
กลุ่มของข้าพเจ้าได้ลงไปทำโครงการ Fix it center ร่วมกับวิทยาลัยฯ จึงได้พบสถานการณ์ คือ ในตำบลหนองหญ้ามีเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ประมาณ ๓๐ ราย รายละ ๓๐ แม่ แต่เกษตรกรกำลังประสบปัญหาแพะตาย เนื่องจากปัญหา ๒ เรื่อง
๑. การได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงแพะแบบปล่อยไล่ทุ่ง ขาดความรู้เกี่ยวกับการนำพืชในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ จึงทำให้ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารทำให้แพะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
๒. เกษตรกรสร้างโรงเรือนโดยไว้บนพื้นดิน และการที่เกษตรกรสร้างโรงเรือนไว้บนพื้นดิน ทำให้อากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวก ไม่ถูกวิธี และทำให้แพะต้องนอนอยู่กับสิ่งปฏิกูลจึงทำให้แพะเป็นโรคพยาธิและทางเดินหายใจ
จากสถานการณ์ที่กล่าวมาทั้งหมด พวกเราจึงได้รวมกลุ่ม จัดทำโครงการ พัฒนาคุณภาพอาหารและโรงเรือนโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะใน ตำบลหนองหญ้า เพื่อลดจำนวนการตายของแพะ และทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะมีอาหารและโรงเรือน ที่ได้คุณภาพเหมาะสมสำหรับแพะในท้องถิ่น เป็นการเพิ่มความมั่นคง ในการประกอบอาชีพเลี้ยงแพะให้แก่เกษตรกร
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะใน ตำบล หนองหญ้า
๒. เพื่อพัฒนาคุณภาพอาหารที่เหมาะสมสำหรับแพะ โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ
๓. เพื่อปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงแพะ ให้มีคุณภาพร่วมกับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ
สรุปกิจกรรม
ประโยชน์ที่ตัวเราได้รับ
1.ได้เรียนรู้เรื่องอาหารที่ชาวบ้านให้แพะกิน
2.ได้รู้การสร้างโรงเรือน
3.ได้รู้ช่วงเวลาและวิธีการเลี้ยงแพะของชาวบ้าน
4.ได้รู้เกี่ยวกับโรคต่างๆที่ทำให้แพะตาย
5.ได้รู้จากพันธ์แพะมากขึ้น
ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ
1.ได้รู้ปัญหาและอุปสรรค์ที่ชุมชนพบในการเลี้ยงแพะ
2.ได้รู้วิธีป้องกันโรคที่เกิดกับแพะ
3.ได้รู้อาหารที่เหมาะสมกับแพะ
4.ได้รู้รูปแบบการสร้างโรงเรือนที่ได้ตามมาตรฐาน
5.ได้รู้อาหารที่สามารถนำมาเลี้ยงแพะได้ในแต่ฤดูกาล