ค่ายถอดบทเรียนโครงงานพลเมืองรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชน
วันที่24-26 สิงหาคม2561
ณ พีรดา ริเวอร์วิว รีสอร์ท อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
ที่มา
โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 3 : การขับเคลื่อนกลไกพัฒนาเยาวชนด้วยการจัดการความรู้และกระบวนวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาทีมนักถักทอชุมชน (ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ปลัดเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น) แกนนำชุมชน และแกนนำเยาวชน มีความสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นและการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชน นำไปสู่การพัฒนาระบบ / กลไก สนับสนุนให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองและเครือข่ายโดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ปี
เพื่อให้งานเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีพลัง และเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมกล่าวคือ เด็กเยาวชนค้นพบศักยภาพของตนเองและได้รับการพัฒนา ให้สามารถทํางานเป็นทีม สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในชุมชนเพื่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชน จึงเชิญแกนนำเยาวชน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานเด็กและเยาวชนและพี่เลี้ยงชุมชนที่เป็นแกนนําในการทําโครงงานคนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชน ในแต่ละตำบลเข้าร่วม “เวทีถอดบทเรียนโครงงานคนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชน”
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เยาวชนที่ผ่านการทําโครงงานได้ทบทวนและเรียนรู้จากกิจกรรมที่ทํา
2.เพื่อให้เยาวชนได้เพิ่มทักษะ ความรู้ และแรงบันดาลใจการถอดบทเรียนและการคิด สร้างสรรค์โครงงานโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
3.เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนําเด็กและเยาวชนจังหวัดสุรินทร์
สนับสนุนโดย
- มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
- สถาบันยุวโพธิชน มูลนิธิสัมมาชีพ
- สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น
- สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
- มูลนิธิสยามกัมมาจล
พื้นที่เป้าหมายจังหวัดสุรินทร์
- เทศบาลตำบลเมืองแก
- เทศบาลตำบลกันตวจระมวล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอียอ
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสนิท
- องค์การบริหารส่วนตำบลสลักได
- องค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวงัว
ขั้นตอนที่ 1 ทําความคุ้นเคยกันผ่านการเขียน และสร้างแรงบันดาลใจในการเขียน
- ขั้นตอน
1.ลุกขึ้นยืน
ตรงกลางมีอักษรภาษาไทย 2 ชุด ให้แต่ละคนไปเลือกมา 1 ใบ เห็นตัวอักษรคล้ายๆ ตัวฉันเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2.แนะนำตัวชื่อเล่นและบอกอักษรตัวที่เลือก ไม่ต้องบอกว่าเป็นตัวอักษรก็ได้ให้มองว่าเป็นภาพก็ได้
3.เดินไปจับคู่กับคนที่เลือกอักษรเหมือนกัน ถ้าไม่มีให้ยืนคนเดียวและจับคู่กับคนไม่มีคู่และบอกเหตุผลกับเพื่อนเลือกอักษรตัวนี้เพราะอะไร
4.ให้คนที่จับคู่กันให้ยืนหัวไหล่ชนกัน ยกนิ้วชี้ให้เขียนอักษรที่เลือกมาในอากาศแบบไม่บรรจงแต่มีชีวิตชีวา
และให้ใช้ศอกข้างขวา / หัวเข่า / หัวไหล / ศรีษะ / ลิ้น / เอว / เขียนตัวอักษรของเราแบบมีชีวิตชีวา เป้าหมายเพื่อให้ขยับร่างกายตัวเองมากขึ้น
5.โจทย์ ข้อแรก วาดภาพให้ไม่สวยก่อนไปฝึกวาดภาพให้สวยโดยการแปลงตัวอักษรให้เป็นรูปภาพ ให้เวลาสองนาที
- ใครชอบวาดรูปบ้าง / ใครไม่ชอบวาดรูป เหตุผลเพราะอะไร
“การวาดรูปวันนี้ไม่เน้นให้สวยงาม วาดเพื่อดูแลความรู้สึกปลดปล่อยอารมณ์ วาดระบายเพื่อให้มีความกล้าหาญมากขึ้น”
- ให้เขียนอักษรที่เลือกมา 1 ตัว บนกระดาษ (ตัวใหญ่ / ตัวเล็กได้หมด)
- ตัวอักษรคือตัวเส้น โค้ง เว้า ยัก ตรง ลองมองตัวอักษรใหม่ให้เป็นแบบกายภาพ เช่นเลือกก.ไก่ ก.ไก่ เป็นภาพอะไรดี ทำให้กลายเป็นภาพบางอย่างขึ้นมา ไม่ต้องกลัวว่าผิดหรือโดนหักคะแนนหรือไม่
ตัวอย่างการวาด เปาโล วาดจากอักษรค.ควาย กลายเป็นทุ่งนาแบม จากอักษร ส.เสือ กลายเป็นบ้าน ไผ่ จากอักษรฝ.ฝา เป็นกระต่ายในทุ่งหญ้า ง.งู เป็นรูปบ้าน ณ.เณร เป็นรูปดอกไม้
น.หนู เป็นช่อดอกไม้ ช.ช้าง กลายเป็นงูมีขาและหงอน ปราง ตัวอักษร ย.ยักษ์ เป็นพระอาทิตย์
“เท่าที่ดูวาดสวยแต่ไม่ค่อยมั่นใจ วาดสวย ไม่สวยไม่สำคัญเท่ากับความตั้งใจที่เราวาดอยู่ในภาพ
โจทย์ ให้วาดไวๆ ทีละรูป ๆ ละ 15 วินาที
หลักการ วาดมั่วๆ ก่อนพอเป็นตัวและใช้หัวใจ คือความรู้สึกไม่ต้องคิดมาก
- วาดรูป ต้นไม้ / บ้าน / ดอกไม้ / มด /
- “เริ่มท้าท้ายขึ้น ถ้าวาดไม่ทันไม่เป็นไรให้อยู่กับโจทย์ต่อไป ทำเท่าที่ทำได้ วาดไม่ทันปล่อยไป”
- วาดรถตู้ / หิวข้าว
โจทย์ ความรู้สึกอย่างไรบ้างตอนวาด ชอบรูปไหนที่ตัวเองวาด
- แอ๋ม รู้สึกกลัวไม่ทัน ชอบรูปบ้าน
- กุ้ง ชอบรถตู้เพราะเป็นสี่เหลี่ยมดี
- วิ รู้สึกท้าทาย ชอบรูปหิวข้าวเพราะตอนนี้กำลังหิวข้าว
- ปุ้ย ชอบรูปดอกไม้ ทำให้เรามีความสุข
- อ๋อง รู้สึกสนุกดี ชอบรูปหิวข้าวเพราะตรงกับความรู้สึกตรงนี้
- ข้าว รู้สึกสนุกดี ชอบรูปดอกไม้
โจทย์ วาดด้วยเวลาที่น้อยลง 10 วินาที
- รูปต้นข้าว / นาฬิกา / ดอกทานตะวัน / ห้องน้ำ / ประเทศไทย / เศร้า เสียใจ / เครียด / นายกประเทศไทยตอนนี้ / อ้อย วราภรณ์
โจทย์ หันหน้าหาคู่เดิม โชว์รูปให้เพื่อนดู แล้วเล่ารูปอะไรเป็นรูปอะไร
โดย ครูโอเล่ อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม
ขั้นตอน
อุปกรณ์ สมุด 1 เล่ม / ปากกา
หน้าแรกเว้นไว้ เพื่อใส่ชื่อโครงงาน
บนกระดาน โจทย์ ช่วยกันวาดรูปจากวงกลมให้กลายเป็นหน้าคน
วาดวงกลมหนึ่งวง กลายเป็นหน้าคนเพราะเราเติมตา ปาก จมูก หู ผม โดยให้ทีละคนวาด ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการวาดรูปหน้าคนเติมทีละส่วน
โจทย์ เปิดที่หน้า 2 ทำให้วงกลมเหมือนหน้าตัวเองมากขึ้น ในเวลา 30 วินาที
- วาดรูปหน้าให้เหมือนคน โดยเติมการใส่เสื้อผ้าลงไป
โจทย์ วาดภาพเร็วภายใน 15 วินาที
- วาดสิ่งที่เราชอบ
- สิ่งที่เราชอบอีกเรื่องหนึ่งคือ..
- ฉันชอบทำอะไร
หน้า 3 โจทย์ เพื่อนที่ทำโครงงานเดียวกันกับเรามีใครบ้าง ให้วาดรูปลงไปและเขียนชื่อเล่นไว้ด้วย
- โชว์งานให้เพื่อนดู
หน้า 4 วาดวงกลมวงใหญ่
- วาดชุมชนที่ฉันเห็นมีอะไรที่ไม่ชอบ มีอะไรที่อยากให้ดีขึ้น เติมเข้าไปในวงกลม
หน้า 5 วาดวงกลมวงใหญ่
- วาดชุมชนที่ฉันอยากให้เป็น
ตัวอย่าง
1.สิ่งที่เห็นขยะในชุมชน สิ่งที่อยากให้แก้ลดการดื่มสุราและเล่นกีฬา และแยกขยะในชุมชน ชุมชนที่ฉันอยากให้เป็น เป็นชุมชนเล่นกีฬา แยกขยะ สะอาด
2.ชุมชนที่เห็นเป็นชุมชนที่มีขยะเน่าตามท่อ ทำให้เกิดการเน่าเสีย ชุมชนที่ฉันอยากให้เป็นน้ำเน่าปล่อยลงห้วยอยากให้มีกังหันลมที่ห้วยเพื่อช่วยบำบัดน้ำเสีย
3.ในชุมชนที่ไม่ชอบมี เหล้า บุหรี่ และลูกคลื่นเยอะ อยากให้ทั้งหมดหายไปหมู่บ้านได้ดูดีขึ้น
4.ในชุมชนมีเด็กแว๊น อยากให้เด็กแว๊นหันมาขับจักรยานและมาช่วยพ่อแม่ทำงาน
5.ปัญหาที่พบในชุมชน เยาวชนติดบุหรี่ สุรา โทรศัพท์ ไม่ทำการงาน อยากเห็นในชุมชนให้เลิกติดบุหรี่ สุราและติดโทรศัพท์เกินไป
โจทย์ ให้แต่งเติมนอกและในวงกลมและวาดตัวเองลงไปตรงไหนก็ได้ให้มีความเกี่ยวข้องด้วย – แต่งเติมเพื่อให้มีความหมายมากขึ้น ตัวเราเองมีส่วนสำคัญที่จะทำให้วงกลมวงที่สองสำเร็จมากขึ้น
“ที่เราวาดไปสองวงดีแล้ว แต่ยังขาดสิ่งสำคัญคือไม่มีตัวเราเองอยู่เลยในสองวงนี้ ไว้ตรงไหนก็ได้ในสองหน้านี้ และแต่งรอบๆ วงกลมอยากให้มีอะไรเพิ่มเติม รอบๆ และในวงกลม”
- จับคู่ผลัดกันเล่าเรื่องวงกลมสองวง
หน้า 6
โจทย์
-ตอนทำโครงงานฉันทำอะไรบ้าง / เขียนชื่อโครงการ / บรรยายสั้นๆ ว่าเราทำอะไร (เติมความรู้สึกลงไปในภาพ โดยการใส่ emoticon ใส่หน้ายิ้ม ไม่ยิ้มเข้าไป / ใส่ลายเส้นลงไป เช่น สับสน หรือแต่งที่หน้าให้ชัดเจนมากขึ้นว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง)
ให้วาดตัวเองในช่วงที่ทำโครงงาน สองช่วงเวลาที่ไม่เหมือนกัน ฝั่งซ้ายและขวา
โจทย์ – จับคู่เดิม เล่าให้เพื่อนฟัง กติกา ผู้เล่าๆ ผู้ฟังๆ อย่างเดียวไม่ซัก ไม่ขัด
โดย ครูโอเล่ อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม
หน้า 7 : แบ่งครึ่งหน้าด้วยเส้นทะแยงมุมและวาดรูป
โจทย์ : ตอนฉันเจอปัญหา เมื่อทำโครงงาน ปัญหาในตัวเอง (อารมณ์ , ความรู้สึก) / ฝั่งขวาจากภายนอก
- ฝั่งซ้ายปัญหาในตัวเอง (อารมณ์ , ความรู้สึก) / ฝั่งขวาจากภายนอก และใส่ความรู้สึกลงไปให้ชัดเจน
สะท้อน
- ไบร์ท : ปัญหาท้อ ทะเลาะกับเพื่อน และภายนอก ไม่เชื่อถือว่าจะทำได้หรือไม่ และผู้ใหญ่ไม่มาร่วมในโครงการ
ดอม : ปัญหาจากตัวเอง ยังงงกับวิธีการทำงาน เหนื่อย ภายนอก สภาพอากาศฝนตกหนัก แดดแรง
รัก : เหนื่อย ท้อ หมั่นไส้เพื่อนทำงานนิดเดียวไปกินน้ำ
พี่เลี้ยง : เหนื่อย กลัวทำไม่สำเร็จ
หน้า 8 :
“ฉันแก้ปัญหาอย่างไร” ตัวเอง / ภายนอก อย่างไรบ้าง วาดรูปและให้เขียนบรรยายภาพอย่างน้อย 3 บรรทัด
- นำเสนอ
หน้า 9 :
- วาดพี่เลี้ยงในชุมชนหรืออบต.ที่ไปเยี่ยมและแนะนำระหว่างทำโครงการและเขียนชื่อ (วาดไม่เกิน 2 คน) / เขียนรายละเอียด ติ-ชมหรือให้ปรับปรุงเรื่องใด
- ให้วาดเป็นตัวยู โดยนึกถึงหน้าตาว่ามีใบหน้าแบบไหนและวาดรูปทรงเค้าโครงหน้าพี่เลี้ยงคนนั้นออกมาก่อน
หน้า 10 :
- นึกถึงตัวละครที่เราชอบมา 1 ตัว (จากการ์ตูน / ภาพยนตร์ / หนังสือ)
- วาดตัวละครตัวนั้น
- ออกมาทำท่าทางตัวละครตัวนั้นพร้อมบอกชื่อตัวละคร
หน้า 11 : จดหมายจาก...(ชื่อตัวละครที่เราชอบ)
- ให้เขียนจดหมายหรือบทกวี โดยให้คิดว่าเมื่อตัวละครที่เราชอบแล้วมาเจอเราจะชื่นชมการทำโครงงานของเราอย่างไรบ้าง / ให้เขียนไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกลัวผิดถูกอย่างน้อย 7 บรรทัด
- อยากเป็นอะไร อยากวาด / เขียน อะไรที่คิดว่าดีต่อใจตัวเอง (หัวข้ออิสระ เวลา 10 นาที)
- คุยกับต้นไม้ใหญ่ถึงเรื่องราวของตัวเองและบอกลา
รับประทานอาหารเย็น
(ต่อ)
โจทย์ : วาดเขียนในวันนี้เราได้อะไร (ให้ผลัดกันมาเขียนเป็นคำพูดหรือเป็นภาพก็ได้) สิ่งที่ได้
- ได้การวาดรูปในเวลาจำกัด
- ได้วาดภาพในที่เงียบ
- ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ
- ได้ความรู้สึกที่ดีมาก
การฝึกคิดเป็นภาพ
วงกลมมีเส้นลากสองเส้นและมีวงกลม เหมือนดอกไม้ อย่างน้อย 8 กลีบ
ตรงกลางให้เขียนคำว่า “ประโยชน์ของโครงงาน...” ต่อผู้อื่น เช่น พ่อแม่ คนในครอบครัว ชุมชน
- เติมเป็นภาพและคำ 8 อย่างไม่เหมือนกัน
นำเสนอกลุ่มใหญ่
กุ้ง : โครงการขยะ ประโยชน์ที่ได้คือชุมชนสะอาด น้ำไม่เน่าเสีย ทุกคนสุขภาพดี หมู่บ้านเจริญขึ้น
ประโยชน์ของโครงการต่อฉัน มี 3 ข้อ
1.ฉันได้ฝึกฝนอะไร
2.ฉันได้เรียนรู้อะไร
3.ฉันต้องแก้ไขอะไรให้ดีขึ้น
ให้ใช้ภาพและถ้อยคำ ไม่ใช่คำเรียงๆ มาดูแล้วน่าเบื่อให้เป็นแบบฉบับของตัวเอง
โจทย์ : เขียนจดหมายขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย ในการทำโครงงาน ให้แก่คนอื่น(กี่คนก็ได้) และตนเอง เขียนเป็นจดหมายยาวๆ กี่บรรทัดก็ได้
- ตั้งชื่อให้กับหนังสือเล่มนี้ในหน้า 1
- แก้ไขผลงานหน้าที่เราต้องการแก้ไข
- หน้าไหนที่เป็นส่วนตัวให้ขีดเส้นใต้ให้ทราบ
กระดาษยาวให้ทุกคนวาดมือตัวเองลงบนกระดาษยาวแผ่นเดียวกัน
โจทย์ :
1.ให้เขียนข้อดี จุดเด่น สิ่งที่น่าภูมิใจของฉัน เขียนไว้ที่มือที่วาดบนกระดาษยาวที่ทุกคนวาดมือไว้บนนี้ด้วยกัน
2.ให้นำข้อความจากดอกไม้ 8 กลีบมาใส่ไว้รอบๆ มือเรา และสามารถเติมรูปต่างๆ ได้
3.เขียน ขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย แก่ใคร รอบๆ มือ
นี่คือสิ่งดีๆ ที่เราสร้างสรรค์และทำด้วยกัน
โดย อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม (โอเล่) ผู้จัดการสถาบันธรรมวรรณศิลป์
“เราเรียนละครวันนี้ไม่ใช่ให้ไปเป็นดาราแต่เป็นการเรียนละครเพื่อให้เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น”
สันทนาการ
- จับมือกันเขย่าตัวและวิ่งไปทางขวา / ทางซ้าย / ส่งเสียงดังๆ / ส่งเสียงและ
- เดินทั่วห้อง / เจอเพื่อนให้ยิ้ม ทักทาย / เดินเร็วขึ้นๆๆ / วิ่ง / หยุดให้นิ่งที่สุดเท่าที่ทำได้ ไม่ให้มีเสียง
- ให้หาคนที่ใกล้เรา จำนวนสามคน ตกลงกันใครเป็น 1 , 2 /3 ใ
- ดาราเปลี่ยนช่อง
และแนวทางการพัฒนา
โจทย์ที่ 1 : กิจกรรมที่ให้เอยชื่อของเราเองแบบง่ายๆ
- หลับตาและอยู่กับตัวเองแบบนิ่งๆ หลังจากนี้เป็นกิจกรรมที่ให้เอยชื่อของเราเองแบบง่ายๆ โดยที่เราจะไม่มีอารมณ์ความรู้สึก แค่ประกาศชื่อของเราออกมา
- วิธีการ ใครพร้อมให้ออกมายืนที่เบาะด้านหน้าและมองเพื่อนทุกคนและขานชื่อออกมา
ถอดบทเรียน
โจทย์ ความรู้สึกเป็นอย่างไรบ้างในตอนที่ทำกิจกรรม
- อุปกรณ์ : กระดาษคนละ 1 แผ่น
กระบวนการ
ทำงานศิลปะหนึ่งชิ้นจากกระดาษ ใช้แค่กระดาษเท่านั้น เราคือใครในโลกใบนี้ผ่านกระดาษหนึ่งแผ่น สามารถสร้างสรรค์ในลักษณะ ฉีก ตัด แปะ ทับ ได้
- หลับตา ฉันคือใคร ใครอยู่แวดล้อมฉันบ้าง มีหน้าที่อะไรที่ต้องทำอยู่ ทบทวนตนเอง
- เดินดูงานเพื่อนว่าเหมือนหรือต่างจากเราอย่างไร และเขาพับแบบนี้เขามีตัวตนอย่างไร
- โจทย์ 4 : ให้นำเสนองานของเรากับเพื่อน ทำไมถึงทำงานเป็นแบบนี้ (เวลาคนละ 3 นาที)
- จับคู่ : นึกประโยคสั้นๆ ที่บอกความหมายของงานของเรา
- เชื่อมตัวเองเข้ากับงานชิ้นนั้นโดยการแสดงท่าทาง และให้เชื่อมโยงกับงานเพื่อนและร่วมกันทำท่าทางประกอบ
- แบ่งกลุ่มละ 8 คน ต่างพื้นที่
- ตั้งชื่อกลุ่ม 2 พยางค์เท่านั้น ชื่อสร้างสรรค์และครีเอท
- ขานชื่อกลุ่มและทำท่าทางประจำกลุ่ม / กระบวนกรชี้กลุ่มใดให้ลุกขึ้นมาขานชื่อและทำท่าประกอบ
- จำท่าเพื่อน
โจทย์ 6 : ประกอบร่างเป็น....
- พระอาทิตย์ / ดอกไม้ / กระบือ / ทรานฟอร์เมอร์ (หุ่นยนต์) แปลงร่างเป็นรถถัง /ห้องน้ำ /อนุสาวรีย์แห่งความรัก
กระบวนการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเอง:ค้นหาโจทย์ตนเองและแนวทางการพัฒนา
- ให้ใช้ผ้าปิดตาตัวเอง
- เดินและเต้นตามจังหวะเสียงเพลง
- จับกลุ่มให้ได้ 10 คน โดยไม่ใช้เสียงและยังปิดตาอยู่
กิจกรรม ให้มองนิ้วผู้นำและเดินตามที่ผู้นำพาเดิน
เปลี่ยนคนนำสองรอบ / และกำหนดทิศทางการเดินทางของกลุ่ม “จัดการอย่างไรให้คนสามารถไปพร้อมกันทั้งกลุ่มได้
โดย นายพายัพ แก้วเกร็ด จากกลุ่มคณะละครมะขามป้อม
สร้างละครจาก 3 ภาพ
ภาพที่ 1 จุดเริ่มต้น
ภาพที่ 2 จุดขัดแย้ง
ภาพที่ 3 จบ
โจทย์ : ทำงานร่วมกัน โดยกระบวนกรกระซิบให้ทีละกลุ่ม
ภาพนิ่ง 1 ภาพ ให้ทำภาพ 1 ภาพ บอกเรื่องราว อยู่ที่ไหน ใครทำอะไร อย่างไร
ภาพที่ 1 จุดเริ่มต้น
6 กลุ่ม ได้โจทย์ภาพดังนี้
1. งานบวช
2. พิธีแซนโฎนตา
3. ประเพณีสงกรานต์
4. ตลาดสด
5. อนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดี
6. แห่เทียนพรรษา
ถอดบทเรียน สิ่งที่ได้เรียนรู้ / ความรู้สึก / ประโยชน์ที่ได้รับจากการเล่นละคร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่
โดย นายพายัพ แก้วเกร็ด (พี่กบ) กระบวนกรอิสระด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้
ใช้หัวข้อจากการเรียนเมื่อวานมาเป็นหัวข้อในเรื่องเล่าเรื่องราวโดยร้อยเรียงให้เป็นเรื่อง
โดย อ้อย วราภรณ์ หลวงมณี ผู้อำนวยการสถาบันยุวโพธิชน
“เขียนคำง่ายๆ แต่สามารถบ่งบอกเรื่องราวได้ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องเป็นคำใหญ่”
วิธีการ เขียนเป็นย่อหน้าตามหัวข้อดังนี้
หน้าที่
1.แนะนำตัวเอง เติมเนื้อหาแนะนำให้รู้จักเราหลายแง่มุม
ตัวเราเป็นใคร เรามีจุดแข็ง จุดอ่อนที่มีผลกระทบต่อตัวเอง ชอบอะไร ให้เห็นเป็นสองด้าน
2.แนะนำเพื่อนร่วมงานมีใครบ้าง และมีส่วนต่องานและชีวิตเราอย่างไร ให้เห็นที่มาที่ไปของเพื่อนเหล่านี้
3.ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เกิดผลกระทบอะไรต่อตนเองและชุมชน
4.ชุมชนที่เราอยากให้เป็น เราอยากเห็นชุมชนของเราเป็นอย่างไร สามารถฝันได้เลยไม่มีข้อจำกัด เป็นสิ่งที่เราปรารถนาจริงๆ
5.โครงงานที่เราทำ ชื่อโครงงาน ขั้นตอนการทำงาน ทำอะไรไปบ้าง มีใครเข้ามามีส่วนในการทำโครงการ เป็นขั้นตอนโดยละเอียด
6.ปัญหาเมื่อเราทำโครงงาน ปัญหาแบ่งออกเป็น 2 เรื่อง ปัญหาเกิดจากตัวเรา เช่น ปัญหาเรื่องทักษะ
ปัญหาภายนอก (สิ่งแวดล้อม / บุคคล / เงื่อนไขชุมชน)
7.การแก้ไขปัญหาอย่างไร
แก้ปัญหาที่เกิดจากตัวเองอย่างไร
แก้ปัญหาที่เกิดจากภายนอกอย่างไร
8.พี่เลี้ยงโครงงานที่มีบทบาทต่อการทำโครงการของเรา มาทำอะไร พูดอย่างไร ปรากฏตัวแบบไหน ทำอะไรให้บ้าง ทั้งด้านใจ สนับสนุนทุกเรื่อง ตั้งแต่ต้นโครงการ ระหว่างทำโครงการ
9.เราเห็นคุณค่าและชื่นชมงานของเราอย่างไรบ้าง ให้เรารู้จักการชื่นชนและให้คุณค่ากับงานที่เราทำ
10.ประโยชน์ของโครงงานที่เกิดขึ้นต่อตนเอง / ชุมชน (เขียนแบบบรรยาย)
11.จดหมาย ขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย ใคร (ตนเอง /ผู้อื่น)