ชุมชนบ้านดู่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญคือ "นิทานท้องถิ่น" โดยเนื้อเรื่องจะแตกต่างจากนิทานที่หลายๆคนเคยได้ยิน เพราะมีความเป็นชนบทและผสมผสานวิถีชีวิตของชาวนา ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่(ปราชญ์)ก็มักจะเล่านิทานโดยใช้ภาษาท้องถิ่นของชุมชน (ภาษาลาว) ให้ลูกหลานๆของตัวเองฟังแต่ทุกวันนี้ "นิทานท้องถิ่น" กำลังจะหายไปจากชุมชน เพราะเป็นนิทานที่ผู้เฒ่าผู้แก่จะเล่าต่อๆกันจากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่มีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเด็กสมัยใหม่ทุกวันนี้ มักจะดูถูกภูมิปัญญาที่เรามีว่าเชยและโบราณ ...
ผู้เข้าร่วม ซัน แซน ดา นัท นิว ครีม ปาล์ม ปุก จ่อย กิ๊ฟ พี่เลี้ยง กลุ่มเป้าหมาย
ปราชญ์ชาวบ้าน คุณยายพลอย
นิทานเรื่อง นางสิบสองและพระสุทน มโนาราห์
วัตถุประสงค์
-เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (นิทานพื้นบ้าน) ให้คงอยู่สืบไป
-แกนนำและกลุ่มเป้าหมายได้ซึมซับถึงคุณค่าของภูมิปัญญา
-ฝึกทักษะการฟังและสรุปจับใจความ
สิ่งที่ทำได้ดี
-กลุ่มเป้าหมายได้ฟังนิทานที่แปลกใหม่และมีเอกลักษณ์
-กลุ่มเป้าหมายสามารถตอบคำถามหลังจากฟังนิทาได้ดี
สิ่งที่ทำได้ไม่ดี
-แกนนำขาดการวางแผนการทำงานและการแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน
ผลต่อตนเอง
-เข้าถึงชุมชนและกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
ผลต่อชุมชน
-ได้เผยแพร่ภูมิปัญญาให้ลูกหลาน
-คนในชุมชนเริ่มมีบทบาทและส่วนร่วมกับโครงการ