โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 3 : ขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยหลักการจัดการความรู้และกระบวนการวิจัย
โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 3 : ขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยหลักการจัดการความรู้และกระบวนการวิจัย
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ค่ายพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองรุ่นใหม่ ที่สามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมารับใช้ชุมชนสังคมอย่างสร้างสรรค์ ครั้งที่ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ค่ายพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองรุ่นใหม่

ที่สามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมารับใช้ชุมชนสังคมอย่างสร้างสรรค์ 

ครั้งที่ 2 วันที่ 30 เมษายน-11 พฤษภาคม 2561

ณ ศูนย์ปราชญ์พ่อคำเดื่อง ภาษี บ้านโนนเขา หมู่ 8

ตำบลหัวฝาย อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์

........................................................

­

ผู้ใหญ่ในสังคมปัจจุบันต่างตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของท้องถิ่น และสังคมโลก ในขณะเดียวกันสังคมโลกภายใต้ยุคเทคโนโลยีการสื่อสารที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมมนุษย์อย่างรวดเร็ว วิธีการเรียนรู้แบบเดิมๆ คือการเรียนแบบท่องจำที่เคยใช้ได้ผลในยุคสมัยที่ผ่านมา ที่ต้องใช้ความจำ ความแม่นยำไม่อาจใช้ได้กับการทำงานในยุคนี้ เพราะหุ่นยนต์ประดิษฐ์ สามารถทำงานเหล่านี้ได้ดีกว่ามนุษย์ หลายองค์กรจึงได้ปรับลดปริมาณคนทำงานลงเป็นอย่างมาก และหันมาใช้หุ่นยนต์    ประดิษฐ์แทน

การงานของมนุษย์ในอนาคตจะต้องใช้คุณสมบัติที่แตกต่างออกไปจากหุ่นยนต์ประดิษฐ์ อันได้แก่ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ให้เกิดความงามในแง่มุมต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติภายในของบุคคลอย่างยิ่ง เช่น ความมีน้ำใจ ความใส่ใจต่อสิ่งต่างๆ การสร้างความไว้วางใจ การทำงานเป็นทีม การตระหนักรู้ในตนเอง การเห็นคุณค่าของตนเอง การเห็นคุณค่าของผู้อื่น และที่สำคัญการรักในการเรียนรู้ พร้อมกับการมีเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์

การจัดการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนในยุคนี้จึงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก บนพื้นฐานของการสร้างโลกภายในจิตใจให้เป็นฐานรองรับที่มั่นคง มีสติและจิตใจที่ตั้งมั่นรู้เท่าทันปัจจุบัน

จากกระบวนการทำงานด้านการจัดการเรียนรู้ของสถาบันยุวโพธิชน สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ค้นพบว่า กระบวนการเรียนรู้คือ กระบวนการบ่มเพาะให้เกิดคุณสมบัติภายในผ่านการลงมือปฏิบัติและใคร่ครวญ ภายใต้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน หมายถึง การมีพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กเยาวชนได้เรียนรู้ที่จะคิด ลงมือทำ และสัมผัสสิ่งเหล่านี้ด้วยหัวใจ บนฐานของการไม่ตัดสินด้วยมาตรฐานใดๆ พวกเขาก็จะสามารถดึงพลังด้านบวกที่มีอยู่ในตัวตนออกมาสร้างสรรค์สิ่งเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน

ค่ายพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองรุ่นใหม่ที่สามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมารับใช้ชุมชนสังคมอย่างสร้างสรรค์ จึงใช้ระยะเวลา 10 วัน ในการบ่มเพราะทั้งได้จิตใจ ความรู้ และทักษะสำหรับแกนนำเยาวชนทั้ง 11 ตำบลให้สามารถดึงพลังสร้างสรรค์ของตนเองออกมารับใช้สังคมได้ หลังจากค่ายนี้ยังมีกระบวนการพัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่องได้แก่ การมีพื้นที่ได้ทดลองทำโครงงานหรือกิจกรรมที่ตนเองคิด การได้นำเสนอ และการถอดบทเรียนอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนในพื้นที่เครือข่ายนักถักทอชุมชน 11 อปท. ให้เป็นพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุรินทร์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

2.เพื่อเสริมศักยภาพแกนนำเด็กเยาวชนให้เกิดภาวะผู้นำ มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นบนความแตกต่างหลากหลาย และนำเสนอความคิดของตนเองได้อย่างชัดเจน

3.แกนนำเด็กเยาวชนสามารถสร้างการมีส่วนร่วมทั้งเด็กเยาวชน และผู้ใหญ่ในชุมชนในการทำ “โครงงานคนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชน” เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความรักและภาคภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง

4.เพื่อให้เกิดกลไกในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับตำบลและชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

รุ่นที่ 2 ประกอบด้วย อบต.หนองอียอ, ทต.เมืองแก, ทต.กันตวจระมวล

วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.ประชุมสร้างเป้าหมาย และวิธีการดำเนินงานร่วมกัน ทั้ง 11 อปท. สถาบันยุวโพธิชน สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561

2.แต่ละ อปท. จัดกระบวนการค้นหาและคัดสรรแกนนำเยาวชนที่จะเข้าค่าย 10 วัน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2561

3.เวทีเตรียมผู้เข้าร่วมค่าย 10 วัน วันที่ 9 เมษายน 2561

4.พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนสู่การเป็นคนรุ่นใหม่ที่สามารถดึงศักยภาพ ของตนเองออกมารับใช้ชุมชนสังคมอย่างสร้างสรรค์ โดยเยาวชนจะมีโครงงานกลับไปทำต่อเนื่องในชุมชน เงื่อนไขโครงงานฯได้แก่

(1) องค์ประกอบของผู้รับผิดชอบโครงการ ได้แก่แกนนำเยาวชน อย่างน้อย 5 คน พี่เลี้ยง/นักถักทอโครงการละอย่างน้อย 2 คน

(2) เป็นโครงการที่สร้างการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชนและคนในชุมชน

(3) เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน

(4) ใช้ทุนทางสังคม

(5) งบประมาณสนับสนุนจาก สรส./มูลนิธิสยามกัมมาจล 

(6) ระยะเวลาภายในเวลา 1 เดือน

5.เวทีนำเสนอ “โครงงานคนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชนต่อผู้นำชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง”

ผลลัพธ์ ผู้นำชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมเรียนรู้ รวมทั้งการตระหนักรู้ถึงศักยภาพเด็กมีแนวนโยบายสนับสนุนงานต่อเนื่อง และแกนนำเด็กเยาวชนได้ฝึกการนำเสนอ

ระยะเวลา หลัง 15 พฤษภาคม 61

1.แกนนำเยาวชนขับเคลื่อนโครงงานให้สำเร็จใน 1 เดือน

ผลลัพธ์แกนนำเยาวชนได้เรียนรู้และฝึกฝนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ให้ประสบผลสำเร็จ เด็กเยาวชนและคนในชุมชนเกิดความรักและภาคภูมิใจ ในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง

ระยะเวลา1-30 มิถุนายน 61

2.เวทีสรุปบทเรียนในระดับตำบล

ผลลัพธ์เด็กเยาวชนเกิดการเรียนรู้หลังการลงมือทำโครงงาน และสามารถคิดพัฒนาต่อยอดโครงงานได้ รวมถึงเรียนรู้การถอดบทเรียนหลังการลงมือทำ

ระยะเวลา ต้นกรกฎาคม 61

3.เวทีสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 11 อปท.

ผลลัพธ์ เกิดการเรียนรู้จากกันและกัน กระตุ้นการลงมือทำและพัฒนาต่อยอด เรียนรู้การนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนเองทำและโจทย์สำหรับดำเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นต่อไป

ระยะเวลา ปลายกรกฎาคม 61

4.เวทีพูนพลังเยาวชน พลัง อปท. จังหวัดสุรินทร์

ผลลัพธ์การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการงานวิจัย และกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อพัฒนาและขยายความร่วมมือในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับชุมชน ตำบล อำเภอ และจังหวัด

ระยะเวลา ตุลาคม 61

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วม

1.อายุ 14 ปีขึ้นไป

2.มีความต้องการในการพัฒนาตนเอง

3.มีศักยภาพในการเป็นผู้นำ

4.มีแนวโน้มในการรักการทำงานเพื่อผู้อื่น

สนับสนุนโดย

  1. มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  2. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
  3. สถาบันยุวโพธิชน สถาบันยุวโพธิชน มูลนิธิสัมมาชีพ 
  4. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น 
  5. สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)
  6. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) 
  7.  มูลนิธิสยามกัมมาจล

 ติดตามชมกิจกรรมค่ายครั้งที่ 1 (วันที่ 19 - 30 เม.ย.) ได้ที่นี่

นิทรรศการออนไลน์
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ