านประสบการณ์
(2.)ทบทวนความรู้สึก
(3) ทบทวนขั้นตอนการดำเนินงาน
(4.)จับหลักการสำคัญ/หลักทั่วไป
(5) การประยุกต์ใช้ วงจรนี้จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่าน กาย ใจ สมอง
ผลลัพธ์/ผลผลิต
-ความรัก/สัมพันธภาพคือการศึกษา
-รู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ-พัฒนาภาวะผู้นำ
-รู้จักการสังเกตุตนเอง สังเกตผู้อื่น การฟัง การสะท้อนกลับ และการพูดคุยแลกเปลี่ยน
รายละเอียดกระบวนการ
เพื่อนคู่หู
-กิจกรรมผ่านประสบการณ์เพื่อสร้างพลังกลุ่มฐาน
-กิจกรรมผ่านประสบการณ์ท้าทายกลุ่มใหญ่
หมายเหตุ : ทุกกิจกรรมจะใช้วงจรการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ คือ
(1.) กิจกรรมผ่านประสบการณ์
(2.)ทบทวนความรู้สึก
(3) ทบทวนขั้นตอนการดำเนินงาน
(4.)จับหลักการสำคัญ/หลักทั่วไป
(5) การประยุกต์ใช้ วงจรนี้จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่าน กาย ใจ สมอง
ผลลัพธ์/ผลผลิต
-ความรัก/สัมพันธภาพคือการศึกษา
-รู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ-พัฒนาภาวะผู้นำ
-รู้จักการสังเกตุตนเอง สังเกตผู้อื่น การฟัง การสะท้อนกลับ และการพูดคุยแลกเปลี่ยน
- ดูหนังเพื่่อให้เห็นตัวอย่างคนที่พยายามทำความเข้าใจตนเอง
-กิจกรรม "ธาตุ 4" คน 4 แบบ
- ฝึกวิเคราะห์ตนเอง
- ฝึกสังเคราะห์ "ชีวิตที่สมดุลทั้ง 4 แบบ จะเป็นอย่างไร
- รู้จักสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของตนเอง 5 แบบ