
โครงการจัดค่ายพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายเยาวชน
สร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่น 21 วัน
ระหว่างวันที่ 1-21 ตุลาคม 2562
ณ หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้าห้วยสามสบ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
เป้าหมาย
เยาวชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ในพื้นที่เป้าหมายดำเนินการวิจัย 5 อปท. และดำเนินการพัฒนาเยาวชนนอกระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในพื้นที่เป้าหมายขยายผล 25 อปท. เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เพิ่มพูนทักษะการชีวิตและทักษะการเรียนรู้ที่สาคัญในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการทางานเป็นทีม/ มีภาวะผู้นำ และมีทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและสามารถใช้เทคโนโลยีในการสร้างองค์ความรู้/ นวัตกรรมด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์ในการจัดค่าย
เพื่อให้เยาวชนแกนนำกล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าลงมือทำและกล้าเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่การเป็นคนดี คนเก่ง มีวิถีที่เป็นสุข มีทักษะการทำงาน ทักษะอาชีพและมีสัมมาชีพดำรงตน
เพื่อให้เยาวชนมองเห็นคุณค่า มีความมั่นใจ สามารถดึงศักยภาพแห่งตนมารับใช้ครอบครัว ชุมชนท้องถิ่น และพัฒนาตนเองเพื่อสร้างคุณลักษณะ/ นิสัยที่พร้อมต่อการเรียนรู้และดำเนินวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21
กลุ่มเป้าหมายสมัครใจเข้าร่วมโครงการดังนี้
- อบต.หนองสนิท อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
- ทต.จอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
- อบต.จอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
- อบต.เมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
- อบต.ลุ่มระวี อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
- อบต.เป็นสุข อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
- อบต.หนองอียอ อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
- อบต.สลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
- ทต.กันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
วิทยากรกระบวนการ
- วราภรณ์ หลวงมณี ผู้อำนวยการ สถาบันยุวโพธิชน และเป็นผู้ออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้
- ประชา หุตานุวัตร รองประธานกรรมการบริหาร สถาบันยุวโพธิชน
- พรพิมล สันทัดอนุวัตร กระบวนกร สถาบันยุวโพธิชน
- นฤมล ไพบูลย์สิทธิคุณ กระบวนกร อาศรมวงศ์สนิท
- พิมพ์พจี เย็นอุรา กระบวนกรอิสระ
- สุพัตรชัย อมชารัมย์ กระบวนกรอิสระ
- พายัพ แก้วเกร็ด กระบวนกรอิสระ
- วุฒิกาญจน์ ศรีรักษา กระบวนกรอิสระ
- แหม่ม กระบวนกรอิสระ
- ณอัญญา สาวิกาชยะกูร กระบวนกรอิสระ กระบวนการด้วยไพ่ทาโรต์ แนว ‘ธาโรต์พุทธวิธี’
- พิมพ์ขจี เย็นอุรา กระบวนกรผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สุพัตรชัย อมชารัมย์ กระบวนกรผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
- สุริยา ดวงศรี ยุวกระบวนกร
- สุรชัย แก้วโท ยุวกระบวนกร
- สุรชัย ฟองนันตา ยุวกระบวนกร
- ธนภัทร สงนวน ยุวกระบวนกร
- กรรณิการ์ กุตรัตน์ ยุวกระบวนกร
- จิราวัฒน์ การะเกต ยุวกระบวนกร
- ทีมเจ้าหน้าที่หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้าห้วยสามสบ
แนวคิดและวิธีการดำเนินงาน
เป็นลักษณะค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ 21 วันต่อเนื่อง โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับทีมงานวิทยากรกระบวนการจากสถาบันยุวโพธิชน เป็นผู้ออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงที่เข้มข้น เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและมีความหมายกับชีวิตอย่างแท้จริง เยาวชนแกนนำจะมองเห็นตัวเองในแง่มุมที่ไม่เคยรู้จัก เกิดความมั่นใจที่ลึกซึ้งในการดำรงชีวิตและการประกอบสัมมาชีพ ค้นพบศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ สามารถนำศักยภาพแห่งตนมารับใช้เพื่อนมนุษย์ได้ และเรียนรู้ที่จะไว้วางใจจักรวาลเป็นขั้นเป็นตอน ไว้วางใจตนเองและคนรอบ ๆ ตัวมากขึ้น สิ่งที่จะเรียนรู้จะไม่ใช่เพียงวิธีการเท่านั้น แต่จะเป็นต้นธารแห่งแรงบันดาลใจและหลักการที่มั่นคงในการตั้งต้นชีวิตของเยาวชน พร้อมกับสร้างคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ในศตวรรษที่ 21
ดำเนินการโดย
โครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในการดำเนินโครงการวิจัย 5 อปท และร่วมมือกับสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สมัชชาการศึกษาจังหวัดสุรินทร์ คณะกรรมการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ 25 อปท.จังหวัดสุรินทร์ นายอำเภอจอมพระและนายอำเภอสนม
คุยสรุปกันในกลุ่มย่อย
ถอดบทเรียน กิจกรรมแม่น้ำพิษ
• มีข้อสังเกตุในการทำงานร่วมกันในการทำงานในกิจกรรมแม่น้ำพิษอย่างไรบ้าง
• ข้อสังเกตุเกี่ยวกับตนเองเมื่อเจอสภาวะงานที่ยาก เหนื่อย ร้อน ที่ไม่เป็นดั่งใจ เราจัดการตนเองด้านอารมณ์ ความรู้สึกอย่างไรบ้าง
• หลักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ คืออะไร
• เราจะประยุกต์การทำงานกิจกรรมแม่น้ำพิษมาสู่การอยู่ร่วมกันในตลอด 21 วันได้อย่างไร (อะไรที่สามารถนำมาใช้ได้)
นำเสนอ
- ชื่นชมตนเองที่นำตัวเองกลับเข้าสู่ห้องเรียนได้ตามเวลา
- ย้อนความรู้สึกกับกิจกรรมเดินข้ามเส้น ในการตัดสินใจเดินหรือไม่เดินของตนเอง มีอารมณ์อะไรที่อยู่ ณ เวลานั้น
- เมื่อกิจกรรมสิ้นสุดลง เราได้เรียนรู้อะไรกับสิ่งที่เราเดินหรือหยุดและเรียนรู้กับสิ่งที่เพื่อนตัดสินใจ
โจทย์บอกเล่า
ความรู้สึก , สิ่งสำคัญที่ได้เรียนรู้
แบ่งกลุ่มตามอายุ เรื่องที่อ่านให้เหมาะสมแต่ละอายุ
1.ให้ทุกคนอ่านเรื่องที่ได้รับมา
2.ให้สรุปส่งตัวแทนเล่าให้เพื่อนฟังในกลุ่มใหญ่
3.บทเรียนสำคัญ
4.ให้ตั้งชื่อเรื่อง
เป็นกระบวนการฝึกจับประเด็น ฝึกคิด
โดย อาจารย์ประชา หุตานุวัตรประชา หุตานุวัตร รองประธานกรรมการบริหาร สถาบันยุวโพธิชน
กติกา
1.ให้ทุกคนเลือกผู้นำมา 5 คู่
2.ผู้นำคู่ที่หนึ่ง คนที่หนึ่งเลือกเปิดตา คนที่สองเลือกปิดตา คนเปิดตาเป็นผู้นำกลุ่ม
3.ผู้นำที่เป็นคนเปิดตามองเห็นแต่ไม่สามารถพูดได้ แต่สามารถใช้สัญลักษณ์ ให้ผู้ถูกปิดตาเข้าใจได้ เช่น ปรบมือ ผิวปาก ตบตัก เป็นต้น เพื่อบอกทางให้เพื่อนไปสู่เส้นชัยได้ ผู้นำที่ถูกปิดตาสามารถส่งเสียงบอกเพื่อนๆ ได้ว่าเดินไปทางไหนและเพื่อนๆ สามารถส่งเสียงบอกเพื่อนๆ ต่อๆ กันได้
1. 4.ให้คู่ที่ 1 นำทีมก่อนไป ให้ผู้ถูกปิดตาทั้งหมดเดินแถวเรียงหนึ่ง ให้จับบ่าหรือเอวคนข้างหน้าไว้ พี่เลี้ยงจะชี้จุดให้ผู้นำพาเดิน ผู้นำพาเพื่อนเดินไปจนถึงเส้นชัยจนครบทุกคน เมื่อถึงเส้นชัยของคู่ที่หนึ่งพี่เลี้ยงให้เปลี่ยนผู้นำกลุ่มจากคู่ที่ 2 ถึง คู่ที่ 5 เป็นอันเสร็จสิ้นกิจกรรม
สลับกันพาเดิน คนเดินปิดตา คนพาเดินเปิดตา ให้เลือกจะใช้เสียง หรือใช้สัมผัสในการบอก
เดินเตะชามเริ่มต้นใหม่
กิจกรรมเดินเท้าชิด เดินรายพื้นที่
ให้เท้าของแต่ละคนอยู่บนหลังเท้าของเพื่อน ระหว่างเดินห้ามหลุดออกจากกัน ไม่ต้องปิดตา สามารถสื่อสารกันได้ แต่ต้องพากันถึงเส้นชัยครบทุกคนโดยเท้าไม่หลุดออกจากกัน