วัตถุประสงค์
1.ร่วมกันมองคุณค่าของการทำงานในโครงการ และผลลัพธ์ของโครงการ (ที่มีตัวอย่างเป็นรูปธรรม)
2.ร่วมกันสังคราะห์รูปแบบการขับเคลื่อนโครงการของแต่ละภูมิภาคเป็นรูปแบบกลางเพื่อนำสู่การขยายผล
3.ร่วมกันสังเคราะห์คุณลักษณะร่วมของบุคลากร/บรรยากาศในศูนย์การเรียนรู้ฯ ว่ามีความแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปอย่างไร
4.แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและศูนย์การเรียนรู้ฯ ว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อน และข้อควรระวัง อย่างไร (เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ที่จะทำงานกับโรงเรียนนำไปใช้)
ตัวชี้วัด
1.ภาพรวมรูปแบบการขับเคลื่อนโครงการซึ่งสังเคราะห์จากรูปแบบย่อยของแต่ละภูมิภาค
2.รายละเอียดเพิ่มเติมจากรายงานที่ยังไม่ครบถ้วน
ขอบเขตประเด็นของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.ร่วมกันมองคุณค่าของการทำงานในโครงการ และผลลัพธ์ของโครงการ
- บุคลากร (ผู้บริหาร/ครู/นักเรียน) ของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จจนเป็นต้นแบบการขับเคลื่อน ปศพพ. มีความสำเร็จอย่างไร/เป็นต้นแบบได้อย่างไร
- พัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการที่ประทับใจ เป็นใคร และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เช่น ผู้บริหารเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการ/ครูเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอน ทำไมจึงเปลี่ยน
- ผู้ขับเคลื่อน/ทีมงานของมหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีทำงาน หลังการขับเคลื่อน ปศพพ. อย่างไร
- ความรู้ที่ได้จากการทำงาน
- ฯลฯ
2. รูปแบบการทำงานขับเคลื่อนโรงเรียนเครือข่าย
- แนวทางหรือรูปแบบในการทำงานของมหาวิทยาลัย / ของศูนย์การเรียนรู้ฯ ในการพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ
- รูปแบบ/แนวทางของโรงเรียนต่างๆ ในการพัฒนาตนเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ
- เครื่องมือทำงาน (ใช้เครื่องมืออะไร ทำไมใช้เครื่องมือนี้ มีวิธีการสร้างเครื่องมือนี้อย่างไร)
- ระดับพัฒนาการของโรงเรียนต่างๆ ในการนำปศพพ.มาใช้พร้อมเงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ ที่ยั่งยืน หรือปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้บริหารหรือครูแกนนำย้ายจะทำอย่างไร
- วิธีการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนให้สามารถเป็น coach/เป็น mentor ที่สามารถพัฒนาสถานศึกษาอื่นหรือบุคลากรที่สนใจให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้ เพื่อให้ได้หัวใจของการเป็นผู้พัฒนาสถานศึกษาอื่นๆ
- การสร้างภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนในพื้นที่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ (ได้มาอย่างไร ทำงานกับเครือข่ายอย่างไรจึงยั่งยืน)
ผู้เข้าร่วมงาน