
โครงการคืนคลองสำโรงสู่ชุมชน
โจทย์ปัญหา
คลองสำโรงเป็นสายน้ำสำคัญของชุมชนเก้าเส้ง ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาน้ำเน่าเสีย สาเหตุมาจากชาวบ้านปล่อยน้ำเสีย สิ่งปฏิกูลรวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยของเสียออกจากโรงงานลงสู่แม่น้ำ ส่งผลให้ในชุมชนเกิดมลพิษทางน้ำ มลพาทางอากาศ ระบบนิเวศในน้ำไม่สมดุล ดังนั้นทางกลุ่ม Environmental จึงคิดจัดทำโครงการ คืนคลองสำโรงสู่ชุมชน โดยมีแนวคิดที่จัดกิจกรรมปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของคลองสำโรง และวิธีการจัดการกับน้ำเน่าเสียในคลอง หากโครงการดำเนินแล้วเสร็จทางกลุ่มคาดหวังว่าสิ่งปฏิกูลในคลองจะลดลงคุณภาพน้ำจะดีขึ้น และคนในชุมชนจะมีจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์คลองสำโรงต่อไป
เป้าหมาย :
อยากให้ชุมชนเห็นถึงความสำคัญของ คลองสำโรงและมีจิตสำนึกที่จะดูและรักษาสายน้ำหลักของคนในชุมชน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในชุมชน ในฐานะแกนนำของโครงการ ได้ศึกษาทางด้านนี้โดยตรง ก็อยากจะนำความรู้ที่ศึกษามาใช้ประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้จริง เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทั้งด้านจิตสำนึกและคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น
โครงการคืนคลองสำโรงสู่ชุมชน
แกนนำเยาวชนกลุ่ม Environmental สมาชิกมี 5 คน เป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎ ดังนี้
- นางสาวกรกนก เพ็งเพชร (เมย์)
กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา - นางสาว ปาริฉัตร ชูพลู (หวาน)
กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎ สงขลา - นางสาว อัญชลี แซ่โง้ว (แอน)
กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา - นางสาวอาสะหน๊ะ เอียดอัด (น๊ะ)
กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎ สงขลา - นางสาวทิพวรรณ สุขแก้ว (น้อย)
กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
ที่ปรึกษาโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขวัญกมล ขุนพิทักษ์
พี่เลี้ยงกลุ่ม นางสาวนงนุช ปานบัว
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่ม ฝ่ายบริหารงานทั่วไปและวิทยากรกลุ่มย่อย
โจทย์ปัญหา
คลองสำโรงเป็นสายน้ำสำคัญของชุมชนเก้าเส้ง ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาน้ำเน่าเสีย สาเหตุมาจากชาวบ้านปล่อยน้ำเสีย สิ่งปฏิกูลรวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยของเสียออกจากโรงงานลงสู่แม่น้ำ ส่งผลให้ในชุมชนเกิดมลพิษทางน้ำ มลพาทางอากาศ ระบบนิเวศในน้ำไม่สมดุล ดังนั้นทางกลุ่ม Environmental จึงคิดจัดทำโครงการ คืนคลองสำโรงสู่ชุมชน โดยมีแนวคิดที่จัดกิจกรรมปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของคลองสำโรง และวิธีการจัดการกับน้ำเน่าเสียในคลอง หากโครงการดำเนินแล้วเสร็จทางกลุ่มคาดหวังว่าสิ่งปฏิกูลในคลองจะลดลงคุณภาพน้ำจะดีขึ้น และคนในชุมชนจะมีจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์คลองสำโรงต่อไป
เป้าหมาย :
อยากให้ชุมชนเห็นถึงความสำคัญของ คลองสำโรงและมีจิตสำนึกที่จะดูและรักษาสายน้ำหลักของคนในชุมชน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในชุมชน ในฐานะแกนนำของโครงการ ได้ศึกษาทางด้านนี้โดยตรง ก็อยากจะนำความรู้ที่ศึกษามาใช้ประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้จริง เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทั้งด้านจิตสำนึกและคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น
กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน
กิจกรรม 1 ประสานงานลงพื้นที่ในชุมชนเก้าเส้ง (ผู้นำชุมชน)
1.1 ลงพื้นที่พบผู้นำชุมชน ชี้แจงการทำโครงการ
1.2 สอบถามความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดกับผู้นำชุมชน
กิจกรรม 2 ศึกษาประวัติความสำคัญของคลองสำโรง
2.1 ศึกษาประวัติความเป็นมาของคลองสำโรง
- ประวัติศาสตร์คลองสำโรง
- ที่มาของน้ำเน่าเสีย (ปัจจัย) ฯลฯ
2.2 สำรวจเส้นทางของคลองสำโรง เช่น การไหลของน้ำ/ต้นน้ำ
2.3 สรุป วิเคราะห์ วางแผนปฏิบัติการฟื้นฟูคลองสำโรง (พื้นที่ทดลองปฏิบัติการ)
กิจกรรม 3 ลงมือปฏิบัติการฟื้นฟูคลองสำโรง
3.1 เริ่มต้นจากแกนนำและผู้ที่ร่วมสนใจลงพื้นที่ปฏิบัติการ เช่น จัดเวทีเพื่อพุดคุยสร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน การทำEM ball เก็บขยะและสิ่งปฏิกูล (เน้นธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ) เช่นการปลูกหญ้าแฝก พืชน้ำ
กิจกรรม 4 ติดตาม/ประเมินผลการปฏิบัติการ
4.1 กำหนดระยะเวลาทำหลังจากการทำการทดลอง
- ดูความเปลี่ยนแปลงของน้ำ
- ดูความสะอาดของน้ำ
- ออกซิเจนในน้ำ
4.2 นำข้อมูลที่ได้จากการฟื้นฟูมาพัฒนา ปรับปรุง ทัศนียภาพให้ดีขึ้น
กิจกรรม 5 สรุปผลการดำเนินงานทั้งหมดตลอดทำกิจกรรม
กระบวนการทำงานของกลุ่ม
จุดเริ่มต้นของแกนนำหญิง หัวใจแกร่ง ที่มองเห็นสภาพปัญหาน้ำเสียของคลองสำโรง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของคนสงขลาในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันน้ำเสียอย่างนักและส่งกลิ่นเหม็น เกิดจากชาวบ้านปล่อยน้ำเสีย สิ่งปฏิกูลลงในลำคลอง แกนนำได้สังเกตจากการสัญจรไปมาระหว่างหอพักกับมหาวิทยาลัย จึงเกิดการรวมตัวของแกนนำ 5 คน ที่ปรึกษา 1 ท่าน สร้างสรรค์โครงการคืนคลองสำโรงสู่ชุมชน กลุ่ม Environmental ร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผ่านกิจกรรมปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของคลองสำโรง และวิธีการจัดการกับน้ำเน่าเสียในคลองสำโรง ให้มีคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินโครงการดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มลงพื้นที่ศึกษาชุมชนเก้าเส้ง สำรวจคลองสำโรง แกนนำลงพื้นศึกษาชุมชนเก้าเส้ง พบปะกับผู้นำชุมชน เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ปรากฏว่าผลที่ได้รับคือ ผู้นำปฏิเสธการทำโครงการ ไม่ให้ความร่วม คนในชุมชนเกิดการต่อต้าน ทำให้แกนนำไม่สามารถเข้าถึงคนในชุมชน จากการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากผู้นำชุมชนทำให้ทราบว่า พื้นที่คลองสำโรงมีนักวิจัย ผู้ที่มีความรู้มาฟื้นฟูและสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่เกิดผลอะไรทำให้ผู้นำและคนในชุมชนเกิดการต่อต้าน แกนนำได้ลงพื้นที่หลายครั้ง ผลที่เกิดขึ้นก็ยังเป็นเช่นเดิม จากการที่แกนนำมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และอยากทำงานเพื่อส่วนรวม แกนนำไม่ยอมแพ้ ไม่ท้อถอย จึงนัดประชุมแกนนำ
ขั้นตอนที่ 2 แกนนำนัดประชุมพูดคุยถึงปัญหาที่เจอจากชุมชนเก้าเส้ง ทำให้ได้ข้อสรุปว่า เปลี่ยนพื้นทำโครงการโดยมองพื้นที่ที่อยู่ใกล้ตัว ซึ่งเป็นคูน้ำสายเดียวกันที่ไหลลงสู่คลองสำโรง มีสภาพปัญหาน้ำเน่าเสียจากการเทสารทดลองของนักศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ หลังทำการทดลองเสร็จ คือบริเวณคูน้ำหลังตึก 10 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อได้พื้นที่คูน้ำ บริเวณหลังตึก 10 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการดำเนินโครงการ แกนนำเริ่มลงพื้นที่สำรวจ ศึกษา คูน้ำที่เชื่อมต่อกันภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา แล้วทำการวาดเป็นแผนที่เส้นทางการไหลและการเชื่อมต่อของคูน้ำ เพื่อให้ทราบถึงบริเวณที่คูน้ำเชื่อมต่อและอัตราน้ำเน่าเสียในบริเวณต่างๆของคูน้ำในมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ทำการชักชวนนักศึกษารุ่นน้องๆเพื่อนๆเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ โดยการชักชวนปากต่อปาก เช่น เริ่มชวนเพื่อนที่สนิท แล้วขยายออกไปเรื่อย ปรากฏว่ามีผู้ที่สนใจสมัครจำนวน 30 คน เริ่มปฏิบัติการปรับภูมิทัศน์ ขุดลอกคูน้ำหลังตึก 10 โดยแกนนำและสมาชิกโครงการช่วยกันลอกเอาขยะและสิ่งปฏิกูลต่างๆออกจากคูน้ำ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสมาชิกร่วมโครงการเป็นอย่างดีใช่เวลา 1 วัน ทำให้ภูมิทัศน์ดีขึ้น และขยะหมดไปจากคูน้ำหลังตึก10 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ขั้นตอนที่ 4 หลังจากนั้นจัดกิจกรรมทดลองปลูกพืชบำบัดน้ำเสีย “ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ”บริเวณคูน้ำ หลังตึก10 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยแกนนำมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน คือ 1) นางสาวทิพวรรณ สุขแก้วและนางสาวปาริฉัตร ชูพูล ใช้ความรู้จากเรียนในห้องเรียน ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับพืชที่สามารถบำบัดน้ำเสียมารวบรวม เผยแพร่ความรู้ให้กับสมาชิกร่วมโครงการ เรื่องพืชน้ำที่สามารถบำบัดน้ำเสียได้และสามารถหาได้ทั่วไป 2) นางสาวกรกนก เพ็งเพชรและนางสาวนิรมล หมวกแก้ว ทำการจัดเตรียมพืชน้ำ เช่น ต้นธูปฤษี ผักตบชวา ที่สามารถหาได้บริเวณหลังหอประชุมเฉลิมประเกียติมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ช่วยลดต้นทุนในการซื้อพืชน้ำ แนะนำวิธีการปลูก วิธีการดูแลรักษาพืชน้ำที่ถูกต้อง ให้กับสมาชิกร่วมโครงการ 3) นางสาวกุสุมา ใบระหมาน ได้เก็บตัวอย่างน้ำก่อน-หลัง การทดลองปลูกพืชบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำไปตรวจวัดค่า PS ของน้ำ การเปลี่ยนแปลงของน้ำ แล้วนำมาเปรียบเทียบ ในขั้นนี้กำลังทำการศึกษาทดลอง
เมื่อแกนนำและสมาชิกมีความรู้ มีต้นธูปฤษี และผักตบชวา จึงเริ่มทำการปลูกในคูน้ำหลังตึก ๑๐ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากนั้นแกนนำมาสังเกตบันทึกการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง เพื่อดูผลสำเร็จต่อไป หลังจากดำเนินกิจกรรมแล้ว สามารถสร้างจิตสำนึกให้สมาชิกผ่านการลงมือปฏิบัติจริงได้ เช่น การสัมภาษณ์สมาชิกระหว่างทำกิจกรรมปลูกพืชน้ำ ได้สะท้อนว่า ถ้าไม่ได้มาลอกคูน้ำด้วยตนเองคงไม่รู้เลยว่าสารเคมีที่พวกเขาเทลงสู่คูน้ำทำให้น้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น ต่อจากนี้ไปจะไม่เทสารเคมี ลงในคูน้ำอีกต่อไป จะหาแนวทางกำจัดสารเคมีแบบอื่นที่ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
แกนนำเยาวชนกลุ่ม Environmental สะท้อนถึงผลการทำงานที่เกิดขึ้น จากการลงพื้นที่เจอกับปัญหาหลายอย่าง เช่น การต่อต้านจากคนในชุมชนเก้าเส้ง ทำให้เหนื่อย ท้อ แต่เนื่องจากแกนนำทุกคนคอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ที่สำคัญกำลังใจพี่เลี้ยงที่คอยติดตามเฝ้าดู เคียงข้าง ร่วมแก้ไขปัญหามาด้วยกัน ทำให้แกนนำมีแรงฮึดสู้ และมีเป้าหมาย มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม ทำให้รู้จักกับการทำงานเป็นทีม คือ ในแต่ละหน้าที่ที่มอบหมาย แกนนำสามารถมาช่วยได้ โดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ยึดหน้าที่เป็นหลัก แกนนำรู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะ ในการเปลี่ยนพื้นที่จัดทำโครงการ แกนนำสามารถนำความรู้ในห้องเรียนมาผนวกใช้กับการลงมือปฏิบัติจริง และการสร้างจิตสำนึกให้สมาชิกนักเรียนและบุคลากรลดการทิ้งสารเคมีลงในคูน้ำ ทำให้สมาชิกโครงการมีจิตสำนึกที่จะไม่ทิ้งสารเคมีที่ทดลองลงสู่แม่น้ำ สามารถลดการเกิดน้ำเน่าเสียได้
แกนนำมองเห็นคุณค่าต่อสวนรวม ที่สามารถสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษาหรือบุคลากรลดการทิ้งขยะหรือสารเคมีลงในคูน้ำจากการลงมือปฏิบัติจริง ในพื้นที่จริง สำหรับคุณค่าต่อตนเอง ได้เรียนรู้มากมายในการทำงาน เช่น รู้จักการแก้ปัญหาในการทำงาน มีการวางแผนพูดคุยกันในกลุ่มจากปัญหาที่พบเจอมาให้สามารถขับเคลื่อนงานไปได้และประสบความสำเร็จ
จากการทำโครงการแกนนำเยาวชนทั้ง 5 คน ได้สะท้อนพัฒนาการของแต่ละคนจากการทำงาน
- นางสาวทิพวรรณ สุขแก้ว (น้อย) สะท้อนให้เห็นว่าตนเองเป็นเด็กกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ทำกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัยก็มากพอสมควร แต่ไม่ได้มีความรู้เรื่องของกระบวนที่แน่นในกิจกรรม เช่น การวางแผนก่อนการทำงานที่ชัดเจน การแบ่งบทบาทที่ชัดเจน เป็นต้น จากการทำโครงการกับสงขลาฟอรั่มทำให้ตนเองเรียนรู้มากมาย แต่ที่สำคัญคือ สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ เพราะในช่วงลงพื้นที่เจอคนในชุมชนพูดจาดาทอแรงๆแต่ตนเองตั้งสติได้ไม่มีการตอบโต้ การวางแผนการทำงานที่รอบคอบ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการเปลี่ยนพื้นที่ ที่สำคัญการให้กำลังซึ่งกันและกัน การทำโครงการนี้ทำให้รู้จักคำว่าเพื่อนแท้ที่คอยเคียงข้าง ร่วมแก้ไขปัญหา ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ไม่ทิ้งกันในทุกยาม
- นางสาวกรกนก เพ็งเพชร (เมย์) สะท้อนให้เห็นว่าการทำงานโครงการจะต้องใช้ความอดทนสูง เจออุปสรรค์ก็ต้องสู้ เนื่องจากพื้นที่จัดกิจกรรมโครงการเป็นพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง ที่ค้อนข้างจะมีความคิดที่ปิดไม่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ไม่มีความไว้ใจจากบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นอุปสรรค์ที่ต้องเจอทำให้รู้จักแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้จากการพูดคุยระหว่างเพื่อนในกลุ่ม
- นางสาวนิรมล หมวกแก้ว (หวาน) สะท้อนให้เห็นว่าเป็นคนที่ไม่มีความกล้า ไม่กล้าแสดงออก บุคลิกส่วนตัวคือนิ่ง ฟัง แต่ไม่พูด เมื่อผ่านการทำโครงการมีความแสดงออกมากขึ้นเพราะต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่มแกนนำ ตนเองสามารถสื่อสารให้เพื่อนๆแกนนำเข้าใจ เช่น เมื่อเพื่อนพูดยืดเยื้อ สามารถจับประเด็นที่สำคัญได้ เป็นต้น เป็นคนเชื่อมให้เพื่อนๆสามัคคีกันเมื่อทะเลาะกันในกลุ่ม มีความมุ่งมั่น ไม่ท้อแท้ที่จะงานเพื่อส่วนรวม
- นางสาวปาริฉัตร ชูพูล (แอน) สะท้อนให้เห็นว่าตนเองเป็นเด็กเรียน กิจกรรมในมหาวิทยาลัยไม่เคยสนใจ เมื่อได้เข้ามาทำกิจกรรมโครงการสามารถรู้จักนำความรู้ในห้องเรียนมาผนวกใช้กับการทำงานจากเรื่องจริงพื้นที่จริงได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆได้
- นางสาวกุสุมา ใบระหมาน (น๊ะ) สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของคำว่าเพื่อนแท้ ในการทำงานครั้งนี้ทำให้ตนเองได้รู้ว่าการต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคตนเองไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพังยังมีเพื่อนแกนนำที่ค่อยเคียงข้าง ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ทำให้มีความมุ่งมั่น ไม่ท้อถอย และมีความรับผิดชอบร่วมกันในการทำงานกับเพื่อนๆอีกด้วย
สภาพปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการทำให้พวกเขาเติมโตมาท่ามกลางความแข็งแกร่ง มุ่งมั่น ต่อสู้กับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไม่เกรงกลัว สอนให้เขารู้จักการทำงานเพื่อส่วนรวมผ่านกิจกรรมที่ทำ ซึ่งพวกเขาตั้งมั่นไว้เสมอว่า ปริญญาทำให้คนมีงานทำกิจกรรมทำให้คนทำงานเป็นจึงทำให้พวกเขาเติมโตไปเป็นพลเมืองดีที่มีคุณภาพได้