เกี่ยวกับเรา
มูลนิธิสยามกัมมาจล

สร้าง

โอกาส

การเรียนรู้

สร้าง

เยาวชน

คุณภาพ

สร้าง

สังคม

คุณภาพ

สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ
สยามกัมมาจล
สืบสานปณิธานการดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม

นับจากสยามได้เปิดประเทศเพื่อค้าขายกับชาติตะวันตก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑) ส่งผลให้การค้าขายทั้งภายในและภายนอกประเทศขยายตัวมากขึ้น ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านระบบเศรษฐกิจไทยจากระบบเศรษฐกิจแบบ "เลี้ยงตัวเอง" มา เป็นเศรษฐกิจที่ "ผลิตเพื่อตลาด" ซึ่งต้องพึ่งพาเงินตรามากขึ้น จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้บริการทางการเงินทางการรับฝาก ให้กู้เงิน และรองรับการบริการทางการเงินในการค้าระ หว่างประเทศ ซึ่งในระยะแรก ชาติตะวันตกมีบทบาทในการตั้งธนาคารสาขาขึ้นในประเทศไทย

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่ง ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันการ เงินที่จะมีต่อระบบเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ จึงดำริที่จะตั้ง "ธนาคารกลาง"หรือ "แนช นัลแบงค์" (National Bank) และธนาคารพาณิชย์ ขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยมีสถาบันการเงิน และการ ธนาคารเป็นของตนเอง

โดยในระยะแรก ได้ทรงจัดตั้งกิจการธนาคารในชื่อว่า “บุคคลัภย์” (Book Club) เพื่อทดลองให้ บริการรับฝากและให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชนทั่วไป เมื่อพ่อค้า นักธุรกิจ และหน่วยงานราชการไทยให้ การยอมรับใช้บริการของบุคคลัภย์อย่างแพร่หลาย แล้วจึงเริ่มดำเนินการขยายธุรกิจไปด้านการแลก เปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจที่เคยผูกขาดโดย ธนาคารต่างประเทศ

ความสำเร็จของ “บุคคลัภย์” นำไปสู่การก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ของไทยแห่งแรกขึ้น กรมหมื่นมหิศร- ราชหฤทัย ได้ยื่นขอจดทะเบียน บริษัท แบงค์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด โดยต้องฝ่าฟันอุปสรรคการ ต่อต้านจากประเทศชาติตะวันตกที่เข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจในประเทศไทย จนต้องทรงตัดสิน พระทัยยื่นหนังสือกราบบังคมทูล ขอลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อ ให้การก่อตั้งธนาคารแห่งแรกของไทยจึงยังคงเดินหน้าต่อไปได้ จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระจุล จอม-เกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานอำนาจพิเศษให้จัดตั้ง “บริษัท แบงค์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด” ขึ้น ด้วยทุนจดทะเบียน ๓ ล้านบาท โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) ให้บริษัทแบงค์สยามกัมมาจลทุนจำกัด ประกอบธุรกิจธนาคาร พาณิชย์ได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งต่อมา บริษัทแบงค์สยามกัมมาจลทุนจำกัด ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด” ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๘๒ ตามการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย”

จึงเป็นอันว่าความพยายามที่จะให้ประเทศไทยเป็นอิสระทางการเงินตามพระราชดำริของกรมหมื่น มหิศรราชหฤทัย ก็ประสบผลสำเร็จ นับเป็นคุณประโยชน์ต่อประชาชน และแผ่นดินไทยในที่สุด

นับตั้งแต่ก่อตั้ง ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ดำเนินงานภายใต้ปณิธานอันแน่วแน่ คือ การดำเนินงานด้วย คุณภาพควบคู่คุณธรรม โดยถือว่าการดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมนั้นเป็นส่วนสำคัญ ส่วนหนึ่งของการดำเนินแนวนโยบายของธนาคาร และได้ก่อตั้ง มูลนิธิสยามกัมมาจล (Siam Com mercial Foundation) ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘ เพื่อให้เป็นหน่วยงาน ที่ดำเนินการในส่วน ของกิจกรรมเพื่อสังคม การนำคำว่า “สยามกัมมาจล” มาตั้งเป็นชื่อมูลนิธิ จึงถือเป็นการยืนยันถึง เจตนารมณ์ขององค์กร ที่คำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงอนาคต

ในระยะแรก มูลนิธิสยามกัมมาจล มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านการศึกษา ศิลป- วัฒนธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม จนกระทั่ง ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ธนาคาร จึงมอบหมายให้ มูลนิธิสยามกัมมาจล เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเยาวชน และชุมชน ทั้งนี้ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเยาวชน ผู้ซึ่งจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญใน การพัฒนาประเทศนั่นเอง

มูลนิธินี้ชื่อว่า "มูลนิธิสยามกัมมาจล" ย่อว่า ส.ก.จ.
เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า
THE SIAM COMMERCIAL FOUNDATION ย่อว่า SCFO
เลขไทยที่ ๑ หมายถึง ปฐมบท ก้าวแรกของการริเริ่ม
สีแดง หมายถึง พลังอำนาจ วรรณะกษัตริย์ เลือดในจิตวิญญาณของการรังสรรค์ 
เปลวสีทองกนกสามตัวที่ไหวพลิ้วรอบเปลวฉานแสดงถึงความรุ่งเรืองเถือกเถกิงไปสู่อนันต์บนพื้นสีม่วง 

วีดีทัศน์

แนะนำการทำงาน

ของมูลนิธิสยามกัมมาจล

หน้าที่หลักของเรา คือ ช่วยกันบ่มเพาะให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่เด็ก ที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ ไม่ได้หมายความแค่ฉลาดเรียนดี หรือเก่งแต่ในตำรา แต่ ต้องเป็นคนรู้จักคิดเป็น ทำเป็น ริเริ่มสร้างสรรค์กล้าตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม มี ความเป็นผู้นำ รับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่กับการเป็นคนจิตใจดี มีน้ำใจ และมี จิตอาสาพร้อมจะแบ่งปันศักยภาพของตนกับสังคม

วีดีโอ : แนะนำการทำงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล(บรรยายเสียงภาษาไทย)
วีดีโอ : แนะนำการทำงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล(บรรยายเสียงภาษาอังกฤษ)
วีดีโอ : หลักคิด และวิธีการทำงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล โดยคุณ ปิยภรณ์ มัณฑะจิต
สืบทอด สานต่อ

เพื่อยืนยัน

เจตนารมณ์

ของ แบงค์สยามกัมมาจล

คำนึงถึงผลประโยชน์

ของประชาชน

และประเทศชาติ

เพื่อสร้างเยาวชนคุณภาพ

Informed
Citizen

ตื่นรู้ รู้ทัน ตระหนักรู้

 + 

Active
Citizen

มีสำนึกความเป็นพลเมือง

เพียบพร้อมไปด้วยทักษะของศตวรรษที่ 21 และแบ่งปันศักยภาพของตนเพื่อประโยชน์ของสังคม

เป้าหมายของเรา

มูลนิธิสยามกัมมาจล

เด็กวันนี้ คือ ผู้ใหญ่วันหน้า

เด็กๆ คือ
ผู้กุมชะตาชีวิตของเรา

สิ่งที่เรามอบให้พวกเขาในวันนี้
คือชีวิตของเราในวันหน้า

สิ่งที่เราปลูกฝังเขาวันนี้
ส่งผลกับชีวิตเราวันหน้า

เด็กไทย

คืออนาคต

ของพวกเราทุกคน

มูลนิธิสยามกัมมาจล

จะสร้างสังคมคุณภาพ
ต้องสร้างเยาวชนคุณภาพ

เรามุ่งมั่นสร้างเด็กไทยคุณภาพ
โตคู่ไปกับ

มูลนิธิสยามกัมมาจล

หน้าที่หลักของเรา คือ
ช่วยกันบ่มเพาะให้เด็ก
พัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่

คุณธรรม คิดเป็น ทำเป็น เคารพกฎหมาย ทำงานเป็นทีม พอเพียง รู้จักแก้ปัญหา รับผิดชอบ สร้างสรรค์ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน กล้าตัดสินใจ คิดถึงส่วนรวม ใฝ่รู้ ไม่ขี้โกง สื่อสารเป็น
เด็กที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ
ไม่ได้หมายความแค่ฉลาด
เรียนดี หรือเก่งแต่ในตำรา
แต่ต้องเป็นคนรู้จักคิดเป็นทำเป็น
ริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม
มีความเป็นผู้นำ รับผิดชอบต่อสังคม
ควบคู่กับการเป็นคนจิตใจดี มีน้ำใจ และมีจิตอาสา
พร้อมจะแบ่งปันศักยภาพของตนกับสังคม

คนมีคุณภาพ

สังคมก็จะมีคุณภาพ

มูลนิธิสยามกัมมาจล

นี่คือความมุ่งมั่นของเรา

ช่วยกันสร้าง
เยาวชนคุณภาพ

ให้สังคมไทย

หลักการของเรา

ถ้าให้ปลาเขา
เขาจะมีกินแค่วันนี้
แต่ถ้าคุณสอนเขาจับปลา
เขาจะมีกินไปชั่วชีวิต

ความเชื่อของเรา

เราเชื่อว่า
การเรียนรู้ที่ดีที่สุด
เกิดจากการ

สิ่งที่ตำราสอนไม่ได้
สามารถเรียนรู้ได้
จากการลงมือทำ

เราจึงเปิดพื้นที่และโอกาส ให้เด็กได้เข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม

ได้คิด ได้ลงมือทำ
เรียนรู้แก้ปัญหา

หัวใจสำคัญไม่ได้อยู่ที่ผลลัพธ์ แต่อยู่ที่ประสบการณ์ระหว่างทาง เด็กๆ ไม่เพียงได้พัฒนาทักษะความสามารถ แต่จะเติบโตทางความคิด ภูมิใจ และเชื่อมั่นในตัวเอง รู้จักการทำงานเป็นทีมมีสำนึกของการแบ่งปัน และจิตอาสาจากการได้เรียนรู้ และเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง

กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมด คือการสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กรุ่นใหม่ เป็นคนคุณภาพอย่างแท้จริง

เราทำอะไร

เราเชื่อว่า
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเด็ก

ไม่ใช่ คำสั่งสอน

แต่คือโอกาส
และคำแนะนำ

เพื่อให้เด็กเรียนรู้
เติบโต และพัฒนา
ได้อย่างเต็มศักยภาพ

ผู้ใหญ่ต้องกล้า
เปิดโอกาส

มูลนิธิสยามกัมมาจล จับมือกับผู้ใหญ่ใกล้ตัวเด็ก ช่วยกันเปิดพื้นที่การเรียนรู้ ด้วยการทำโครงการชุมชน ให้คุณค่ากับการที่เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง มากกว่าแค่จากตำรา ให้เด็กได้ทดลอง สร้างสรรค์ ลงมือทำ ลองผิดลองถูก โดยผู้ใหญ่คอยสนับสนุนกล้าปล่อยให้เด็กล้มและลุกด้วยตัวเอง สอนโดยไม่สั่ง แนะโดยไม่นำ เปิดใจกว้างเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก เด็กจะพัฒนาศักยภาพ ได้เต็มที่ คู่ไปกับการปลูกฝังจิตอาสา พร้อมแบ่งปันความรู้ความสามารถ ของตัวเองให้สังคม

เด็กมีคุณภาพ
สังคมไทยก็จะมีคุณภาพ

เราทำงานกับใคร?

อยากจะเปลี่ยนแปลงเด็ก
ผู้ใหญ่ต้องมี 2 เปลี่ยน

เปลี่ยนวิธีคิด
เปลี่ยนวิธีทำงาน

เปลี่ยนวิธีคิด

เปลี่ยนวิธีทำงาน

“ความเชื่อมั่น”
คือหัวใจสำคัญ
ของความสำเร็จ


ในตัวเด็กให้ตื่น!

ด้วยการสร้างพลังบวก
สร้างความมั่นใจ


เราทำอย่างไร?
เราสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยการ
เสริมพลัง
เรา “เสริมพลัง” ผู้ใหญ่รอบๆ ตัวเด็ก ให้มีทักษะ พร้อมในการทำหน้าที่เป็น“ครูฝึก” (Coach) เพื่อ สนับสนุนให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือทำได้อย่าง เต็มศักยภาพ
มูลนิธิสยามกัมมาจล สนับสนุนให้ผู้ใหญ่ใกล้ตัวเด็ก ช่วยกันเปิดพื้นที่การเรียนรู้ ผ่านการทำโครงการชุมชน ให้คุณค่ากับการที่เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง มากกว่าจากตำรา ให้เด็กได้ทดลอง สร้างสรรค์ ลงมือทำลองผิดลองถูก โดยผู้ใหญ่ คอยสนับสนุน กล้าปล่อยให้เด็กล้มและลุกด้วยตัวเอง สอนโดยไม่สั่ง แนะโดยไม่นำ เปิดใจกว้าง เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็ก
คุณลักษณะการเป็น
“ครูฝึก”(Coach) ที่ดี
1
รู้จัก สังเกต และเข้าใจเยาวชน นำความชอบมาต่อยอดสร้างฝัน
ให้เป็นจริง รู้สถานการณ์ปัญหาที่กำลังเผชิญ และสามารถสนับสนุน
ได้ทันท่วงทีให้เยาวชนก้าวสู่อนาคตที่คาดหวังไว้อย่างราบรื่น
2
เปิดโอกาส ให้เยาวชนเรียนรู้โจทย์จากชีวิตจริง ประสบการณ์จริง
ในชุมชนเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงตัวเองกับพื้นที่ ได้มากกว่าความรู้
สำเร็จรูป
3
มีทักษะสร้างแรงบันดาลใจ เติมพลังใจ ให้สร้างความเปลี่ยนแปลง
กับสังคมด้วยพลังพลเมืองในตัวเยาวชน
4
มีทักษะการ “ตั้งคำถาม” กระตุ้นความคิด สร้างความท้าทาย เพื่อยก
ระดับความสามารถเยาวชน เปิดอิสรภาพทางความคิดโดยไม่ครอบงำ
แต่สร้างการเรียนรู้หรือกระตุ้นความคิดจากการตั้งคำถาม
5
ยอมรับความต่าง ให้คุณค่ากับความคิดที่หลากหลาย และคุณค่าของ
การสร้างสรรค์ไปด้วยกัน
Scope of Work
ขอบเขตการทำงานของเรา
1
เราค้นหา
โครงการที่มีแนวคิดในการพัฒนา
ศักยภาพในตัวเด็กผ่านการเรียนรู้
จากการลงมือทำ
2
เราพัฒนาต่อยอด
โครงการดำเนินได้ดีให้ขยายผล
และให้ทำงานอย่างยั่งยืน
3
เราสนับสนุน
ทุนทางความคิดและงบประมาณ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงการต่างๆ
4
เราเชื่อมโยง
การทำงานของโครงการในรปแบบ
เครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการทำงาน
พัฒนาเยาวชนร่วมกันให้ก้าวหน้า
ไปอย่างรวดเร็ว
5
เราถอดบทเรียน
ผลสำเร็จและองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาเยาวชน
ของภาคีและโครงการมาเป็นบทเรียน
เพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อยอด
ยกระดับการทำงาน
6
เราสื่อสาร
ให้สังคมรับรู้ถึงความสำคัญในพลัง
ของเยาวชนและองค์ความรู้ใหม่ผ่านสื่อต่างๆ
เพื่อสร้างการรับรู้-การเรียนรู้
ของสังคมในวงกว้าง
7
เราขยายผล
เชิงนโยบาย โดยนำความรู้ความสำเร็จ
ในระดับโครงการ สู่การขยายผลเชิงนโยบาย
ด้วยการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์
ความคาดหวังของเรา
เราหวังว่า หน่วยงาน องค์กรภาคี ที่ร่วมทำงานกับเรา ได้ร่วมเรียน รู้พัฒนาการทำงานขององค์กร ให้มีระบบการพัฒนาเยาวชนที่มี ประสิทธิภาพ มีระบบบริหารจัดการที่เข้มแข็ง สามารถดำเนินงาน ได้อย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทเป็น Change Agent การพัฒนา เยาวชนได้อย่างยั่งยืน
• มีบุคคลากรที่มีคุณภาพ และมีระบบการพัฒนา บุคคลากรที่ดี
• มีองค์ความรู้ และวิธีการในการพัฒนาเยาวชนที่สั่งสม และพัฒนาจากการดำเนินงาน
• มีระบบฐานข้อมูล มีวิธีการติดตามผลสำเร็จที่น่าเชื่อถือสามารถสอบทานได้
• มีการจัดเก็บความรู้ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการทำงานอย่างมีระบบ
• มีระบบบริหารจัดการด้านการเงินขององค์กรที่ดี โปร่งใส
• มีการทำงานกับภาคีเครือข่ายหลากหลายระดับ เพื่อหนุนเสริม และพัฒนายกระดับการทำงานร่วมกัน
โครงการของเรา
มูลนิธิสยามกัมมาจล
สนับสนุนการพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพและมีจิตอาสา
ผ่านการสนับสนุนโครงการขององค์กรภาคีในภาคส่วนต่างๆ ที่มีบทบาท
สำคัญในการพัฒนาเยาวชน ดังนี้
1.
สถาบันการศึกษา
2.
ชุมชนท้องถิ่น
(อปท.)
3.
หน่วยงานรัฐ/
องค์กรภาครัฐ
4.
องค์กรพัฒนา/
เอกชน (NGO)
5.
แกนนำเยาวชน
สถาบันการศึกษา
สนับสนุนสถาบันการศึกษาในการจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
จาก “โจทย์จริง” ของชุมชน สังคม เพื่อให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และ
มีสำนึกความเป็นพลเมือง
โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าหมาย : พัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขยายเครือข่ายโรงเรียน
เศรษฐกิจพอเพียงทั่วประเทศ
โครงการจัดตั้งศูนย์อาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป้าหมาย : สร้างกลไกพัฒนาพลเมืองอาสา (Active Citizen) ในระดับ
มหาวิทยาลัย
เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network for
Change : UNC) ภายใต้โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อ
เพื่อสังคมไทยน่าอยู่
โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการจัดตั้งศูนย์อาสาสมัคร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University
Networkfor Change : UNC) ภายใต้โครงการ
เสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยน่าอยู่
ชุมชนท้องถิ่น (อปท.)
สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น “เจ้าภาพ” ในการพัฒนา คุณภาพกำลังคนรุ่นใหม่ของท้องถิ่น
โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค :
ระยะที่ 1 : โรงเรียนครอบครัว
ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน
เป้าหมาย : สร้างกลไกพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ระดับตำบล
โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค:
ระยะที่ 1 : โรงเรียนครอบครัว
โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค:
ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน
หน่วยงาน /องค์กรภาครัฐ
สนับสนุนการ “ต่อยอด” งานพัฒนาเยาวชนของหน่วยงานภาครัฐให้เกิด
ผลสำเร็จ สามารถนำไป “ขยายผล” สู่การใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น
โครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่” โครงการต่อยอดการแข่งขันพัฒนา
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
เป้าหมาย : เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับ
เยาวชน สร้างฐานข้อมูลและเครือข่าย เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการ
พัฒนาศักยภาพของเยาวชน อย่างมั่นคงและยั่งยืน
โครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่” โครงการต่อยอด
การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)
สนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในพื้นที่ระดับจังหวัดและองค์กร ขับ
เคลื่อนงาน “เชิงประเด็น” ดำเนินการพัฒนาเยาวชนให้มีสำนึกความเป็น
พลเมือง (Active Citizen)
โครงการ “พลังพลเมืองเยาวชนสงขลา”
เป้าหมาย : สร้างกลไกพัฒนาเมืองอาสา(Active Citizen)ในระดับจังหวัด
โครงการ “เสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายเยาวชนจังหวัดน่าน”
เป้าหมาย : สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างศักยภาพของเครือข่ายเยาว
ชนในการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนสังคมท้องถิ่นจังหวัดน่านบนพื้นฐาน
วัฒนธรรมท้องถิ่น
โครงการ “จัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน”
เป้าหมาย: พัฒนาพลเมืองรุ่นใหม่ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม(Active Citizen)
ผ่านการทำโครงการในลักษณะ Community Project
โครงการ “พลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก”
เป้าหมาย : การเสริมสร้างพลังพลเมืองของเด็กและเยาวชนโดยการเรียนรู้
ท้องถิ่นและภูมิสังคมผ่านกลไกขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อยกระดับความรู้
ในการจัดการท้องถิ่น
โครงการ “ต้นกล้าในป่าใหญ่: การเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนเพื่อ
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน”
เป้าหมาย : สร้างและขยายเครือข่ายเยาวชน ซึ่งมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ถึงแนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
โครงการ “เสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัย
สึนามิ”
เป้าหมาย : สร้าง“กลุ่มคน”ที่ทำงานร่วมกัน ร่วมกันคิดร่วมกันทำ ร่วมกัน
รับผิดชอบ เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในชุมชน
โครงการ “พลเมืองเยาวชน (กลุ่มมหาวิทยาลัย)”
เป้าหมาย : พัฒนาเยาวชนในสถานศึกษาให้มี“จิตสำนึกความเป็นพลเมือง”
โดยใช้โครงการเป็นเครื่องมือ
โครงการ “พลังพลเมืองเยาวชนสงขลา”
โครงการ “เสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย
เยาวชนจังหวัดน่าน”
โครงการ “จัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อ
การพัฒนาเยาวชน”
โครงการ “พลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียน
รู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก”
โครงการ “พัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ”
โครงการ “ต้นกล้าในป่าใหญ่: การเสริมสร้างศักยภาพ
เยาวชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน”
โครงการ “เสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเอง
ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ”
แกนนำเยาวชน
สนับสนุนแกนนำเยาวชนสร้าง “เครือข่าย” เพื่อพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่
โครงการเครือข่ายเกษตรกรกล้าใหม่
โครงการอบรมสารคดีสั้น เล่าเรื่องเมืองเรา
โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายจิตอาสาในสถานศึกษา
ปี 2557 (ค่ายปลาดาว)
เป้าหมาย : การพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่ความเป็น “Elite” คือ ผู้นำทาง
สังคมรุ่นใหม่ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และ “A List” คือ ชน
ชั้นนำที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเป็นที่รู้จักของสังคมอีกด้วย
เพื่อก้าวสู่การเป็น Trend setter คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
และสามารถสร้าง Life setting คือกำหนดชีวิตตัวเองได้ ให้เป็นคนดีที่มี
คุณค่าต่อสังคม
โครงการ “พลังพลเมืองเยาวชนสงขลา”
โครงการ “เสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย
เยาวชนจังหวัดน่าน”
โครงการ “จัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อ
การพัฒนาเยาวชน”
โครงการ “พลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียน
รู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก”